โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธี ตามหลักพุทธสันติวิธี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Mahatma Gandhi’s Peacebuilding According to Buddhist Peaceful Means
  • ผู้วิจัยพันจ่าเอกณัฐศิษย์ เดชาพิพัฒน์กุล
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร.,
  • ที่ปรึกษา 2ดร.พูนสุข มาศรังสรรค์,
  • วันสำเร็จการศึกษา15/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/455
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 535
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,213

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการค้นคว้าศึกษาวิเคราะห์เอกสาร มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธี ตามหลักพุทธสันติวิธี โดยศึกษาหลักพละ 5 ของพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เห็นแนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธี ในการศึกษานี้ผู้วิจัยวางวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 3 ประเด็น คือ 1. ศึกษาแนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธี 2. ศึกษาแนวทางการสร้างสันติภาพตามหลักพุทธศาสนา และ 3. วิเคราเะห์แนวทางการสร้างสันติภาพของ มหาตมะ คานธี ตามแนวพุทธสันติวิธี

          ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

           1. แนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธีได้รับอิทธิพลจากการขัดเกลาทางสังคมระหว่างศาสนาต่าง ๆ การใช้วิธีต่อสู้ทางการเมืองแบบ “อหิงสา” เป็นระบบจริยธรรมของอินเดีย คือการไม่ใช้ความรุนแรง (Non-violence) และเน้นพลังแห่งความรัก ความดีงามมาแก้ปัญหาทางการเมือง รวมทั้งผู้ปกครองจะต้องเอื้ออำนวยต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ท่านเน้นหลักธรรมสำหรับผู้ที่อยู่ในสังคมทุกคน ในทางการเมือง มหาตมะ คานธี นำวิธีการ "อหิงสา" มาเป็นวิธีการต่อต้านผู้ปกครองที่ไม่เป็นธรรมจนประสบความสำเร็จนำเอกราชมาสู่อินเดียได้ สัตยาเคราะห์คือการไม่ใช้ความรุนแรง (Non-Violence) เป็นทั้งหลักการในการบริหารจัดการและเป็นขบวนการต่อสู้ทางการเมืองแบบเฉพาะของ มหาตมะ คานธีที่เป็นการต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่ว สัตยาเคราะห์ขึ้นอยู่กับหลักการ 2 อย่างคือ 1) สัจธรรมและศรัทธาในสัจธรรม และ 2) การดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมั่นคง

          2. แนวทางการสร้างสันติภาพตามหลักพุทธศาสนา ในหลักธรรมพละ 5 ประกอบด้วย 1) ศรัทธาพละ กำลังแห่งความเชื่อควบคุมความสงสัย 2) วิริยะพละ กำลังแห่งความเพียรควบคุมความเกียจคร้าน 3) สติพละ ความระลึกได้ กำลังแห่งการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ 4) สมาธิพละ ความตั้งใจมั่นกำลังแห่งการควบคุมจิตให้ตั้งมั่นและ 5) ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมความเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย พละ 5 จึงเปรียบเสมือนเป็นพลังผลักดันที่ทำให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจเกิดศรัทธาในสัมมาทิฐิ เกิดแรงกระตุ้นหนุนส่งความเพียร ประพฤติ ปฏิบัติ บำเพ็ญด้วยความบริสุทธิ์อย่างเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์เข้ามาบั่นทอนหรือบีบคั้น ครอบงำจิตใจ และทำให้ได้สร้างสรรค์หาวิธีสร้างสันติสุข สร้างสรรค์สันติภาพ ได้อย่างเต็มที่เต็มพลังเป็นต้น

          3. การวิเคราะห์แนวทางการสร้างสันติภาพของ มหาตมะ คานธี ตามแนวพุทธสันติ พบว่า มหาตมะ คานธีสร้างสันติภาพด้วยหลักการหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง โดยใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ ที่ต้องอาศัยความรักในเพื่อนมนุษย์ แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นศัตรู การใช้ความไม่รุนแรงนี้เป็นการใช้ความศรัทธาความเชื่อ ความวิริยะอุตสาหะ สมาธิ สติ ปัญญา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This thesis, aqualitative-documentary research, aims to analytically study Mahatma Gandhis peacebuilding according to Buddhist peaceful means, Bala in Theravada Buddhism; it is of 3 objectives: 1)to study the way of Mahatma Gandhis peacebuilding, 2) to study the way of peacebuilding according to Buddhism, and 3) to analyze Mahatma Gandhis peacebuilding according to Buddhist peaceful means

            From the research, it is found the followings:

            1.The way of Mahatma Gandhis peacebuilding is influential by the socialrefinement among various religions.   The use of Ahimsa,the Non-violence, as political fighting means is the ethical system of India,and the emphasizing the power of love and virtue is for solving political problems; political leaders have to yield such objectives. Gandhi emphasized the Dhamma for everyone in the society; in politics he successfully applied Ahimsafor the means ofunjust-ruler resistance that India could beset freeSatyagraha is not the use of violence; it is both the administrative principle and the distinguish political-fighting process of Mahatma Gandhi of which was the fighting between the good and the evilSatyagraha is based on the 2 principles: 1) The truth and the trust in truth, and 2) The continual and consistent actuation

            2. The way of peacebuilding according to Buddhism by Bala consists of 1) SaddhaBala : the energy of controlling confidence, 2)ViriyaBala:the energy ofeffort controlling laziness, 3) Sati Bala: Mindfulness: the energy of controlling carelessness, un-attention, absent mind and the lack of mindfulness, 4)Samadhi Bala:Concentration: the controlling of attentiveness,and 5)Panna: Wisdom: the energy of controlling neglecting and false belief. Balathen is like the forceful energy making mindful stability leading to, i.e. confidence in the right view, motivation of effort in behaving, practicing andconducting with purenessheartily without any interrupted impurities or sorrows to devastate or control that mind, and the chance to create peace with full energy, etc.

            3) In analyzing Mahatma Gandhi’s peacebuilding according to Buddhist peaceful means, it is found that the peace the Mahatma Gandhi built was with the avoidance of performing violence by applying Ahimsa and Satyagraha that love among fellowmen must be concerned despite some of them might be enemies.  The handling of non-violence is of the application of belief, hard effort, concentration, mindfulness and wisdom.       

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 2.12 MiB 535 3 มิ.ย. 2564 เวลา 01:39 น. ดาวน์โหลด