-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล 5 ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Guideline of Development on the Five Precepts Observing Project by Secondary Schools in Bangplama District Suphanburi Province
- ผู้วิจัยพระสมุห์นพดล จิรสีโล (เจริญผล)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา18/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/446
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 258
- จำนวนผู้เข้าชม 330
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแนวทางการพัฒนาโครง การรักษาศีล 5 ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 2. แนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล 5 ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล 5 ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบ ถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.750 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ 1.นักเรียนโรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” 2. นักเรียนโรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา2 3. นักเรียนโรงเรียนบางแม่หม่ายรัฐราษฎ์รังสฤษดิ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 274 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จ รูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัม ภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อผลการดำเนินงานพัฒนาโครงการรักษาศีล 5 ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบริบทของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X̅ = 3.91, S.D.= 0.80) รองลงมา คือ ด้านผลผลิต มีค่า (X̅ = 3.89, S.D.= 0.88) และด้านปัจจัยนำเข้ามีค่า (X̅ = 3.85, S.D.= 0.90) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านกระบวนการ มีค่า (X̅ = 3.80, S.D.=0.91)
2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อผลการพัฒนาโครงการรักษาศีล 5 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักเรียนที่มี อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาโครงการรักษาศีล 5 ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ไม่มีผลการวิเคราะห์โครงการ ขาดการบูรณาการโครงการที่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกัน มีบางโรงเรียนไม่มีการประเมินและปรับแผน และไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุน ไม่มีการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการฯ ข้อเสนอแนะ คณะสงฆ์ต้องมีการวิเคราะห์ในด้านของสภาพโดยทั่วไปของโครงการเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ความสอด คล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายขององค์การต้นสังกัดของโรงเรียน ควรมีการเตรียมการภายในของโครงการการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบและชัดเจน พระสงฆ์ต้องมีการวิเคราะห์ในด้านของปัจจัยการดำเนินงานตามโครงการ ความพร้อมของปัจจัยในด้านอื่น ๆ ได้แก่ ความเพียงพอในด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านอุปกรณ์/สื่อที่ใช้ในการพัฒนาโครงการ และเนื้อหาหลักสูตรที่ใช้ในการพัฒนานักเรียน พระสงฆ์ต้องมีการวิเคราะห์ ในด้านของกระบวนการดำเนินงานภายในโครงการ ได้แก่ การวางแผน การจัดกิจกรรม การดำเนินการเรียนการสอน การติดตามการประเมินผล การได้รับความสนับสนุนจากทางผู้บริหารและองค์การต้นสังกัด พระสงฆ์ต้องมีการวิเคราะห์ ในด้านนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการรักษาศีล 5 ได้แก่ คุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ และมีคุณลักษณะของผู้มีคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักศีล 5 และควรนำผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการฯ มาเป็นฐานในการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this study were: 1. to study students’ opinions on guidelines of five precepts observing project development by secondary schools at Bangplama District, Supanburi Province, 2.To study guidelines of five precepts observing project development by secondary schools at Bangplama District, Supanburi Province, 3. To study problems, obstacles and recpmmendations for five precepts observing project by secondary schools at Bangplama District, Supanburi Province.
Methodology was the mixed method: The quantitative research collected data by questionnaires with the reliability value at 0.750 from 274 samples who were students at: 1) Sungsumanpadungvit School; 2) Hansasuchitvittaya School; 3) Bang Maemairatrartrangsarit School at Bangplama District, Supanburi Province, analyzed data by frequency, percentage, mean, standard deviation, SD., t-test, F-test, one way ANOVA. The qualitative research collected data from 9 key informants by in-depth-interview and analyzed data by descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. Students’ opinions on the five precepts observing project development by secondary schools at Bangplama Districtr, Supanburi Province, by overall were at high level(X̅= 3.89, S.D. = 0.88), Input aspect was at high level (X̅ = 3.85, S.D. = 0.90), the lowest level was the development process at (X̅= 8.80 S.D. = 0.91)
2. Comparison of students’ opinions on the five precept observing project Development by secondary schools at Bangplama District, Supanburi Province, classified by personal data indicated that students, Students with different age and educational levels had different opinions at statistically significant level at 0.05, accepting the set hypothesis.
3. Problems, obstacles and recommendations of the five precepts observing project development by secondary schools at Bangplama District, Supanburi Province in dicated that there was not project analysis, lack of integrating schools with the same project targets and objectives. Some schools did not evaluate and adjust the project, lack of supporting budget and there was not evaluation at the end of project.
Recommendations: Sangha should analyze general context of the project of the agency to which the schools belong. There should be internal preparation, systematic data collection, Sangha should analyze the availability of supporting factors, such as sufficient budget, personnel, equipment, media for project development and the course contents used for students development. Sangha should have internal analysis of the project, such as planning, activities, learning and teaching process, monitoring and evaluation, support from the mother agency. Sangha should analyze students who participated in the project whether they are volunteering minded, ethical and moral with the five precepts. The output and outcomes of the project should be used as the foundation for further continuous operation.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.43 MiB | 258 | 2 มิ.ย. 2564 เวลา 22:09 น. | ดาวน์โหลด |