-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพุทธศาสนา เถรวาทกับศาสนาอิสลาม: กรณีศึกษาเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Comparative Study of Happiness Promotion to the Elderly in Theravada Buddhism and Islam: A Case study of Bangchalong Sub-district, Bangphi District, Samutprakarn Province
- ผู้วิจัยพระครูปลัดภาณุวัฒน์ วฑฺฒธมฺโม (พลอยทรัพย์)
- ที่ปรึกษา 1พระศรีรัตโนบล, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหามงคลกานต์ ฐฺตธมฺโม, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา29/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/440
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 165
- จำนวนผู้เข้าชม 569
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาอิสลาม:กรณีศึกษาเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพุทธศาสนา
เถรวาทในเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในศาสนาอิสลามในเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและ ๓) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาอิสลามในเขตตำบลบางโฉลง อำเภอ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)
ผลการศึกษาพบว่า
วิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในทัศนะของทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นวิธีการที่ทำให้ชีวิตเกิดความสุขขึ้นด้วยหลักพุทธธรรม เพื่อเป็นเครื่องจรรโลงใจให้แข็งแรง และส่งผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย ได้แก่ (1) หลักไตรลักษณ์ (2) หลักอริยสัจ (3) หลักบุญบาป/หลักกรรม (4) หลักพรหมวิหารธรรม และ (5) หลักเบญจศีล-หลักเบญจธรรม
วิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในทัศนะของศาสนาอิสลามนั้น ผู้สูงอายุต้องปฏิบัติตนให้มีความสุขได้ด้วยตนเอง โดยปฏิบัติตามหลักของศาสนาอิสลาม 2 ประการ คือ 1) หลักศรัทธาหรือความเชื่อในศาสนา (อีมาน) หลักศรัทธาคือหลักคำสอนที่ผู้สูงอายุชาวมุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อว่าเป็นความจริงแท้และต้องยึดถืออย่างมั่นคง ได้แก่ (1) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า (2) ศรัทธาใน
มลาอิกะฮฺ (3) ศรัทธาในบรรดารอซูลหรือศาสนทูต (4) ศรัทธาในพระคัมภีร์ (5) ศรัทธาในวันพิพากษา และ (6) ศรัทธาในการลิขิตของพระผู้เป็นเจ้า 2) หลักปฏิบัติหรือหน้าที่ในศาสนา
(อิบาดะฮฺ) ได้แก่ (1) การปฏิญาณตน (2) การละหมาด (3) การบริจาคศาสนทานซะกาต (4) การถือศีลอด (5) การประกอบพิธีฮัจญ์
จากการเปรียบเทียบวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาอิสลามในเขตตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ชาวพุทธกับชาวมุสลิมในเขตตำบลบางโฉลง มีทัศนะเกี่ยวกับวิธีการเสริมสร้างความสุขแก่ผู้สูงอายุคล้ายกันว่า วิธีการเสริมสร้างความสุขนั้น เป็นเครื่องมือที่สร้างสังคมให้เกิดสันติสุข โดยใช้กฎหมาย จริยธรรมทางสังคม เป็นเครื่องมือสนับสนุน ต่างกันเพียงชาวพุทธมีทัศนะว่า วิธีการเสริมสร้างความสุขนั้น ต้องอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น หลักของไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา การฝึกมารยาท จิตตสิกขา การฝึกจิตให้มีความผ่องใส ปัญญาสิกขา การยกจิตออกจากความยึดมั่นถือมั่นในมายาทางสังคม ส่วนมุสลิมเน้นหลัก อามานะฮฺ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น หน้าที่ของหัวหน้าครอบครัว และหน้าที่อันสำคัญที่สุดคือหน้าที่ที่อัลลอฮฺทรงมอบให้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis entitled “A Comparative Study of Happiness Promotion to the Elderly in Theravada Buddhism and Islam: A Case study of Bangchalong Sub-district, Bangphi District, Samutprakarn Province” has three objectives: 1) to study of happiness promotion to the elderly of Theravada Buddhism and Islam in Bangchalong Sub-district, Bangphi District, Samutprakarn Province, 2) to study of happiness promotion to the elderly of Islam in Bangchalong Sub-district, Bangphi District, Samutprakarn Province , and 3) to comparatively study of happiness promotion to the elderly of Theravada Buddhism and Islam in Bangchalong Sub-district, Bangphi District, Samutprakarn Province. This study is of qualitative research. The sources of this study have been collected from documents and research papers related to the elderly, and also from In-depth Interview.
The results of the study were as follows:
The promotion of happiness to the elderly in Theravada Buddhism is the way of making life happy with the Dhammas of the Buddha aiming at strengthening mind and also yielding good health to the elderly. These Dhammas comprise: i) three characteristics (ti-lakhaṇa), ii) noble truths (ariya sacca) iii) merit-demerit, and kamma, iv) the sublime states of mind (brahma-vihāra), and v) five precepts (pañca-sīla) and the five accessory virtues (pañca-dhamma).
With regard to the happiness promotion to the elderly in Islam, the elderly have to make them happy by themselves by following the two ways of Islam, namely, 1) faith in religion (Iman) that the elderly in Islam have to believe that this is the real truth and they have to strictly follow it, they are: i) having faith in God, ii) having faith in Mala-i-kat, iii) having faith in the prophets (Rasuls), iv) having faith in the judgement day, v) having faith in koran, and vi) having faith in the determination of Allah; and 2) the practice or the duties in religion (Ibadah), namely, i) swearing, ii) prayer, iii) charity (Zakat), iv) fasting, and v) Hajj.
From the comparison of happiness promotion to the elderly of Theravada Buddhism and Islam in Bangchalong Sub-district, Bangphi District, Samutprakarn Province, it was found that the Buddhists and Muslims have the similar view that happiness promotion is the instrument that make society peaceful and happy through the rule of law and social ethics as the supplement. The different view of them was that the Buddhists have the view that happiness promotion has to depends on Dhammas of the Buddha such as three training (ti sikkhā): morality (sila-sikkhā)—training in character, concentration (smādhi)—mind-training to be purify, and wisdom (paññā sikkhā)—bringing mind out of the social illusion, whereas the Muslims emphasize on Amaanah that is the principle of making themselves as per the duties as assigned such as the duties of the head of the family, and the most importantly, the duties that bestowed by Allah
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.67 MiB | 165 | 2 มิ.ย. 2564 เวลา 23:46 น. | ดาวน์โหลด |