-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษGuidelines for the Management of Adhikaraṇa of the Sangha, in Muang District, Ang Thong Province
- ผู้วิจัยพระกฤษณพล คุณงฺกโร (กลิ่นพยอม)
- ที่ปรึกษา 1พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ.,ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ประเสริฐ ธิลาว
- วันสำเร็จการศึกษา12/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/449
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 598
- จำนวนผู้เข้าชม 289
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง จำนวน 152 รูป จากจำนวนประชากรทั้งหมด 245 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.957 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์หาความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด การวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก 8 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องกับการบริหาร เครื่องเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (X̅ = 4.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การบริหารจัดการกิจจาธิกรณ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ที่ (X̅ = 4.52) รองลงมา คือด้านการบริหารจัดการอาปัตตาอธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (X̅ = 4.19) รองลงมา คือด้านการบริหารจัดการอนุวาทาธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (X̅ = 4.11 ) และลำดับสุดท้าย คือด้านการบริหารจัดการวิวาทาธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (X̅ = 4.10)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (X̅ = 4.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การบริหารจัดการกิจจาธิกรณ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ที่ (X̅ = 4.52) รองลงมา คือด้านการบริหารจัดการอาปัตตาอธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (X̅ = 4.19) รองลงมา คือด้านการบริหารจัดการอนุวาทาธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (X̅ = 4.11 ) และลำดับสุดท้าย คือด้านการบริหารจัดการวิวาทาธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (X̅ = 4.10)
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาทางธรรมและวุฒิการศึกษาบาลี ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ และตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง โดยพบปัญหาในแต่ละด้าน ดังนี้ 1. ด้านวิวาทาธิกรณ์ เช่น ทั้งสองฝ่ายยกเหตุผลว่าตนเป็นฝ่ายถูกต้องเสมอ และการทะเลาะวิวาทกันเรื่องพระธรรมวินัย 2. ด้านอนุวาทาธิกรณ์ เช่น การถกเถียงกันเรื่องวินัยบางข้อ เช่น การรับเงินและทองเป็นต้น และปัญหาการใส่ร้ายป้ายสี ฟ้องร้องกันด้วยเรื่องอันหาเหตุมิได้ 3) ด้านอาปัตตาธิกรณ์ เช่น พระภิกษุบางรูปยังดื่มของมึนเมา ซึ่งขาดการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าคณะผู้ปกครอง และการละเมิดกฎเกณฑ์น้อยใหญ่ และ 4) ด้านกิจจาธิกรณ์ เช่น ภิกษุไม่มีความรู้เท่าที่ควร ไม่ศึกษา ดื้อรั้น ทะนงตน เช่นไม่ร่วมลงอุโบสถ และเรื่องพิธีกรรมต่างๆ และการลงโทษผู้กระทำผิดให้สำนึกผิด
ข้อเสนอแนะในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านวิวาทาธิกรณ์ ศาสนาได้วางหลักธรรมคำสอนไว้เป็นพื้นฐานเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี 2) ด้านอนุวาทาธิกรณ์ การตัดสินต้องใช้ความยุติธรรมเป็นหลักสำคัญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตย 3) ด้านอาปัตตาธิกรณ์ เจ้าคณะผู้ปกตรองควรสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด จริงจังและต่อเนื่อง. และ 4) ด้านกิจจาธิกรณ์ ไม่ควรรับคนอายุเกิน 60 ปีเข้ามาบวช, กิจธุระที่สงฆ์ต้องมีความสามัคคีพร้อมใจกันทำให้สำเร็จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: 1. to study the administrative guidelines for conflict resolution of the Sangha, Muang District, Ang Thong Province. 2. to compare the management guidelines for conflict resolution of the Sangha Muang District, Ang Thong Province classified by population data. and 3. to study problems, obstacles and suggestions for the administration guidelines for conflict resolution of Sangha, Muang District, Ang Thong Province. Methodology was the mixed methods: The quantitative research a collection of data from 152 samples who were monks at Muang District, Ang Thong Province. The instrument used for data collection was questionnaires with the confident value equaled to 0.659. Data were analyzed by Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, One-way analysis of variance, ANOVA, t-test, F-test and test the difference of average values by pairs with the Least Significant Different (LSD.) method. The qualitative research collected data from 8 key informants purposefully selected from experts and those who were related to administration with Structured in-depth-interview script by face-to-face interviewing, analyzed data by descriptive interpretation.
Findings of the research were as follows:
Findings of the research were as follows:
1. Guidelines for the management of conflict resolution of Sangha at Muang District, Ang Thong Province in 4 aspects by overall, were at a high level in all aspects. (X̅ = 4.23), Each aspect was also at high level, Kijthathikorn, the duties that monks have to do together, was at the highest mean at (X̅ = 4.52), followed by the administration of Apatttathikorn, argument about rules, was at high level with average value at (X̅ = 4.19), followed by the management of Anuvatathikorn, argument about accusation that has to be resolved, was at high level with average value at (X̅ = 4.11), and the last order Is the management of Vivatathikorn, argument about the right or wrong of Budda’s teaching that has to be cleared, was at high level with the average value at (X̅ = 4.10).
2. Comparison of the monks’ opinions on the administrative guidelines of the Sangha of Muang District, Ang Thong Province classified by personal factors, was found that monks who had different educational background and Pali education had different opinions with statistically significant level at 0.05, accepting the set research hypothesis. As for the monks with different age. Ordained age, formal educational levels, and administrative positions did not have different opinions. rejecting the set research hypothesis.
3. Problems, obstacles and suggestions for the conflict administration of the Sangha at Muang District, Ang Thong Province were that: 1). Vivathathikorn, for example, both sides argue that he is always right, and the controversy about the Dhamma discipline. 2). Anuvadhathikorn, the discourse, such as discussions on certain disciplines, such as receiving money and gold, etc., and slander problems Prosecute each other with unreasonable matters. 3). Apattathikorn, for example, some monks still drink alcoholic beverage lacking supervision form the superintendent and the violation of the minor and major rules and regulations, and 4) Kijthathikorn, for example, the monks do not have as much knowledge as they should, do not study, being stubborn, such as not attending church service and ritual matters. The punishing the perpetrators so that they will repent is necessary.
Recommendations for each aspects were as follows:
1) Vivadhathikorn, there are rules and regulations for solving this problem in order to live together in peace and harmony, 2) Anuvadhathikorn, judge the problems with fair deals which if important principle of democracy, 3) Apatathikorn, the superintendents should pay close intention to those under protection for well behaving along the rules and regulations and 4) Kitjathikorn, duties to be carried out by the unity of monks. Those over 60 years of age, should not be allowed to be ordained.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 8.09 MiB | 598 | 2 มิ.ย. 2564 เวลา 23:03 น. | ดาวน์โหลด |