โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาเปรียบเทียบการงดเว้นจากการฆ่าในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับศาสนาเชน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study the Abstention from the Destruction of Life (Pāṇātipātā) in Theravada Buddhism and Jainism
  • ผู้วิจัยพระวัลลภ วชิรวํโส (เดชผิว)
  • ที่ปรึกษา 1พระศรีรัตโนบล, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหามงคลกานต์ ฐตธมฺโม, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา29/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/439
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 189
  • จำนวนผู้เข้าชม 248

บทคัดย่อภาษาไทย


วิทยานิพนธ์เรื่อง “เปรียบเทียบการงดเว้นจากการฆ่าในพระพุทธศาสนาเถรวาทและหลักอหิงสาในศาสนาเชน” นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการงดเว้นจากการฆ่าในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการงดเว้นจากการฆ่าในศาสนาเชน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการงดเว้นจากการฆ่าในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเชน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร

ผลการศึกษาพบว่า

การงดเว้นจากการฆ่าในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการเว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกายกรรมและวจีกรรมอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต มี 6 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ 1) การฆ่าด้วยตนเอง (2) การสั่งให้ผู้อื่นฆ่า (3) การปล่อยอาวุธออกไปฆ่า (4) การฆ่าด้วยเครื่องมือที่อยู่กับที่ (5) การฆ่าด้วยอำนาจอำนาจแห่งคุณไสยศาสตร์ (6) การฆ่าด้วยการบันดาลด้วยฤทธิ์ ซึ่งมีหลักธรรมที่ปฏิปักษ์กันคือ เมตตา กรุณาปรารถนาความสุข ไม่มีเวร ไม่มีภัย แก่มนุษย์และสัตว์ทั่วไป

การงดเว้นจากการฆ่าในศาสนาเชน คือ การงดเว้นจากการประทุษร้ายสิ่งมีชีวิตแม้อยู่ในรูปที่เล็กที่สุด ทั้งที่สามารถมองเห็นได้ หรือมองไม่เห็น เพราะว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มีวิญญาณทั้งสิ้นและเป็นวิถีแห่งการปฏิบัติต่อทุกสรรพสิ่งในทุก ๆ บริบทของชีวิต ไม่ว่าจะโดยการกระทำ การพูด และการคิด โดยยึดหลักอหิงสาเป็นหลักธรรมสำคัญเป็นบรมธรรม เป็นแก่นแท้ เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดในบรรดาคำสอนทั้งหมด มี 3 ประเภท คือ (1) การไม่เบียดเบียนทางกาย (2) การไม่เบียดเบียนทางวาจา และ (3) การไม่เบียดเบียนทางใจ ซึ่งมีเกณฑ์ตัดสินคือ เจตนา และมีหลักธรรมที่เกื้อกูลกันได้แก่ ทยา ความรัก, การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเมตตา ซึ่งมีการประยุกต์ในแง่ ยติ, ธรรม, เพื่อการดำเนินชีวิตและสังคม ตลอดทั้งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
จากการเปรียบเทียบการงดเว้นจากการฆ่าในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเชน พบว่า การงดเว้นจากการฆ่าในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาเชน เป็นหลักจริยธรรมที่สร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม มุ่งหวังให้ทุกองคาพยพของสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขปราศจากเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็ด้วยอาศัยหลักศีลธรรมข้อนี้เป็นเครื่องช่วยพยุงโลกให้มีความสงบร่มเย็น พ้นจากความแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น เบียดเบียนซึ่งกันและกัน สร้างคุณค่าอนันต์แก่สังคม พระพุทธศาสนามองคุณค่าของชีวิตอยู่ที่มนุษย์และสัตว์เท่านั้น ส่วนศาสนาเชนมองสรรพสิ่งด้วยความเมตตา มุ่งสันติสุขให้เกิดแก่สรรพชีวะไม่ว่าจะมนุษย์ สัตว์ หรือแม้กระทั่งพืช นั่นเอง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


The thesis entitled “A Comparative Study the Abstention from the Destruction of Life (Pāṇātipātā) in Theravada Buddhism and Jainism” has three objectives: 1) to study the abstention from the destruction of life in Theravada Buddhism, 2) to study the abstention from the destruction of life in Jainism, and 3) to comparatively study the abstention from the destruction of life in Theravada Buddhism and Jainism. This study is of documentary research.

The results of the study were as follows:

The abstention of the destruction of life in Theravada Buddhism is the refraining from harming others physically and verbally that will cause others die. There are 6 kinds of killing, they are; 1) killing by oneself, 2) ordering other to kill,
3) discharging weapon to kill, 4) killing with the unmoved tool, 5) killing with the power of black magic, and 6) killing with supernatural power by having the opposite dhamma, viz., loving kindness (mettā), karuna—wish for happiness and no maliciousness to man and animal.

The destruction of life in Jainism is the refraining from harming the living being even in the smallest thing both visible and indivisible, for, all of these have soul (jīva). This is the way to behave to all living being in all contexts whether by action, speaking, and thinking, following the nonviolence as the absolute-dhamma, the real truth and the most important of all teachings. There are three kinds of nonviolence:
1) the abstention from physical harming, 2) the abstention from verbal harming, and 3) abstention from mental harming by having the criterial judgement, viz., volition (cetanā). In addition, there are dhamma that support to each other, namely, generosity, loving kindness (mettā) being applied on the restraint (yati)— dhamma for life and society, including environmental conservation 
From the comparison of the abstention from the destruction of life in Theravada Buddhism and Jainism, it was found that  both of them have the view that this the virtue that builds peace and happiness to society aiming at letting all sections of society live together peacefully and happily without harming to each other. The society has peace and happiness because of this virtue that sustains peace and happiness to the world without jostling and haring with each other, but building benefit to society incalculably. Buddhism sees the value of life only on man and animal, whereas Jainism sees all life with kindness, aiming at peace and happiness to all beings whether man, animal, or plant.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
1.61 MiB 189 18 มิ.ย. 2564 เวลา 01:22 น. ดาวน์โหลด