โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application for Cultural Tourism Promotion of Local Administrative Organizations in Chiang rai Province
  • ผู้วิจัยพระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญโญ (สันยศติทัศน์)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46398
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 186

บทคัดย่อภาษาไทย

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 2. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักธรรมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงรา และ 3. เพื่อนำเสนอการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงรายการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 330 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา

             ผลการวิจัยพบว่า

    1. กระบวนการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 1) ด้านการวางแผน ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น  2) ด้านการปฏิบัติตามแผน ปฏิบัติตามแผนในด้านการประสานงาน ด้านการสนับสนุน งบประมาณวัสดุหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ  3) ด้านการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน ตรวจสอบการดำเนินการตามแผนในด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 4) ด้านการปรับปรุงแก้ไขประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานพัฒนาท่องเที่ยว

    2. รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 1) ด้านการให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เน้นประวัติศาสตร์โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของชุมชน 2) ด้านการจัดการทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับวัด และชุมชนสร้างสรรค์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3) ด้านการคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตของท้องถิ่นในแง่ของสังคมและวัฒนธรรม ปราชญ์ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้และจัดทำหลักสูตร 4) ด้านการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีจิตสำนึกในการให้บริการที่ดีมีมาตรฐาน 5) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ชุมชนรักและหวงแหนวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น 6) ด้านการสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว ส่งเสริมให้เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 7) ด้านการคำนึงถึงขีดความสามารถรองรับของพื้นที่และความสะอาดของพื้นที่ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน

    3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงรา1) ด้านอาวาสสัปปายะ การบริหารจัดการวัดโดยจัดบริเวณวัดให้มีความสะอาด แสงสว่างเหมาะสมกับการศึกษาปฏิบัติธรรม  2) ด้านโคจรสัปปายะ มีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางให้มีความเหมาะสมสะดวก 3) ด้านภัสสสัปปายะ จัดบุคลากรเข้ามาประสานกับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อช่วยดูแลและสนับสนุนต้อนรับนักท่องเที่ยว       4) ด้านปุคคลสัปปายะ สนับบุคลากรพัฒนาวัดให้เพียงพอต่อการต้อนรับนักท่องเที่ยว 5) ด้านโภชนสัปปายะ มีการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น 6) ด้านอุตุสัปปายะ พัฒนาวัดให้สัปปายะ มีอากาศที่มีความเหมาะสมตามฤดูกาล 7) ด้านอิริยาปถสัปปายะ สนับสนุนการจัดกิจกรรมของวัดและสถานที่ปฏิบัติธรรมเชื่อมโยงกับกิจกรรมของชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

       Objectives of this research were: 1. to study the management process of cultural tourism attractions of local administrative organizations in Chiang Rai Province 2. To study the Buddhadhamma application for cultural tourism attractions management of local administrative organizations in Chiang Rai Province and 3. To propose the cultural tourism attractions management  of local administrative organizations in Chiang Rai Province.

             Methodology was the mixed methods The quantitative research, data were collected from 330 samples with questionnaires. The data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. The qualitative research methods; data were collected  from 19 key informants with structured in-depth-interview transcript by in-depth-interviewing. Data were also collected from 12 participants in focus group discussion. Data from the two steps were analyzed by descriptive interpretation.   

             Findings were as follows:

             1. Management process of cultural tourism attractions of local administrative organizations in Chiang Rai Province was as follows:  1) Planning; jointly formulating development plans at the provincial and local levels; 2) the implementation of the plan; following the plan in terms of coordination, support, budget, materials or equipment 3) the inspection of the implementation according to the  plan in terms of tourism activities within cultural tourism attractions. 4) Revision and evaluation of the community-based tourism strategic plan to be used as a guideline for improving tourism development operations.

             2. The model of cultural tourism attractions management of local administrative organizations in Chiang Rai Province was as follows: 1) Importance of historical ancient sites; focusing on the history of ancient sites, arts, culture and traditions that are linked to the culture of the community. 2) Sustainable economic, social and environmental management; Local Administrative Organizations together with monasteries and communities created sustainable tourism 3) Preserving the local way of life in terms of society and culture; local wise persons took part in disseminating knowledge and organizing courses. 4) Providing knowledge to all concerned parties; creating a learning process for stakeholders to have awareness of good service with good standards. 5) Conservation of culture and environment; the community loves and cherishes local culture and environment.6) Tourists’ satisfaction creation;  promoting the Lanna civilization tourism promotion zone as a cultural and intellectual tourism center and local wisdom, . 7) The area capacity and cleanliness: developing suitable tourist attractions that would lead to the community development through community infrastructure development.

          3. Application of Dharma principles for cultural tourism attraction development promotion of Local Administrative Organizations in Chiang Rai Province were as: 1) Avasa Sappaya, suitable abode; managing  monastery compound by arranging the monastery  area to be clean and lighted. The light is suitable for studying and practicing Dharma. 2) Gocara Sappaya, suitable resort; development of the communicative route to be suitable and convenient. 3) Bhassa Sappaya, suitable speech;  arranging personnel to coordinate with various tourist attractions to help take care and support tourists.4) Puggala Sappaya, suitable person;  supporting and developing monasteries to be sufficient to welcome tourists.5) Bhojana Sappaya;  suitable food; there should be activities to promote local food culture, 6) Utu Sappaya, suitable climate;  developing monasteries to have suitable climate according to seasons, 7) Iriya Sappaya suitable posture, supporting monasteries, activities of meditation practice that can be connected with the community activities

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ