-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้าง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Way of Promotion of the Peaceful Community According to Buddhist Peaceful Means : A Case Study of Doichang Coffee Farmers
- ผู้วิจัยนางชนาภา ศรีวิสรณ์
- ที่ปรึกษา 1พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
- วันสำเร็จการศึกษา12/03/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/424
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 733
- จำนวนผู้เข้าชม 574
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ
(1) เพื่อศึกษาสภาพการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้าง (2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธสันติวิธี (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธสันติวิธีของชาวไร่กาแฟดอยช้าง ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาคือพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาและฎีกา ตามลำดับ ส่วนข้อมูลกรณีศึกษาชาวไร่กาแฟด้อยช้างได้จากหนังสือ เอกสาร และการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง
(1) เพื่อศึกษาสภาพการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้าง (2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธสันติวิธี (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพุทธสันติวิธีของชาวไร่กาแฟดอยช้าง ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาคือพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาและฎีกา ตามลำดับ ส่วนข้อมูลกรณีศึกษาชาวไร่กาแฟด้อยช้างได้จากหนังสือ เอกสาร และการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้างเป็นชุมชนเก่าแก่ที่อยู่ร่วมกันเป็นเครือญาติ มีประเพณี การดำเนินชีวิตอยู่กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และการทำไร่กาแฟ เดิมทีชุมชนดอยช้างปลูกฝิ่นเป็นอาชีพหลัก ต่อมาในโครงการหลวงฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงนำต้นกาแฟไปมอบให้แก่คนในหมู่บ้านได้นำไปปลูก จึงทำให้กาแฟกลายเป็นผลิตภัณฑ์หลักและดอยช้างเป็นชุมชนที่ชำนาญการเพาะปลูกกาแฟคุณภาพดี รสชาติดี กลิ่นหอมเป็นที่นิยมทั่วโลก ชุมชนฯ ได้รวมตัวกันเสริมสร้างภูมิปัญญา พัฒนาก่อเกิดความเข้มแข็งของชุมชน ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต เป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์ในการบริหารจัดการเพื่อการพึ่งพาดูแลตนเองได้
2. แนวคิดชุมชนสันติสุขมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ ด้านกายภาพ และด้านความสัมพันธ์ระหว่างคน เป็นภาวะที่ไม่มีความขัดแย้ง มีเมตตา ปราศจากอันตราย เป็นเอกภาพ ประสานกลมเกลียว มีเสรีภาพ และความยุติธรรม พึ่งตนเองได้ ให้โอกาสเท่าเทียม การมุ่งสร้างสังคมสวัสดิการ มีน้ำหนึ่งใจเดียวกันบนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและเกื้อกูลกัน ในทางพระพุทธศาสนาการสร้างชุมชนสันติสุขเกิดขึ้นได้ด้วยกรอบแนวคิดหลักสังคหวัตถุ 4 คือ 1. ทาน ให้เอื้อเฟื้อ เสียสละ แบ่งปัน 2. ปิยวาจา พูดจาสุภาพ ไพเราะ 3. อัตถจริยา การมุ่งทำประโยชน์สุขต่อกัน 4. สมานัตตตา
การปรับตัวเข้าหากัน ร่วมสุข ร่วมทุกข์
การปรับตัวเข้าหากัน ร่วมสุข ร่วมทุกข์
3. แนวทางการดำเนินชีวิตของชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้างตามหลักพุทธสันติวิธี พบว่า มิติการให้ มีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างกาแฟดอยช้างให้มีคุณภาพ มีการแบ่งปันความรู้ ให้โอกาส ให้กำลังใจ ให้ความยุติธรรมและความเสมอภาคในการซื้อขายเม็ดกาแฟ มิติการสื่อสาร ชุมชนฯ มีลักษณะของการหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน ทำตามข้อตกลง พูดกันแบบตรงไปตรงมา ไม่หลอกลวง ใช้สัจจะเป็นที่ตั้ง มิติการบำเพ็ญประโยชน์ มีคติที่ว่า ทุกคนมุ่งสร้างทำเพื่อส่วนร่วม ผลประโยชน์ทั้งหมดเป็นของพี่น้องบนดอย ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันด้วยการช่วยเหลือ ปรึกษาหารือกันและกันเป็นหลัก และมิติท่าทีการวางตน มีการพบปะพูดคุยแบบเป็นกันเอง ทำให้ผู้ใด้รับความช่วยเหลือหรือผู้มาเยือนมีความประทับใจ ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน ท่าทีของความอบอุ่น เอื้อเฟื้อ กลายเป็นเอกลักษณ์ชุมชนสันติสุขที่เรียกว่า CHANAPA MODEL ประกอบด้วย C = Change การปรับตัว H = Humanity มนุษยธรรม A = Attitude ทัศนคติ N = Nature ธรรมชาติ A = Accountability การรับผิดชอบ P = Peace สันติสุข A = Audittability ความสามารถตรวจสอบได้ ด้วยแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ชุมชนชาวไร่กาแฟดอยช้างได้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและเจริญรุ่งเรื่องเป็นที่รู้จักจนถึงทุกวันนี้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis is qualitative field-work research with 3 objectives: 1) to study conditions of the promotion of a peaceful community of Doichang coffee farmers’, 2) to study the way of promotion of the peaceful community according to Buddhist peaceful means, and 3) to present the way of promotion of the peaceful community according to Buddhist peaceful means of Doichang coffee farmers. The main information of the studies is from Tipitaka, commentary and sub-commentary, respectively, while the information from the case study of Doichang coffee farmers is from documentary books and the interviews made to related people.
From the research, it is found the followings:
1. The community of Doichang coffee farmers: It is in the old style of living together as relatives, having traditions and ways of lives in natural surroundings with the majority land of forest and coffee farming. Previously, this community grew poppy as their major occupation, later on in the Royal Project, King Rama the 9th gave village people coffee trees to grow instead. Thus, coffee has then become the main product of Doichang community; and it is the expert community for growing good quality, taste and smell coffee, being fond of worldwide. The community has gathered to promote such wisdom and developed for its strength, yielding growth economics as the unique community in the administration for self-dependency.
2. The conceptual idea of a peaceful community: It has 2 conditions of physical and human-relationship aspects; both of which is the state of having no conflict but loving- kindness; it is without danger but harmoniously unique with freedom, justice, self-dependency, and equality of chance. Such state is the aim to build a welfare society, unity on the foundation of trust and helping one another. In Buddhism, the creation of a peaceful community can happen by the idea of Sangahavatthu: 1) Dana: giving, sacrificing and sharing, 2) Piyavãcã: polite and kindly speech, 3) Atthacariyã: aiming to perform useful conducts towards one another, and 4) Samãnattatã: self-adjusting, sharing happiness and sorrow. .
3. The way of living lives of the community of Doichang coffee farmers by Buddhist peaceful means: In the dimensions of: - Giving: the community has been gathering for creating Doichang coffee for quality, sharing knowledge, giving chance, will power, justice and equality in buying and selling coffee seeds, - Communication: the community has consulted and talked sincerely to one another, followed agreements, not cheated and has held the truth as its base, - Useful conduct: there is such a motto of making for mutual benefits of the brotherhood-uphill people that everyone is the owner by assisting and consulting to one another, and – Self behaving: there are casual and familiar meetings to facilitate ones who need help or to impress visitors with trust, warmth, and assistance; all of which has become the uniqueness of a peaceful community called CHANAPA MODEL consisting: C = Change (self-adjustment), H = Humanity, A = Attitude, N = Nature, A = Accountability (responsibility), P = Peace, and A = Auditability (can be examined).
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.8 MiB | 733 | 2 มิ.ย. 2564 เวลา 04:00 น. | ดาวน์โหลด |