-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement of Moral Teachings Monks in the School at Thap Khlo Phichit Province
- ผู้วิจัยพระมหาวิทยา วชิรญาโณ (น้อยศรี)
- ที่ปรึกษา 1พระอุดมสิทธินายก, ผศ., ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.ประเสริฐ ธิลาว
- วันสำเร็จการศึกษา07/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/450
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 290
- จำนวนผู้เข้าชม 274
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร การวิจัยเป็นแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.847 เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่เป็นนักเรียน จำนวน 289 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนการเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One way Analysis of Variance) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (Indepth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 8 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.06, S.D. =0.48) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผน (X̅ = 4.06, S.D. = 0.36) ด้านการตรวจสอบ (X̅ = 4.06, S.D. = 0.35) ด้านการปรับปรุงแก้ไข (X̅ = 4.03, S.D. = 0.38) ด้านการปฏิบัติ (X̅ = 4.02, S.D. = 0.36)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ภาพรวม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ วุฒิการศึกษาธรรมศึกษา วุฒิการศึกษาสามัญ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
3.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อการบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน ขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา ทั้งไม่สามารถกำหนดโครงสร้าง หลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2) ด้านการปฏิบัติ ไม่สามารถปฏิบัติตาม ขอบข่าย รูปแบบ รายวิชาในวิชาพระพุทธศาสนา ในสถานศึกษาได้ 3) ด้านการตรวจสอบ สถานศึกษา ไม่ได้ให้ระเบียบการวัดผลประเมินผลขอสถานศึกษาแก่พระสอนศีลธรรม ทั้งไม่มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลตามสภาพจริง 4) ด้านการปรับปรุงแก้ไข พระสอนศีลธรรม ไม่ได้มีส่วนรวมในการพัฒนา แนวทางการบริหารในสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนา รายวิชา ในการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาได้
ข้อเสนอแนะได้แก่ 1) ด้านการวางแผน ต้องมีการวางแผนการทำงานให้พระสอนศีลธรรมอย่างเป็นระบบระเบียบ และต้องมีนโยบายในการหาพระที่มีความรู้ความสามารถเข้ามา ปฏิบัติงานเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ที่สุด 2) ด้านการปฏิบัติ ควรศึกษารูปแบบ ขอบข่ายรายวิชา เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามการสอนหลักสูตรในการสอนได้ก่อนลงมือปฏิบัติ 3) ด้านการตรวจสอบ สถานศึกษาควรมีเจ้าหน้าที่วัดผลประเมินผลที่ชำนาญให้แก่พระสอนศีลธรรม และมีการ ประเมินผลอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ทราบถึง ความสำคัญของการเรียนว่าควรมีมากน้อย 4) ด้านการปรับปรุงแก้ไข ผู้บริหารควรจัดให้พระสอนศีลธรรมได้มีส่วนรวมในการพัฒนา แนวทางการบริหารในสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนา รายวิชา ในการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนามากขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were to: 1. study the management of moral teaching in schools at Tap Khlo District, Phichit Province. 2. compare the level of students' opinions on the management of moral teaching in schools at Thap Khlo District, Phichit Province, classified by personal factors and 3. study problems, obstacles and suggestions for the development of moral teaching performance in schools at Thap Khlo District, Phichit Province Methodology was the mixed methods: The quantitative research using Survey collecting data by questionnaires with the confidence value equal to 0.479. Data were collected from 289 samples who were students and analyzed data by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test by analysis of One-way analysis of variance, ANOVA The qualitative research collected data from 8 key informants by indepth interviewing and analyzed data by descriptive content analysis
Findings were as follows:
1. Management of moral teaching in schools in Tap Khlo District, Phichit Province, by overall was at a high level (X̅ = 4.09, S.D. = 0.47) Each aspect in 4 aspects were also at a high level, namely; Planning was at high level (X̅ = 4.09, SD = 0.37), Examination was at high level (X̅ = 4.09, SD = 0.35 Improvement was at high level (X̅ = 4.03, SD = 0.36) and practice was at high level (X̅ = 4.02, SD = 0.36)
2. The results of the comparison of students’ opinions on the management of moral teaching in schools at Thap Khlo District, Phichit Province, by overall, classified by personal factors, namely gender, age, education, Dharma, education formal educational level. Students with these different personal factors had different opinions statistically at the level of 0.05, therefore accepting the set research hypothesis.
3. Problems, obstacles and suggestions regarding the management of moral teaching in schools at Thap Khlo District, Phichit Province, were that 1) planning, lack of knowledge and understanding in the preparation of curriculum. Schools were unable to set student-centered structures and courses. 2) Practice, unable to follow the scope, format and the courses of Buddhism, 3) Examination of educational institutions, schools did not give the clear content and instruction for evaluation to the moral teaching monks and did not have knowledge to evaluate the practice in the real situations, 4) Improvement, Moral teaching monks do not have participation in moral curriculum development, course administration for teaching and learning of Buddhism in educational institutions.
Suggestions are that: 1) Planning, there must be a work plan for the monks to teach morality in a systematic manner. and must have a policy to find a knowledgeable monks to perform the task so that the task will be completed perfectly 2) Practice, there should be study of pattern and scope of courses in order to follow the teaching curriculum before and after proceeding. 3) Examination, educational institutions should have skillful staff to assess the results of teaching for monks. To have serious evaluation in order to know the importance of learning, 4) Improvements, administrators should make the monks teach morality and be involved in development. Administrative guidelines for educational institutions are that development of courses in teaching and learning Buddhism in educational institutions for greater development.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 4.62 MiB | 290 | 2 มิ.ย. 2564 เวลา 23:45 น. | ดาวน์โหลด |