โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Management Effectiveness Development of The Government Complaint Center under The Prime Minister’s Permanent Secretary Office
  • ผู้วิจัยร้อยตำรวจเอก ธเดช ศรีสวัสดิ์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมาน งามสนิท
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • วันสำเร็จการศึกษา31/08/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4632
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 65
  • จำนวนผู้เข้าชม 83

บทคัดย่อภาษาไทย

      บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.990 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้านสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน

                ผลการวิจัยพบว่า

                1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย (1) ด้านบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของหน่วยงาน อยู่ในระดับมาก (x bar= 3.79) มีการกำหนดเป้าหมายและกำกับการบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาล (2) ด้านความสามารถในการให้บริการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก ( x bar= 3.72) มีการประสานงาน และติดตามเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้อง (3) ด้านระบบการรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ทันสมัย อยู่ในระดับมาก ( x bar= 3.71) เพื่อให้บริการประชาชนเกิดความพึงพอใจและเชื่อมั่นในระบบราชการ (4) ด้านความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อยู่ในระดับมาก (x bar= 3.72) เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการพัฒนา และปรับปรุงการปฏิบัติงานและคุณภาพการให้บริการ

                2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พบว่า 1) กระบวนการบริหาร (PDCA) ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย
1) ด้านการวางแผน
2) ด้านการปฏิบัติ 3) ด้านการตรวจสอบ และ 4) ด้านการปรับปรุง โดยมีประสิทธิผลของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล โดยองค์ประกอบทั้งหมดของกระบวนการบริหาร (PDCA) สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ได้ร้อยละ 77.60 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1  2) การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 เป็นตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย 1) ด้านฉันทะ (พอใจทำ) 2) ด้านวิริยะ (พากเพียรทำ) 3) ด้านจิตตะ (ตั้งใจทำ) 4) ด้านวิมังสา (การไตร่ตรอง) มีอิทธิพลต่อกัน ต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาลสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของประสิทธิผล
การบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร้อยละ 67.8 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2

                3. พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1) กระบวนการบริหาร (PDCA) มีระบบตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีมาตรฐานและระยะเวลาชัดเจน ควบคู่กับการนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จ รวมทั้งการแสวงหาวิธีการประเมินผล เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนา 2) หลักอิทธิบาท 4 คือ ด้านฉันทะ (พอใจทำ) เจ้าหน้าที่มีความเต็มใจในการให้บริการรับเรื่องร้องทุกข์อย่างเป็นมิตรและพร้อมให้ความช่วยเหลือ ร่วมกับด้านวิริยะ (พากเพียรทำ) คือ เจ้าหน้าที่มีความพยายามอย่างละเอียดรอบคอบ ด้านจิตตะ (ตั้งใจทำ) คือ การให้บริการที่ดีเยี่ยม สามารถอธิบายทำความเข้าใจสิทธิด้านกฎหมายอย่างชัดเจนครบถ้วน มีความรับผิดชอบ และด้านวิมังสา (การไตร่ตรอง) คือ เจ้าหน้าที่สามารถจัดการเรื่องร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สามารถปฏิบัติงาน และแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์อย่างมีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study management effectiveness development of the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office 2. To study the factors affecting on the management effectiveness development of the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office 3. To present buddhist integration for management effectiveness development of the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office. The integrated research methodology is employed. The quantitative research, the validity of questionnaire is 0.960. The tool used for data collection was 389samples by Stratified random sampling from the populations.Then the data analysis was used the Content Analysis Technique through Mean ( ), Standard Deviation (S.D.) and Multiple Regression Analysis by statistics in conceptual framework. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing with 18 key informants and 9 participants in focus group discussion. The data were analyzed by descriptive analysis.

The findings of the research were as follow:

1.   Management effectiveness development of the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office consists of: (1) Achieving objectives according to the goals of the agencies at a high level ( x bar= 3.79). There are goals and supervision of government administration in accordance with good governance. (2) The ability to provide services and coordinate with relevant agencies at a high level (  x bar= 3.72). There is coordination and follow up on related grievances. (3) In terms of the modern grievance system at a high level (  x bar= 3.71) in order to serve the person's satisfaction and trust in the bureaucracy (4) Regarding the satisfaction of the people who use the service of the government complaints center Office of the Permanent Secretary, Prime Minister's Office at a high level (  x bar= 3.72) allowing stakeholders to participate in the development and improve operations and service quality.

2.    The factors affecting on the management effectiveness development of the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office as follows: 1)The administrative process (PDCA) which is an independent variable, consists of (1) Planning 2) Do 3) Check and 4) Act with the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office whereby all elements of the administrative process (PDCA) can account for 77.60 percent of the variation in effectiveness of government grievance centers. Hypothesis 1 is therefore accepted. 2) The Iddhipada 4 is an independent variable, consisting of:
1) Passion 2) Diligence 3) Mind 4) Investigation with
the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office can jointly explain 67.8 percent of the variation in management effectiveness of the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office thus accepting hypothesis 2.

3.    Buddhist integration for management effectiveness development of the government complaint center of the  prime minister’s permanent secretary office as follows: 1) Administrative Process (PDCA) must be a system to check and adjust the operation according to the situation and clear standards and timelines with the Iddhipada 4 to be used in the operation to achieve success as well as seeking methods of evaluation to lead improvement and development 2) Iddhipada 4 are Passion is the staff are enthusiastic and willing to provide friendly and prompt service to grievances. The diligence is the staff made a thorough effort. Mind is the staff made a thorough effort. Investigation are complaints can be handled in accordance with established rules. able to work and effectively resolve complaints.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104210 6301104210 7.5 MiB 65 16 ก.ย. 2565 เวลา 05:17 น. ดาวน์โหลด