โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในจังหวัดปทุมธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษWater Resource Management in Patumthani Province
  • ผู้วิจัยนายธีระพล บุญตาระวะ
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมาน งามสนิท
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46392
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 1,426

บทคัดย่อภาษาไทย

      การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยการนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 306 คนจากประชากรในกองช่าง 1,300 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ และการวิจัยเชิงคุณคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 15 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างโดยวิธรการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาความ

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีการบริหารตามหลักการบริหารแบบ 4 M’s ด้านที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งคือ ด้านการบริหารงาน อันดับสอง คือ ด้านบุคลากร อันดับสาม คือ ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ อันดับที่สี่ คือ ด้านงบประมาณ ตามลำดับ

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จากทั้งหมด 7 ปัจจัย รวมหลักธรรมอิทฺธิบาท 4 ด้วยเป็น 8 ปัจจัยได้แก่ ยุทธศาสตร์ โครงสร้างองค์กร ความพร้อมของระบบงาน ภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของบุคลากร ค่านิยมร่วม ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการน้ำมากที่สุดได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านโครงสร้างองค์กร ร่วมกับทักษะของบุคลากร มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ร้อยละ 71.40 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รองลงมา คือ ด้านโครงสร้างองค์กรและด้านทักษะของบุคลากร มีค่าเบต้าเท่ากับ 0.438, 0.287 และ 0.229 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านยุทธศาสตร์ ด้านความพร้อมของระบบงาน ด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร ด้านค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กร ไม่มีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และหลักธรรมอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในระดับมากมีค่าเฉลี่ยโดยรวมที่ 3.43

          3. การพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยรวมได้แก่การบริหารแบบมีส่วนร่วมทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน จากภาครัฐในด้านกำหนดนโยบาย กระบวนการบริหารและสร้างเครือข่ายมีความสำคัญในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยที่ 3.11 การมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนและประชาชน ในด้านรณรงค์ด้วยการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อช่วยกันลดผลกระทบทางลบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ การอนุรักษ์แหล่งน้ำด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ การให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้น้ำ และการอนุรักษ์แหล่งน้ำตามลำดับ มีความสำคัญในระดับปานกลางที่ค่าเฉลี่ย 3.40   

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           Objectives of this dissertation were to: 1. Study general condition of water resource management in Patumthani Province, 2. Study factors affecting the water resource management in Patumthani Province and   3. Study the approaches to the water resource management in Patumthani Province. Methodology was the mixed methods: The quantitative research, data were collected with questionnaires from 306 samples, derived from 1,300 persons from the Mechanic Division, analyzed with descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple Linear Regression Analysis. The qualitative method, data were collected from 15 key informants who the qualified administrative persons in Local Administrative Organization with structured in-depth-interview transcript by face-to-face interviewing and also from 10 participants in focus group discussion. Data from the two steps wee analyzed by descriptive interpretation.

             Findings were as follows:

1. The genera; condition of water resource management in Patumthani Province

was in line with 4M’s  management principle. The aspect with the most importance was Management. Secondly the Man, thirdly was Materials and the fourthly was Money, respectively.

2.  Factors affecting the water resource management in Patumthani Province,

including Itthipadha 4 were of 8 factors: They were strategy, organizational structure, work system readiness, leadership, personnel’s participation, shared value. The factors that affected the water resource management the most were leadership, organizational structure and personnel’s skill had influence on the water resource management in Patumthanii Province at 71.40 percent with statistical significance level at 0.05. Secondly the organizational structure and personnel’ skill had beta value equal to 0.438, 0.287 and 0.229, respectively. The factors of strategy, work system  readiness, personnel’s participation, shared value or organizational culture did not have effect on the water resource management in Patumthani Province. Itthipadha 4 affected the water resource management in Patumthani Province at high level with the mean value at 3.43.

3.       The approaches to the water resource management in Patumthani Province,

by overall, was participatory management from public sector, private and people. Participation from public sector in term of policy setting, management process, and network organizing was at the middle important level with the mean value at 3.11. Participation from private sector and people in term of campaign and public relations to dispatch data and information to reduce the negative effect on natural water resources, conserving water resource with new technology, sharing knowledge and understanding of water usage and water resource conservation, accordingly, was at the middle important level with the mean value at 3.40. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ