โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการ บูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness Model of Eco-Tourism Management by Buddhadhamma Integration in Samut Sakhon Province
  • ผู้วิจัยนางสาวกชนิภา อินทสุวรรณ์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46393
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 226

บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีประสิทธิผลตามหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดย ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 470 คนซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวคนไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสาคร ขนาดกลุ่มตัวอย่างพิจารณาจากความเหมาะสมของจำนวนค่าพารามิเตอร์ซึ่งมี 47 ความสัมพันธ์ ใช้เส้นความสัมพันธ์ละ 10 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมในโมเดลด้วยโปรแกรมสถิติชั้นสูง การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดย สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 รูปหรือคน ซึ่งเลือกโดยเจาะจง และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. สภาพการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (  x bar = 3.58, S.D. = 0.682) การมีส่วนร่วม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (  x bar = 3.43, S.D. = 0.840) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามหลักสัปปายะ 7 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (  x bar = 3.60, S.D. = 0.737) และประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (  x bar = 3.46, S.D. = 0.789)

              2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า การจัดการการท่องเที่ยว การมีส่วนร่วม มีหลักสัปปายะ 7 เป็นตัวแปรส่งผ่าน ตัวแปรภายในโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัว แบ่งเป็นตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปร ตัวแปรภายนอกแฝง 2 ตัวแปร ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนา สรุปได้ว่า ค่า p - value มีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.07412 ค่าไค-สแควร์ ( ) เท่ากับ 155.08 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 131 ค่าสัดส่วนไค-สแควร์ ( /df) เท่ากับ 1.18 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.022 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.026 มีขนาดตัวอย่างวิกฤติ (CN) เท่ากับ 256.65 สามารถอธิบายได้ว่าค่าสถิติความสอดคล้องของประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดสมุทรสาคร ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

              3. รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดสมุทรสาคร มีปัจจัยที่สำคัญ คือ ด้านคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยว สินค้า และบริการที่ได้มาตรฐาน สถานที่ท่องเที่ยวมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ท่องเที่ยวอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร มีถนนเพื่อการคมนาคมที่สะดวกสบาย และปลอดภัย ด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยว บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความสามารถด้านการท่องเที่ยว มีการให้บริการและคำแนะนำที่ดีแก่นักท่องเที่ยว ด้านการสร้างความสมดุลให้กับการท่องเที่ยว มีการพัฒนาสินค้าและบริการบนพื้นฐานเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีการส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         Objectives of this research were: 1. To study the general context of effectiveness model of eco-tourism management by Buddhadhamma integration in Samut Sakhon province, 2. To study factors influencing  effectiveness model of eco-tourism management by Buddhadhamma integration in Samut Sakhon province and 3. To propose effectiveness model of eco-tourism management by Buddhadhamma integration in Samut Sakhon province.

              Methodology was mixed methods: The quantitative research was conducted by studying 470 samples who were Thai tourists touring in Samut Sakhon Province. The sample size was determined by the appropriateness of numbers of parameters with 47 relationships with 10 samples for each relationship line and used accidental sampling and analyzed data by using analyzing the correlations co-efficient with statistical program to examine the consistency of the model with the empirical data and analyzed the influences of direct and indirect variables in the model by advanced statistical program. The qualitative research was conducted by in-depth interviewing 17 key informants and 10 participants in focus group discussion and analyzed the data by content descriptive interpretation.

              Findings were as follows:

              1. The general context of eco-tourism management of Samut Sakhon Province, by overall, was at high level (  x bar = 3.58, S.D. = 0.682). The participation, by overall, was at high level (  x bar = 4.04, S.D. = 0.73). The tourism management according to seven Sappāya, by overall, was at high level (  x bar = 3.60, S.D. = 0.737), and effectiveness of eco-tourism management, by overall, was at high level (  x bar = 3.46, S.D. = 0.789)

              2. Factors influencing effectiveness model of eco-tourism management by Buddhadhamma integration in Samut Sakhon Province were found that tourism management and participation with seven Sappāya which was a mediator variable. The latent variables in the model were 4 latent variables including  2 endogenous latent variables and 2 exogenous latent variables. The results of checking the validity of the developed model could be concluded that the p-value was statistically significant as 0.07412, Chi-Square value ( ) = 155.08, Degrees of Freedom value (df) = 131, Chi-Square ratio ( /df) = 1.18, Goodness of Fit Index value (GFI) = 0.94, Adjust Goodness of Fit Index value (AGFI) = 0.90, Comparative Fit Index value (CFI) = 1.00, Standard Root Mean Square Residual value (SRMR) = 0.022, Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.026 and Critical N (CN) = 256.65. This could explain that consistency statistics of effectiveness model of eco-tourism management by Buddhist integration in Samut Sakhon Province, developed by the researcher was consistent with empirical data which was in accordance with the set research hypothesis.

              3. Effectiveness model of eco-tourism management by Buddhadhamma integration in Samut Sakhon Province with important factors: The quality of tourist attractions aspect; there were standardized tourist attractions, products and services. The tourist attractions had a distinctive identity. Infrastructure and facilities aspect; the tourist attractions were near Bangkok with convenient and safe roads for transportation. Personnel in tourism aspect; related personnel had knowledge and abilities in tourism. They could yield good service and advice to tourists. Tourism balance aspect; products and services were developed based on Thai identity and there was marketing promotion to stimulate ecotourism.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ