-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง ศึกษากรณี : การเผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดสุพรรณบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of U-Thong City The History on Buddhist Propagation Suphanburi Province
- ผู้วิจัยพระครูโสภณวีรานุวัตร
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.โยตะ ชัยวรมันกุล
- ที่ปรึกษา 2ดร.กฤติยา ถ้ำทอง
- วันสำเร็จการศึกษา30/03/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/420
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 387
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในเมืองอู่ทอง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาสู่เมืองอู่ทอง 3) เพื่อศึกษาร่องรอยทางพระพุทธศาสนาในเมืองอู่ทองจากหลักฐานทางศิลปกรรม
ผลจากการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนาได้แพร่กระจายเข้าสู่ดินแดนทวารวดี (อู่ทอง) ตามเอกสารปัจจุบันเชื่อได้ว่า เข้ามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3 แต่ตามหลักฐานโบราณคดี ทั้งประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจารึกพบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-10 ทั้งทางบกและทางทะเลนั้น พระพุทธศาสนาเมื่อเข้ามาแล้วได้หยั่งรากลึกลง ในจิตใจของประชาชนที่นับถืออย่างมั่นคง ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพิธีกรรมอันดีงาม ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตรงบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งรุ่งเรืองมากอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 มีเอกลักษณ์ด้านศิลปะเป็นของตนเองในชื่อ “ศิลปะทวารวดี” มีศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายไปสู่เมืองอู่ทองและอื่นๆนั้น ได้ทิ้งร่องรอยไว้ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เช่น ซากสถูป ธรรมจักรศิลา พระเจดีย์ พระพิมพ์ พระพุทธรูป ตลอดจนหลักฐานจารึกเกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่สำคัญและเป็นที่แพร่หลายในสมัยอู่ทอง จารึกคาถา เย ธมฺมา หัวใจพระพุทธศาสนา อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาทเป็นอาทิ ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันร่องรอยต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ศรัทธา ปัญญา ตลอดจนความเข้าใจในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธได้เป็นอย่างดี
ที่สำคัญเมืองอู่ทอง ได้พบประติมากรรมดินเผารูปลายเส้นจากดินเผารูปภิกษุสาวก 3 รูป ครองจีวรทำท่าบิณฑบาต เชื่อว่าเป็นหลักฐานเก่าที่สุด อันแสดงว่า มีพระสงฆ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ พบที่เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และยังมีชิ้นส่วนปูนปั้นรูปพระพุทธรูปขัดสมาธิพระบาทหลวมๆ บนขนดนาค ศิลปกรรมอินเดียแบบอมราวดีตอนปลายอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 – 11 พบที่เมืองอู่ทอง มีจารึกอักษรปัลลวะ ระบุพระนามไว้ด้านล่างของฐานว่า “ ศุทฺโธทน” อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 ขุดค้นพบที่สถูปเจดีย์หมายเลข 11 ดังนั้นเมืองอู่ทองจึงจัดเป็นเมืองท่าโบราณที่เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจนกลายเป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรและเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของรัฐทวารวดี ที่สัมพันธ์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเมืองอู่ทองในที่สุด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
According to this research is an qualitative and provided the objectives as following as; 1) To be purposed of the studying of the Buddhist as U-Tlong ancient town 2) To be purposed of the influence of Buddhism for U-Tlong ancient town 3) To be purposed of the studying of the Artistic evidence of Buddhism in U-Tlong ancient town.
The results of the studying has showed up for the Buddhism was spread over all around to the Theravada’s Ancient town (U-Tlong) as mentioned to the current document placed. It was entered into this land since the ๓rd of the BC century, however, an archeological evidence were involved to the both of Architecture and Inscriptions sculptures. The propagation of Buddhism was entered into the Centuries between ๘-๑๐ as both impact to the Land and Sea. Please let me explain to you as well as we have well known about the Buddhism. It was entered between the inner of their heart and went into their minds of the people, it was so beautiful and wonderful respect such as arts, culture and traditions. It has been started from the past till the present at U-Tlong ancient town. Over that time, it was so wealthy and prosperous during the 11 th-16th century. It was own an artistic underneath of the "Theravada’s Art", it has been of the heart of Theravada Buddhism presented at so many places as following as the Chao-Praya river, Taa-Chean river and Mae-Klong river. From now on, the guiding principles at the heart of Buddhism are influence to U-Tlong and the others town. They had left over as an architecture and sculpture, for example of the Dharma Church, the Pagodas, the Buddha images, as well as inscriptions on the principles of Buddhism. As we had discussed previously of the Buddhism, it had gone through the U-Tlong ancient town period, the highest level of Buddhist Dhamma and Ariya-Sat 4. As a testimony to the various signs were indicated of the prosperity, wealthy and wisdom of the principles at the heart of Buddhism, they are understanding of the heart Theravada Buddhism very well.
As most as important thing as U-Thong city, we found a clay sculpture a pattern from the three monkhood. There are making alms and wearing the monk robes. We are believed in the oldest evidence that shown up there were so many monks in U-Thong, Suphanburi province. A few things we had found some pieces of a cross-legged from Buddha image. In the other way, we would say that Indian art sculpture in Amaravadee style during the 9th-11th century, to be found in U-Thong city, as shown as a few letters shown as Pallava identified. This was specific named as found as “Suttodhon”, this was described in 13th Buddhist century. We certainly were sure the excavated at the stupa of Pagoda as a number of 11 as found either, so on, U-Thong city was a very famous and well known as an ancient port that flourished and continued to be a part of the kingdom and was the oldest Buddhist of Davaravati county. These places were related and contributed Ancient Lesson’s Buddha from U-Thong city.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|