โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การละอาสวะในสัพพาสวสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAbstaining Āsavakilesa in Sappāsavasutta
  • ผู้วิจัยพระมหาอนุสรณ์ ปญฺญาวโร (นาคสุนทร)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.โยตะ ชัยวรมันกุล
  • วันสำเร็จการศึกษา29/04/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/438
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,383
  • จำนวนผู้เข้าชม 544

บทคัดย่อภาษาไทย


           การศึกษาเรื่อง การละอาสวะในสัพพาสวสูตร มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ เพื่อศึกษาการละอาสวะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาเนื้อหาหลักธรรมในสัพพาสวสูตร และเพื่อศึกษาการละอาสวะที่ปรากฏในสัพพาสวสูตร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนาตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
          ผลการวิจัยพบว่า 
          1) การละอาสวะในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น คือ ปหาน 3 ประการ ได้แก่ 1) ตทังคปหาน 2) วิกขัมภนปหาน และ 3) สมุจเฉทปหาน ซึ่งการละในสองประการแรกนั้นเป็นการละแบบชั่วคราว ส่วนในประการสุดท้ายคือการละแบบเด็ดขาด 
          2) เนื้อหาในสัพพาสวสูตรเกี่ยวกับอุบายการละอาสวะ และมีหลักธรรมที่ปรากฏในพระสูตรดังนี้ โยนิโสมนสิการ อริยสัจ 4 สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร ศีลสังวร วิริยสังวร และการเจริญโพชฌงค์ 7
          3) ส่วนการละอาสวะในสัพพาสวสูตรนั้น จากการศึกษาพบว่า มีทั้งหมด 7 ประการ คือ 1) การละอาสวะที่ต้องละด้วยการเห็น (ทัสสนา) 2) การละอาสวะที่ต้องละด้วยการสำรวมระวัง (สังวร) 3) การละอาสวะที่ต้องละด้วยการใช้สอย (ปฏิเสวนา) 4) การละอาสวะที่ต้องละด้วยการอดกลั้น (อธิวาสนา) 5) การละที่ต้องละอาสวะด้วยการเว้น (ปริวัชชนา) 6) การละอาสวะที่ต้องละด้วยการบรรเทา (วิโนทนา) และ 7) การละอาสวะที่ต้องละด้วยการเจริญ (ภาวนา)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


              The study of Abstaining from Āsavakilesa in Sappāsavasutta has three objectives: 1) to study the in Theravāda Buddhism; 2) to study the contents of Dhamma in Sappāsavasutta; and 3) to study the abstaining from Āsavakilesa appeared in Sappāsavasutta. The data collection is conducted from Theravāda Buddhist texts such as Tipitaka, Aṭṭhakathā (Commentaries), Ṭīkā (Sub-commentaries), and other related textbooks. After that it is written by descriptive analysis and examined by experts. 

The research results were found that:

                 1) the abstaining from Āsavakilesa in Theravāda Buddhism is the threefold Pahāna (Abandonment) consisted of (1) Tadangga Pahāna (Abandonment by Substitution of Opposites; (2) Vikkhambhana Pahāna (Abandonment by Suppression; and (3) Samuccheda Pahāna (Abandonment by Destruction. The first two kinds are a temporary abandonment and the last one is permanent.

                 2) The contents of Dhamma in Sappāsavasutta are concerned with a ploy to abstain from Āsavakilesa and the Dhamma which appears in this sutta such as Yonisomanasikāra (Reasoned Attention), fourfold Ariyasacca (Four Noble Truths), Satisaṃvara (Restraint by Mindfulness), Ñāṇasaṃvara (Restraint by Knowledge), Khantisaṃvara (Restraint by Patience), Sīlasaṃvara (Restraint by Discipline), Viriyasaṃvara (Restraint by Effort), and sevenfold Pojjhangga (Seven Enlightenment Factors). 

                 3) The abstaining from Āsavakilesa appeared in Sappāsavasutta founds that it has seven aspects: 1) the abstaining from Āsavakilesa by watched abandonment (Dassanā); 2) the abstaining from Āsavakilesa by restrained abandonment (Saṃvara); 3) the abstaining from Āsavakilesa by followed abandonment (Paṭisevasā); 4) the abstaining from Āsavakilesa by endured abandonment (Adhivāsanā); 5) the abstaining from Āsavakilesa by avoided abandonment (Parivajjanā); 6) the abstaining from Āsavakilesa by suppressed abandonment (Vinodanā); and 7) the abstaining from Āsavakilesa by trained abandonment (Bhāvanā).

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6250205009 6250205009 1.57 MiB 1,383 13 ก.ย. 2564 เวลา 00:57 น. ดาวน์โหลด