-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิโมกข์ 3 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of the Three Liberations (Vimokkha) in Vipassana Meditation Practice
- ผู้วิจัยพระเมธี ปญฺญาวุโธ (สกุลวรรณ)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วิโรจน์ คุ้มครอง
- วันสำเร็จการศึกษา25/02/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/422
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 390
- จำนวนผู้เข้าชม 1,623
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาวิโมกข์ 3 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาวิโมกข์ 3 ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำมารวบรวม สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา และตรวจสอบความถูกต้องโดยอาจารย์ที่ปรึกษา
จากการวิจัยพบว่า
วิโมกข์ หมายถึง สภาพที่จิตพ้นจากกิเลสอาสวะ ที่ยืนยันความเป็นพระอริยบุคคล ซึ่งเป็นผลของการเจริญวิปัสสนาภาวนา วิโมกข์มี 3 ประเภท คือ สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนัตตา อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นรูปนามเป็นอนิจจัง อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกขัง และวิโมกข์ 3 มีความสำคัญต่อการปฏิบัติธรรม เพราะเป็นเหตุให้เกิดมรรคจิตและเข้าถึงพระนิพพานด้วยอาการ 3 อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนสภาวะของวิโมกข์ทั้ง 3 มี 4 อาการ คือ 1) ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ 2) ด้วยสภาวะตั้งมั่น 3) ด้วยสภาวะน้อมจิตไป 4) ด้วยสภาวะนำออกไป วิโมกข์ถูกจำแนกออกเป็น 3 ประการ ด้วยอำนาจของอินทรีย์ 3 ได้แก่ 1) สัทธินทรีย์ 2) สมาธินทรีย์ 3) ปัญญินทรีย์
วิโมกข์ 3 เป็นกระบวนการของการบำเพ็ญทางจิตด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาเพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส โดยการกำหนดรู้อารมณ์ปรมัตถ์ด้วยอนุปัสสนา 3 ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา จนเกิดวิปัสสนาญาณตามลำดับถึงขั้นวุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณ นำจิตออกสู่อริยมรรคด้วยอาการ 3 คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วบรรลุเป็นพระอริยบุคคล 4 ประเภท ได้แก่ พระโสดาบันบุคคล พระสกทาคามีบุคคล พระอนาคามีบุคคล และพระอรหันตบุคคล ตามลำดับกิเลสที่ละได้ และวิโมกข์ 3 ยังจำแนกพระอริยบุคคลทั้ง 4 ประเภท ออกเป็น 7 จำพวก ได้แก่ 1) สัทธานุสารี 2) สัทธาวิมุต 3) กายสักขี 4) อุภโตภาควิมุต 5) ธัมมานุสารี 6) ทิฏฐิปปัตตะ 7) ปัญญาวิมุต ตามอำนาจความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ที่ทำให้วิโมกข์นั้นเกิดขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research has two objectives: to study the three liberations in the Theravāda Buddhist Scriptures and to study how the three liberations can be developed through Vipassanā Meditation practice. Clarified and analyzed data are taken from the Theravāda Buddhist scriptures and other related scriptures then composed, explained in details, corrected and verified by Buddhist scholars.
According to the research it found
Vimokkha refers to states of liberated mind from defilements confirming to become the Noble One being which is a goal of insight development. There are 3 types of Vimokkha; Sunyata-vimokkha or the liberation by considering Rūpa-Nāma as soullessness, 2) Animitta-vimokkha or liberation by considering Rūpa-Nāma as impermanence and 3) Appanihita-vimokkha is liberation by considering Rūpa-Nāma as suffering. The three liberations are important for meditation practice because they are the causes of Magga and Nibbhana by one type among the three types. These three liberations contain 4 types; (1) the state of controlling faculty (2) the state of concentration (3) the state of attention (4) the state of leaving. Vimokkha is classified into 3 types due to the 3 faculties, there are: (1) Saddhindriya or confidence (2) Samādhindriya or concentration (3) Paññindriya or wisdom.
The three liberations are important process of mental cultivating by Vipassana practice for reaching the final goal, namely, defilement liberation which is caused by the determination of objects of Vipassna with 3 contemplations; Anicānupassanā, Dukkhānupassanā, and Anattānupassanā until insight knowledge occurs respectively leading to Vutthānagāminī state. It later leads to Noble path with the 3 types: Sunyata-vimokkha, Animitta-vimokkha, Appanihita-vimokkha by one type among other three types, and attaining the 4 noble persons; Sotāpanna, Sakadāgāmī, Anāgāmī, and Arahanta in respect of defilement detachment. The three liberations still are classified 4 types of noble persons into 7 groups; 1) Saddhānusārī, 2) Saddhāvimutta, 3) Kāya-sakkhī, 4) Ubhatobhāgavimutta, 5) Dhammānusārī, (6) Ditthippatta, (7) Paññā-vimutta depending on controlling faculty that causes Vimokkha to happen.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 3 MiB | 390 | 2 มิ.ย. 2564 เวลา 01:52 น. | ดาวน์โหลด |