โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม จังหวัดสมุทรปราการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Guideline of Teaching and Learning Management Development in Phrapariyattidhamma Schools, Dhamma Division, in Samutprakarn Province
  • ผู้วิจัยพระครูปลัดสวย ฐิตธมฺโม (บัวแก้ว)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูโอภาสนนทกิตติ์,ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ
  • วันสำเร็จการศึกษา19/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/409
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 384
  • จำนวนผู้เข้าชม 249

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ  เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหาร ครูและนักเรียน และจากการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย                                                                                                                                              
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณร ภาพรวม 5 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล รองลงมา ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร รายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านครูสอน และรายด้านความคิดเห็นอยู่ในระดับต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการ ตามลำดับ

2. ผลการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี หลักการ จัดการเรียนการสอน และบริบทของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ครูถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความรู้ความสามารถของตน และไม่ปกปิดปังความรู้แก่นักเรียน ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆควรที่จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนนั้นทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นอยู่กับตัวของเราเองตลอดเวลาสื่อการเรียนการสอนที่รู้กันนั้นมีน้อยไม่พอแก่การใช้งานจริง แต่ถ้ามีสื่อการสอนมากกว่านี้ที่สามารถเข้ามาช่วยสอน ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ดีในวงการการศึกษาของคณะสงฆ์ในยุคปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ยากที่ผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลไปได้ เพราะว่าการเรียนการสอนกับการวัดผลและประเมินผลไม่ได้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้สอนเลย

3. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ควรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความรู้ความสามารถของตนควรที่จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัยให้หลักธรรมเข้าถึงสังคมได้ง่ายควรประยุกต์ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง ในรูปแบบสื่อการสอนที่ทันสมัยที่เป็นระบบ แอพพลิเคชั่น การ์ตูนแอนิเมชัน ควรมีสื่อการสอนต่างๆควรพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือศูนย์ข้อมูลกลางยังไม่มีความทันสมัย และเข้าถึงได้ยาก ตลอดถึงการหาข้อมูลต่างๆเป็นการยากที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับชั้นต่างได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research aimed to study the state of teaching and learning management in Phrapariyattidhamma schools, Dhamma Division, in Samutprakarn province and to propose a guideline of teaching and learning management development in Phrapariyattidhamma schools, Dhamma Division, in Samutprakarn province. The quantitative data of this mixed method research were collected from school administrators, teachers and students by questionnaires. The qualitative data were collected from documents and in-depth interviews with 3 key-informants. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The results of the study found that:                                                                                                   
1. The state of teaching and learning management in Phrapariyattidhamma schools, Dhamma Division, in Samutprakarn province in 5 aspects was at a high level overall. The highest level was on measurement and evaluation, followed by instructional media, curriculum, teachers, and teaching and learning management respectively.

2. The analytical results of concepts, theories, and principles of teaching and learning management, and the school contexts indicated that the teachers paid attention to teaching their students in full capability, the curriculum and evaluation system should be revised and adjusted to suit and facilitate students’ learning and to create learning in a new dimension, and instructional media should be provided for improving the teaching and learning management.

3. A guideline of teaching and learning management development in Phrapariyat tidhamma schools, Dhamma Division, in Samutprakarn province was that the teachers should teach and train their students in full capability and professionally, the curriculum should be revised and adjusted to students and current social contexts, and modern instructional media, e-learning, application, animation, and other information technology should be implemented for improving students’ learning quality in every level.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 5.36 MiB 384 1 มิ.ย. 2564 เวลา 20:11 น. ดาวน์โหลด