โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness Management of the Buddhism Propagation in Sangha Government Region 11
  • ผู้วิจัยพระมหาสุริยา อภิวฑฺฒโน (มะสันเทียะ)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • ที่ปรึกษา 2ศ. ดร. บุญทัน ดอกไธสง
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46399
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 202

บทคัดย่อภาษาไทย

        งานวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11, 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 และ 3.เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 รูป โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 37,276 รูป ซึ่งเป็นพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 ภ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.913  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 พบว่า ปัจจัยการบริหาร โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  x bar = 4.69, S.D. = 0.39) และหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  x bar = 4.67, S.D. = 0.47)

              2. ปัจจัยที่ส่งต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 พบว่า ปัจจัยการบริหาร ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการจัดการ มีอิทธิพลร่วมกัน ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรได้ร้อยละ 33.50 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 หลักอิทธิบาทธรรม ประกอบด้วย ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา มีอิทธิพลร่วมกัน ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 ได้ร้อยละ 29.20 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2 ปัจจัยการบริหาร และการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรม มีอิทธิพลร่วมกันต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 ได้ถึงร้อยละ 36.0 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 3

              3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 11 ประกอบด้วย ด้านการเข้าถึงประชาชน ได้แก่ การมีส่วนร่วม การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ส่งพระธรรมทูตเข้าถึงชนบท มีส่วนร่วมต่อต้านยาเสพติด มีความเสียสละ ให้การช่วยเหลือ และจัดกิจกรรมการเผยแผ่ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ให้การอุปถัมภ์พระศาสนา ร่วมติดสินใจ ร่วมพัฒนาวัด มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ร่วมกันจัดกิจกรรม ร่วมกันบริหารจัดการ ให้การสนับสนุน ด้านการพัฒนาความรู้ของประชาชน รู้จักรับผิดชอบ รู้จักแก้ไขปัญหา รักษาศีลปฏิบัติธรรม ประกอบสัมมาชีพ มีวัดเป็นศูนย์กลางการอบรม มีวัดวัดเป็นศูนย์กลางจัดกิจกรรม มีวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และด้านการมีความสุขของประชาชน ประชาชนได้ให้ทานรักษาศีล ได้สวดมนต์เจริญภาวนา  ได้ฟังธรรมสนทนาธรรม ได้ร่วมกิจกรรม ละเว้นอกุศลกรรมบถ ได้ปฏิบัติตามธรรม และอยู่อย่างพอเพียงตามอัตภาพ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         This research has the following objectives: 1. study effectiveness management of the Buddhism propagation in Sangha Government Region 11, 2.  study the factors affecting to effectiveness management of the Buddhism propagation in Sangha Government Region, and 3. study the plan to develop effectiveness management of the Buddhism propagation in Sangha Government Region 11.

             The researcher used a mixed methods research. The qualitative research by using structured in-depth interview to 17 key informants from the monks in Sangha Government Region 11 and a Focus Group Discussion with 10 specific experts using descriptive content analysis technique. The quantitative research (survey research) tool used was the empirical study from the 30,276 monks in Sangha Government Region 11 using questionnaire with random sampling method as per Taro Yamane, a sample group of 396 monks.  The data were analyzed with inferential statistic and to describe the influence affecting to effectiveness management of the Buddhism propagation in Sangha Government Region 11.

        The research findings were as follows:

        The effectiveness of management emphasized on the ability in operating systematically and management structure, process and factors or resources of management to achieve the goal and objectives. The management of the Buddhism propagation in Sangha Government Region 11 required management principles to administrate on Buddhism propagation in Sangha Government Region 11 according to the policy and to reach objectives with efficiency and effectiveness by using Buddhist dhamma Itthibat to drive the Buddhism propagation operation and to various projects to achieve the goals.

          The quantitative research (survey research) found that the management factors affected to Buddhism propagation in Sangha Government Region 11 and Buddhist dhamma Itthibat  affected to Buddhism propagation in Sangha Government Region 11 at the significant level of 0.01 and found that management factors and Buddhist dhamma Itthibat  had jointed affect to effectiveness management of the Buddhism propagation in Sangha Government Region 11 at the significant level of 0.01. There was a group meeting in order to discuss and confirm the contents in accordance to the specified objectives and a new knowledge leads to development.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ