โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษLeadership of Sangha Administrators in Sangha Administration at Muang District, Ratchaburi Province
  • ผู้วิจัยพระราชวัลภาจารย์ (ดาวเรือง อาจารคุโณ/คุณเมฆ)
  • ที่ปรึกษา 1พระสมุทรวชิรโสภณ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา18/02/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/460
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 196
  • จำนวนผู้เข้าชม 386

บทคัดย่อภาษาไทย


              การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตามความคิดเห็นของพระภิกษุ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 271 รูป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านจักขุมา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ด้านวิธุโร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และด้านนิสสยสัมปันโน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06

                 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของพระสงฆ์ ได้แก่ อายุ พรรษา และวุฒิการศึกษานักธรรม มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ปัจจัยส่วนบุคคลของพระสงฆ์ ได้แก่ วุฒิการศึกษาสามัญ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

               3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า (1) ด้านจักขุมา ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ การขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็น การขาดทักษะการจัดทำแผนงาน การขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรส่งเสริมให้พระสังฆาธิการเข้าศึกษาหลักสูตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การจัดอบรมพัฒนาทักษะการจัดทำแผนงานหรือการเขียนโครงการ และการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการจัดการความรู้ในลักษณะที่เป็นความรู้สาธารณะ (2) ด้านวิธุโร ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ การขาดเทคนิคใหม่ ๆ การขาดการฝึกฝน และข้อเสนอแนะ ได้แก่ การประยุกต์ศาสตร์สมัยใหม่มาใช้พัฒนาการทำงาน และถ่ายทอดเทคนิคหรือแนวปฏิบัติที่ดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาตามโอกาสสมควร และ (3) ด้านนิสสยสัมปันโน ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ การขาดการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงาน ขาดความรู้เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้ง และข้อเสนอแนะ ได้แก่ การสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วม และจัดอบรมพัฒนาทักษะการบริหารความขัดแย้งแก่พระสังฆาธิการทุกระดับ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


              The objectives of this research paper were (1) to study the leadership of Sangha administrators in Sangha administration at Muang district, Ratchaburi province, (2) to compare the opinions of monks to leadership of Sangha administrators in Sangha administration at Muang district, Ratchaburi province, classified by personal data, and (3) to study problems, obstacles and suggestions for leadership development of Sangha administrators in Sangha administration at Muang district, Ratchaburi province. It was the mixed methods research that the quantitative research used the questionnaire as the tool to collect the data in the field study from 271 monks in Muang District, Ratchaburi Province. The statistics were used for the data analysis through frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), F-test, One-way Analysis of Variance and Least Significant Difference: LSD. But the qualitative research had the documentary analysis and interview as the tool to collect the data in the field study from 7 key informants and analyzed the data through the content analysis technique.

                The findings of research were as follows:

                1. The leadership of Sangha administrators in Sangha administration at Muang district, Ratchaburi province. In overall was found at the high level with an average 4.00, when considered in each aspect found that were at the high level for all aspect, Cakkhuma aspect in high level at mean of 3.95, Vidhuro aspect in high level at mean 4.00, and Nissayasampanno aspect in high level at mean of 4.06.

                2. The Comparison of monk’s opinions to leadership of Sangha administrators in Sangha administration at Muang district, Ratchaburi province, classified by personal data found that age, ordination years, Dhamma education had the opinions to leadership of Sangha administrators in Sangha administration at Muang district, Ratchaburi province differently with significantly statistics at 0.01. But personal data of monks such as general education had the opinions to leadership of Sangha administrators in Sangha administration at Muang district, Ratchaburi province in overall indifferently.

                 3. The problems, obstacles and suggestions for leadership development of Sangha administrators towards administration in Muang district, Ratchaburi province were as following: (1) Cakkhuma aspect; problems and obstacles are lack of necessary basic knowledge, lack of planning skills, lack of learning exchange and suggestions should encourage and support the Sangha administrators to study the curriculum of certificate the Sangha administration program of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, to organize the training for development skills in planning preparation or projects writing, to support the mutual knowledge exchange management in order to for public knowledge. (2) Vidhuro aspect; problems and obstacles are the lack of new techniques, lack of training and suggestions are like  the application of modern sciences to use for work development, to transfer the  techniques or best practices to subordinates an appropriate opportunity. And, (3) Nissayasampanno aspect; problems and obstacles are the lack of supporting process for working participation, lack of conflict management knowledge and suggestions are to support the working participation, to organize the training about conflict management skills for Sangha administrators in all levels.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.07 MiB 196 3 มิ.ย. 2564 เวลา 02:25 น. ดาวน์โหลด