โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การวิเคราะห์คุณค่าพุทธศิลป์ยุคทวารวดี ในจังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis on the Values of Buddhist Art in Dvaravati Period in Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยนางสาวธนัชพร เกตุคง
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ธวัช หอมทวนลม
  • ที่ปรึกษา 2ดร.กฤติยา ถ้ำทอง
  • วันสำเร็จการศึกษา29/04/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/443
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 708

บทคัดย่อภาษาไทย

            งานวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์คุณค่าพุทธศิลป์ยุคทวารวดี ในจังหวัดสุพรรณบุรี” มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพุทธศิลป์ในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาพุทธศิลป์ยุคทวารวดี และ เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลและคุณค่าพุทธศิลป์ยุคทวารวดี ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการศึกษาทางเอกสาร ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ พระสังฆาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิ มี นักวิชาการ พิพิธภัณฑ์อู่ทอง องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ ด้านประวัติศาสตร์ และกลุ่มชาวบ้านในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 10 รูป/คนซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) 
             ผลการศึกษาพบว่า  
             1.) ประวัติพุทธศิลป์นพระพุทธศาสนา มีความเกี่ยวข้องกับ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์  คือศิลปกรรม ที่สร้างขึ้นรับใช้พระพุทธศาสนาโดยตรง ทั้งในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมในลัทธิมหายาน และเถรวาท ปรากฏเป็นลักษณะของพระพุทธรูปในสมัยทวารวดี ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นสิ่งที่สะท้อนความงดงามของศิลปะ
              2). พุทธศิลป์ยุคทวารวดี เข้ามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 3  แต่ตามหลักฐานมีนักวิชาการโบราณคดี ด้านประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจารึก พบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 8-10 เนื่องจากพบพุทธศิลป์ประติมากรรมดินเผารูปลายเส้นรูปภิกษุสาวก 3 รูป ครองจีวรทำท่าบิณฑบาต ซึ่งเป็นเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดกว่าที่อื่นๆ จึงเชื่อกันว่าผู้คนในบริเวณเมืองอู่ทองนี้คงจะรู้จักและเริ่มนับถือพระพุทธศาสนามาก่อนแล้ว 
             3). การวิเคราะห์แนวคิดคุณค่าพุทธศิลป์ทวารวดี ที่ปรากฏในรูปแบบของเจดีย์และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ ล้วนทำให้เกิดคุณค่าในด้านต่างๆ เช่น คุณค่าทางด้านศาสนา เมื่อศาสนาเกิดขึ้นก็ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ศาสนา หรือแม้กระทั่งการสร้างศาสนสถานขึ้นมา เพื่อให้ศาสนิกชนได้ทําพิธีหรือเคารพบูชา คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบประวัติความเป็นมาและความสำคัญของชุมชนโบราณ  คุณค่าทางด้านสุนทรียะความงาม ความงามในที่นี้เป็นเรื่องทางศิลปและศีล ไม่เป็นราคาของวัตถุ แต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจ ความงามเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ มิใช่ด้วยเหตุผล  คุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นการเท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้ชุมชน คุณค่าทางสังคม เกิดสำนึกรักบ้านเกิดภูมิใจในบ้านเกิดที่มีหลักฐานประวัติศาสตร์อันมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและน่าภาคภูมิใจ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study entitled “An Analysis on the Values of Buddhist Art in Dvaravati Period in Suphanburi Province” consisted of the following objectives: 1) to study Buddhist art in Buddhism; 2) to study Buddhist art in Dvaravati period; and 3) to analyze the influence and values of Buddhist art in Dvaravati period in Suphanburi Province. The study applied qualitative research method with an emphasis on documentary research. An in-depth interview was applied for data collection. The population used for study were the administrative monk, experts, scholars, U-Thong National Museum, Designated Area for History (Public Organization, and local villagers in Suphanburi Province, in a total of 10 persons. The research instrument applied an in-depth interview.
            From the study, it is found as follows:
            1) The history of the Buddhist art in Buddhism is related to Dhātu-cetiya (stupa enshrining the Buddha’s relics), Paribhoga-cetiya (things and places used by the Buddha), Dhamma-cetiya (a doctrinal shrine), and Uddesika-cetiya (a shrine by dedication). All of which are the work of art created to serve Buddhism directly. Whether it be painting, sculpture, or architecture, both in Mahayana and Theravada Buddhism, all could be seen in the Buddha statues of the Dvaravati period, which dated from the 12th to the 16th century BC. All of these reflect the beauty of art. 
            2) The Buddhist art in Dvaravati period had emerged since the 3rd century BC, but according to the evidence, there are scholars of archeology, sculpture, architecture, as well as the inscriptions that say the dissemination of Buddhism had been found around the 8th – 10th century BC, as the evidence of a clay sculpture with lines depicting three monks in the gesture of doing alms was found. This is considered the oldest evidence; therefore, it has been believed that people in this U Thong area had known about Buddhism and become Buddhist before.
            3) From analyzing the concepts and values of the Buddhist art in Dvaravati period as appeared in the form of a stupa or other archaeological sites and artifacts, it is found that they bring about values in various fields as follows: Religious values in which since the start of religion, art has been used as a mean to spread religions or even the building of religious places for people to perform rituals or worship; Historical values by providing the history and importance of the ancient communities; Aesthetic values which refer to art and precepts that create mental values. The beauty that is derived from emotions, not reasons; Economic values by developing the sites to be a historical tourist attraction and a tourism destination that can generate income for the community; and Social values by raising awareness for people to be nationalistic for having evidence showing a long and proud history.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ