โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การวิเคราะห์สังสารวัฏในไตรภูมิพระร่วงตามกรอบคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analysis of Saṃsāra in Trai Phum Phra Raung According to Abhidhammattha-Sangaha Framework
  • ผู้วิจัยนายวิชิต ทองประเสริฐ
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ธวัช หอมทวนลม
  • ที่ปรึกษา 2ดร.กฤติยา ถ้ำทอง
  • วันสำเร็จการศึกษา17/08/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4493
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 24,430
  • จำนวนผู้เข้าชม 25,174

บทคัดย่อภาษาไทย

                   การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์สังสารวัฏในไตรภูมิพระร่วงตามกรอบคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ”นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสังสารวัฏในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ 2) ศึกษาสังสารวัฏในไตรภูมิพระร่วง และ 3) วิเคราะห์สังสารวัฏในไตรภูมิพระร่วงตามกรอบคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประเภทการวิจัยเชิงเอกสาร เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ และ เอกสารทุติยภูมิ แล้วนํามาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและพรรณนาความ และสรุปข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า

            1. สังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ ด้วยอำนาจกิเลส กรรม วิบากหมุนเวียนอยู่เช่นนั้น ตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรรม วิบาก ไม่ได้ สอดคล้องทั้งนัยตรงและนัยอ้อมกับคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะทั้ง 9 ปริเฉท โดยเฉพาะในปริจเฉทที่ 8 ปัจจัยสังคหวิภาคประกอบด้วย ปฏิจจสมุปปบาท อธิบายถึงเหตุและผลของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏและปัจจัยสนับสนุน 24 ปัจจัย

                  2. หัวใจสําคัญของไตรภูมิพระร่วง คือ การที่สอนให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏต่อไปโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จะมีเพียงแต่พระนิพพานเท่านั้นที่ถือว่าหลุดพ้นจากสังสารวัฏ สามารถบรรลุด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาจึงจะไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป

 3. สังสารวัฏในไตรภูมิพระร่วง มีฐานมาจากแนวคิดเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดประกอบด้วย กามภพ รูปภพ และอรูปภพ ปรากฏในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ 1 จิตตสังควิภาค อธิบายถึง กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตรจิต และปริจเฉทที่ 8 ปัจจัยสังคหวิภาค ประกอบด้วย ปฏิจจสมุปบาทและปัจจัยสนับสนุน 24 ปัจจัย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                   The study entitled “An Analysis of Saṃsāra in Trai Phum Phra Ruang According to Abhidhammattha-sangaha Framework” consisted of the following objectives: 1) to investigate Saṃsāra in Abhidhammattha-sangaha manual; 2) to explore Saṃsāra in Trai Phum Phra Ruang; and 3) to analyze Saṃsāra in Trai Phum Phra Ruang according to Abhidhammattha-sangaha framework. The study used
a qualitative research approach to collect data through studying documents in accordance with the research objectives. Primary and secondary data were collected and analyzed using explanatory and descriptive methods before being summarized in accordance with the study objectives.

From the study, the following results are found:

                 1) Saṃsāra refers to the round of rebirth in different planes due to the power of defilements, kamma, and vipāka (consequences of actions). This round of rebirth will continue as long as there are still defilements, kamma, and vipāka. This is
consistent with all nine chapters of Abhidhammattha-sa
ngaha, both directly and indirectly, particularly Chapter 8 on Relations or Conditionality. This chapter is concerned with Paṭicca-samuppāda, which describes the dependent origination, the law of dependent arising and causal relations of wandering in the round of rebirth, including the 24 conditional relations.

                   2) The key of Trai Phum Phra Ruang is comcerned with the impermanence of all things, which must unavoidably be wandered in the round of rebirth; only when Nibbāna is attained is one released from the round of rebirth, which can be attained by following the Buddhist teachings.

                   3) Saṃsāra in Trai Phum Phra Ruang is based on the concept of kamma and wandering in the round of rebirth which center on kāma-bhava (sense-sphere), rūpa-bhava (form-sphere), and arūpa-bhava (formless-sphere). This can be found in Abhidhammattha-sangaha, Chapter 1 on Consciousness, which describes kusala-citta (wholesome consciousness), akusala-citta (unwholesome consciousness), vipāka-citta (resultant consciousness), kiriyā-citta (functional consciousness), mahaggata-citta (developed consciousness), and lokuttara-citta (supramundane consciousness); and Chapter 8 on Relations or Conditionality, which describes Paṭicca-samuppāda and 24 conditional relations.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6350205039 6350205039 3.31 MiB 24,430 4 ก.ย. 2565 เวลา 02:39 น. ดาวน์โหลด