โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอ บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement of The Five Precepts Observing Village Project of Sangha Administrators Bangplama District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยพระมหาพงษ์ศักดิ์ รตนญาโณ (ทองละมุล)
  • ที่ปรึกษา 1ดร. ประเสริฐ ธิลาว
  • ที่ปรึกษา 2พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา11/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/463
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 320
  • จำนวนผู้เข้าชม 571

บทคัดย่อภาษาไทย

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี                                 ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.725 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จำนวน 251 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง และตารางความถี่                                                               

                 ผลการวิจัยพบว่า 

                 1. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=3.67,S.D. =0.617) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการจัดองค์กร ด้านการวางแผน ด้านการกำกับดูแล ด้านการอำนวยการ และด้านงานบุคลากร ตามลำดับ

                 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ พรรษา ระดับการศึกษาแผนกธรรม ระดับการศึกษาแผนกบาลี ระดับการศึกษาทางโลก และตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน พบว่า พระสงฆ์มีอายุ ระดับการศึกษาแผนกธรรม ระดับการศึกษาแผนกบาลี ระดับการศึกษาทางโลก และตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีพรรษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 

               3. ปัญหาและอุปสรรคต่อการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า คณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้าขาดความเข้าใจในเรื่องวัตถุประสงค์และขั้นตอนในการดำเนินโครงการ ไม่กระจายอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน ไม่คัดเลือกคนที่มีความรู้เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ ไม่ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร จึงขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญและมีความรู้ความสามารถที่เข้ากับงานของโครงการ ไม่สร้างแรงจูงใจให้พระสงฆ์เกิดความยินดีต่อการปฏิบัติงานของโครงการ การติดต่อประสานงานระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่ล่าช้า และการเยี่ยมชมติดตามผลประเมินผลการดำเนินงานของโครงการไม่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด                                                                                                                                                                                       ข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า คณะสงฆ์อำเภอบางปลาม้าควรศึกษาทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์และขั้นตอนในการดำเนินโครงการ กระจายอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน จัดฝึกอบรมคัดเลือกคนที่มีความรู้เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร สร้างแรงจูงใจให้พระสงฆ์เกิดความยินดีต่อการปฏิบัติงานของโครงการ นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ตรวจเยี่ยมชมติดตามผลประเมินผลการดำเนินงานของโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด ขับเคลื่อนโครงการด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่จะปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง จัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนเห็นคุณค่าของการรักษาศีลว่าสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ณ บริเวณหน้าวัดหรือในพื้นที่ชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อการทำงานร่วมกันระหว่างชาวบ้าน หน่วยงานราชการกับคณะสงฆ์, หาจุดแข็งและประโยชน์หรือคุณค่าจากโครงการนี้แล้วนำเสนอให้เป็นที่ยอมรับ, พัฒนาตนเองโดยการแสวงหาความรู้เทคนิคใหม่ๆ จัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสร้างสังคมให้มีความสามัคคีมีแรงจูงใจที่จะทำประโยชน์เพื่อตนและเพื่อสังคมที่สงบสุข จัดตั้งศูนย์กลางในระดับหมู่บ้านหรือชุมชน ผู้นำหมู่บ้านหรือชุมชนให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการทั้งด้านกำลังคนอาหารและน้ำช่วยดูแลการขับเคลื่อนโครงการอย่างเต็มกำลัง

 

 

 

                                                                                                                                      

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

 

               The objectives of this study were Research: 1. To study Management of The Five Precepts Observing Village  Project of Sangha Administrators at Bangplama District, Suphanburi Province 2. To compare monks’ opinions  towards management of The Five Precepts Observing  Village Project of Sangha Administrators at Bangplama District, Suphanburi Provinceby lassified by personal status and 3. To study Problems, obstacles and  recommendations about management of The Five Precepts Observing  Village  Project of  Sangha Administrators at  Bangplama District,  Suphanburi Province 

                                                                                                                                                                                 Methodology was the mixed methods Research: The quantitative research applying  survey method collected data from 251 samples who were Buddhist monks at Bangplama District using questionnaires with the confidence value at 0.725. The data were analyzed by descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation, F-test,  one-way analysis of variance, ANOVA. The qualitative research collected data from 10 key informants with in-depth-interviewing and analyzed data by descriptive interpretation   

                Findings of the research  were as follows:     

                1. Monks by overall, had opinions towards  the management of The Five Precepts Observing  Village  Project of SanghaAdministrators at Bangplama District, Suphanburi Province at high level ( =3.67, S.D. =0.617) Each aspect was also at high level namely; Planning Organizing Staffing Directing Controlling. Monks had opinions towards management of The Five Precepts Observing  Village  Project of Sangha Administrators at  Bangplama District, Suphanburi Province at  high levels in all these aspects,   

                2. The comparison of the opinions of the monks towards  management of The Five Precepts Observing  Village  Project of Sangha Administrators at Bangplama District, Suphanburi Province by classified by personal status, it was found that monks with different  ordained age, levels of education, Dharma and Pali education, formal educational levels and current Positions had different opinions towards the management of The Five Precepts Observing  Village  Project of Sangha Administrators at Bangplama District, Suphanburi Province at statistical significant level of 0.05, accepting set hypothesis. While monks with different age did not have different opinions towards the management of The Five Precepts Observing  Village  Project of Sangha Administrators at  Bangplama District, Suphanburi Province, herefore, rejecting the set hypothesis. 

                3. Problems and obstacles of management of The Five Precepts Observing  Village  Project of SanghaAdministrators Bangplama District Suphanburi Provincefound The Sangha Administrators Bangplama District lacked understanding of objectives and procedures for project implementation. District Sangha Administrators do not clearly empower authority, do not select people with knowledge suitable for the position of responsibility do not evaluate the performance of personnel Therefore, the project lacked  skilled and knowledgeable personnel who are compatible with the work of the project, do not motivate monks to be pleased with the project  performance.  Liaison between government and private sector and the public is delayed.  And visiting, monitoring and  evaluating  the project's performance were not carried out in the proper timeframe. 

                 Recommendations for the management of The Five Precepts Observing  Village Project of Sangha Administrators at Bangplama District, Suphanburi Province are that  Sangha Administrators should study to understand the objectives and procedures of the project. District Sangha Administrators need to give out orders clearly  with decentralized authority. Organize training and recruit people with knowledge suitable for the position of responsibility. Evaluate the performance of personnel Motivate monks to be pleased with the project's performance Modern technology should be used to coordinate between government, private and public sectors. Project inspection and site  visits to follow up the evaluate  the project's performance  at the specified period of time.                                                                                                                                                         The findings from in-depth interviews revealed that Sangha Administrators at Bangplama District undertake the project by promoting knowledge and understanding  that will benefit the nation.  create a public relations sign, campaign to invite people in the village at the monasteries entrances to encourage community to have good relations with governmanet agencies and Sangha Order. Find strengths and benefits or values ​​from this project and offer them to be accepted. Have the knowledge and knowledge in line with the ability to develop themselves by seeking new knowledge and techniques The campaign to  invites people to see the value of keeping the sacraments important to life Organize volunteer activities to create a harmonious society with benefits for themselves  and for a peaceful society. Establish community centers at the village or community. Village or community leaders should  support the project implementation in terms of manpower, food and water, help  oversee the project with full force and capability.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 10.56 MiB 320 3 มิ.ย. 2564 เวลา 03:45 น. ดาวน์โหลด