โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกัมมนิโรธสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Insight Meditation Practice Appearing in Kammanirodha Sutta
  • ผู้วิจัยพระครูสมุห์ถวิล สิริจนฺโท (ศรีบุตร)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูพิพิธวรกิจจานุการ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา25/02/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/423
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 297
  • จำนวนผู้เข้าชม 381

บทคัดย่อภาษาไทย


             สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1)  เพื่อศึกษาหลักธรรมในกัมมนิโรธสูตร 2) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกัมมนิโรธสูตร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ปกรณวิเสส และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียง บรรยาย เชิงพรรณนา จากผลการวิจัยพบว่า  หลักธรรมในกัมมนิโรธสูตร ได้กล่าวถึงกรรมเก่า กรรมใหม่ และความดับกรรม เป็นพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกรรมโดยตรง กรรมเก่า ได้แก่ ในขณะที่ตากระทบกับรูปทำให้เกิดเป็นจักษุวิญญาณ หูกระทบกับเสียงทำให้เกิดโสตวิญญาณ เป็นต้น กรรมใหม่ ได้แก่ การกระทำทางกายกรรม ทางวจีกรรมและทางมโนกรรม เป็นกรรมใหม่ ความดับกรรม ได้แก่ นิโรธซึ่งเป็นธรรมข้อเดียวที่ทำให้ถึงความดับกรรม และปฏิปทาที่จะทำให้เข้าถึงความดับกรรม ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อใดอริยสาวกทราบชัด กรรมย่อมทำลายกิเลสเป็นที่ดับกรรม     
                           
             จากการศึกษาพบว่า
 
             แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกัมมนิโรธสูตร  การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในกัมมนิโรธสูตร เป็นกระบวนการภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญา เข้าไปรู้แจ้งความเป็นจริงของรูปนามที่เกิดจากกรรมเก่าและกรรมใหม่ ในขณะที่มีการสัมผัสของอายตนะภายในและอายตนะภายนอกที่ส่งผลให้เกิดความกำหนัดยินดี พอใจในกามคุณทั้งหลายที่เกิดจากตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส และใจกระทบธัมมารมณ์ เกิดความหลงสำคัญมั่นหมายว่าเป็นอัตตา เรา เขา ด้วยอำนาจของอวิชชาที่ทำหน้าที่ปกปิดปัญญาไม่ให้รู้ตามความเป็นจริงว่าธรรมทั้งหลายนั้นมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปซึ่งเป็นกฎของไตรลักษณ์

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


            This research paper has two objectives; 1) to study the teachings in Kamamanirodha-sutta and 2) to study practice of Vipassana and meditation in Kamamanirodha-sutta by study of Theravada Buddhist texts such as, Tripitaka, Attakatha, Tika, texts and other involving books. This thesis has been complied with descriptions.
 
            The findings were found that;

            Kammanirodha-sutta contains the teachings describing old actions, new actions and action extinguishment. It focuses on concept of Kamma solely. The old actions refer to the moment of eye contacts then cawing eye-consciousness, ear contact causes ear-consciousness etc. The new Kamma is bodily, verbal and mental conducts. The Kamma extinguishment is the Nirodha, the only one virtue leading to Kamma extinction. The way of Kamma extinguishment is the Noble Eightfold Path. Whenever the noble disciples realize their own karma, they do eliminate their defilements so that the Kamma would be ended up.

             From the study Vipassana practice and meditation in Kamamanirodha-sutta, it found that Vipassana developing is an intensive process of wisdom cultivating, aiming at knowing the truth of Nama and Rupa caused by old and new actions. While contacting between inner and outer sensual organs resulting sensual pleasures from eye-contacting with visible objects, ear-hearing with sound, nose-smelling with odors, tongue-tasting with flavor, body-touch with objects and mind-mental objects with emotions. From such occurrences, one clings them as self, I and others driven by power of ignorance concealing the wisdom to know the truth that  everything is under the rise, remaining and disappearing which is the principle of Three Common Characteristics of Existence.   

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 6.67 MiB 297 2 มิ.ย. 2564 เวลา 02:02 น. ดาวน์โหลด