-
ชื่อเรื่องภาษาไทยโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการจัดการเชิงกลยุทธ์สถานีบริการน้ำมันของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Causal Relationship Model and Effectiveness of Strategic Management Ability of PTT Public Company
- ผู้วิจัยนายบวร ขมชุณศรี
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46397
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 299
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสอดคล้องของประสิทธิผลการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และ 3. เพื่อเสนอโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลการวิจัยเชิงปริมาณ โดยที่ในการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 550 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน และกลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แนวคำถามในการสัมภาษณ์และประเด็นในการสนทนากลุ่มเฉพาะ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติแบบบรรยายและวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป รวมทั้งวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์และวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรม LISREL และในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการจัดการเชิงกลยุทธ์สถานีบริการน้ำมันของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่พัฒนาขึ้น สรุปได้ว่า ค่าไค-สแควร์ = 95.47, df = 75, p = .0556, GFI = .98, AGFI = .95, RMSEA = .022 ประสิทธิผลของความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (EFFECT) มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .968 แสดงว่า ตัวแปรภายในโมเดล คือ ภาวะผู้นำกลยุทธ์ (LEAD) ปัจจัยแวดล้อมภายใน (INFACT) ปัจจัยแวดล้อมภายนอก (EXFACT) อิทธิบาท 4 (IDDHI) และ 5) ความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร (VISION) และความสามารถในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (PRACT) สามารถอธิบายความแปรปรวนของ ประสิทธิผลของความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร้อยละ 96.80 และผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมพบว่า ตัวแปรอิทธิบาท 4 เป็นตัวแปรส่งผ่าน (Mediator) ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและประสิทธิผลของความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์สถานีบริการน้ำมันของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
2. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มี 6 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำกลยุทธ์ 2) ปัจจัยแวดล้อมภายใน 3) ปัจจัยแวดล้อมภายนอก 4) อิทธิบาท 4 และ 5) ความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร และ 6) ความสามารถในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติและพบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นำกลยุทธ์ ยังเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการจัดการเชิงกลยุทธ์สถานีบริการน้ำมันของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เป็นแผนภาพที่แสดงการเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรเหตุและตัวแปรผล พร้อมทั้งตัวแปรส่งผ่านคือปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จที่พัฒนามาจากหลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิผลของความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์สถานีบริการน้ำมันของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีภาวะผู้นำกลยุทธ์ คือ 1) ความมีวิสัยทัศน์ 2) ความสามารถในการวิเคราะห์ SWOT และ 3) ความสามารถในการเลือกใช้กลยุทธ์ที่ใช้การบริหารองค์การอย่างเป็นระบบด้วยการวางแผน การดำเนินการ การตรวจสอบและการพัฒนา โดยที่ประสิทธิผลของความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์สถานีบริการน้ำมันของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) วัดได้จาก 1) ผลสำเร็จของการเบิกจ่ายตามงบ 2) จำนวนโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และ 3) ผลสำเร็จโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และในการจะทำให้เกิดประสิทธิผลตามตัวชี้วัดนี้ได้จำเป็นต้องมีปัจจัยในการสนับสนุนหลายปัจจัยไปพร้อมกันเพื่อทำให้เกิดการยอมรับและร่วมกันปฏิบัติ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this dissertation are: 1. to study the consistency of strategic management effectiveness of gas station business of Petroleum Company of Thailand Public Company Limited with empirical data; 2. To analyze causal factors influencing strategic management effectiveness. and 3. To propose a causal relationship model for the strategic management of gas station business, Petroleum Company of Thailand Public Company Limited, using a combined research methodology. with a qualitative research method to describe the results of a quantitative research where in quantitative research There was a sample of 550 people obtained by stratified random sampling. for qualitative research There were 17 key informants or people, and the target audience in a specific group discussion of 9 photos or people was selected by a specific type. The research tools were questionnaires, interview questions and specific group discussions. The quantitative data analysis used descriptive statistics and correlation analysis with software packages. Including analyzes to verify the coherence of models with empirical data and direct and indirect influence scale analyzes with LISREL program, and in qualitative data analysis, content analysis was used.
Results of the study were as follows:
1. The causal relationship model of gas station strategic management effectiveness of Petroleum Authority of Thailand Public Company Limited developed in accordance with empirical data. The results of checking the validity of the developed model can be concluded that chi-square value = 95.47, df = 75, p = .0556, GFI = .98, AGFI = .95, RMSEA = .022. Strategic management capability of gas station business Petroleum Authority of Thailand Public Company Limited (EFFECT) has a forecast coefficient of .968, indicating that the variables within the model are Strategic Leadership (LEAD), Internal Environment Factors (INFACT) Factors. External Environment (EXFACT), Influence 4 (IDDHI) and 5) Organizational Strategic Ability (VISION) and Strategy Implementation Ability (PRACT) can explain the variability of the organization's strategy. The effectiveness of the gas station business strategic management capability of Petroleum Authority of Thailand Public Company Limited was 96.80 percent and the results of direct and indirect influence analysis showed that The power variable 4 is a mediator in the causal and effective relationship model of gas station strategic management capability of Petroleum Authority of Thailand Public Company Limited.
2. The causal factors influencing the effectiveness of the gas station business management strategy of Petroleum of Thailand Public Company Limited consisted of 6 factors: 1) Strategic Leadership Factors 2) Internal Environment Factors 3) External Environment Factors 4) power 4 and 5) the ability to formulate an organization's strategy, and 6) the ability to implement the strategy and found that Strategic Leadership Factors It is also an important variable in driving the activities of the organization.
3. The causal relationship model for the effectiveness of the gas station strategic management of Petroleum Authority of Thailand Public Company Limited is a diagram showing the link between the cause and effect variables. Along with the transmission variables are factors leading to success developed from the 4th principle to promote the effectiveness of the ability to manage gas stations of the Petroleum Authority of Thailand Public Company Limited with leadership. Strategies are 1) vision, 2) the ability to analyze SWOT, and 3) the ability to choose strategies that systematically manage the organization through planning, implementation, monitoring and development. The effectiveness of the gas station strategic management capability of Petroleum Authority of Thailand Public Company Limited is measured by 1) the success of the budget disbursement, 2) the number of projects that benefit the organization, and 3) the results. Successful projects that are in line with the strategy And in order to achieve this measure's effectiveness, several contributing factors are needed to achieve acceptance and consensus.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|