-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการส่งเสริมวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Promotion of Temple as Meditation Centers in Saraburi Province
- ผู้วิจัยพระครูภาวนาคุณาภรณ์ (ทรงศักดิ์ กิตฺติธโร)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระปลัดระพิน พุทธิสาโร, ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา18/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/464
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 212
- จำนวนผู้เข้าชม 279
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของการส่งเสริมวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.896 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี จำนวน 232 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
1.พระสงฆ์ในสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดสระบุรี มีความคิดเห็นต่อระดับการส่งเสริมวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมใน จังหวัดสระบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.25 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสถานที่ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.33 รองลงมาด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.26 และด้านวิทยากร อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.15 ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการส่งเสริมวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมใน จังหวัดสระบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มี สถานภาพ อายุ และวุฒิการศึกษาปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่ต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม แผนกสามัญ และวุฒิการศึกษาปริยัติธรรม แผนกธรรม ต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. ปัญหาในการส่งเสริมวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี 1) ด้านสถานที่สำนักปฏิบัติธรรมมีสถานที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมบางสำนักปฏิบัติธรรมมีที่พักไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม และมีสถานที่สำหรับเดินจงกรมไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม 2) ด้านวิทยากรมีพระวิปัสสนาไม่เพียงพอขาดพระอาจารย์ผู้นำสอบความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมบางท่านไม่ค่อยเอาใจใส่เท่าที่ควร และขาดการสนับสนุนทั้งจากคณะสงฆ์และส่วนราชการ 3) ด้านการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมบางแห่งไม่ค่อยปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ประกาศไว้และไม่สามารถกำหนดใช้บังคับ บางที่ขาดสื่อการสอนที่ทันสมัย และเข้าใจง่าย ไม่มีการติดต่อประสานงานกับชุมชน
ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมวัดให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี ได้แก่ 1) ด้านสถานที่ ควรเพิ่มจำนวนสำนักปฏิบัติธรรมให้มากกว่าเดิมเพื่อให้ครอบคลุมกับปริมาณของพุทธศาสนิกชนและเป็นการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติ ด้วยการคัดสรรวัดที่มีความพร้อมด้านสถานที่และสามารถรองรับจำนวนผู้ปฏิบัติธรรมได้ครั้งละมาก ๆ รวมถึงเพิ่มสถานที่เดินจงกรมให้มีความหลากหลายมากกว่าเดิม 2) ด้านวิทยากร ควรเพิ่มพระวิปัสสนาจารย์ให้มากขึ้นด้วยการจัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรพระวิปัสสนาจารย์ให้มีพอเพียง และมีการนิมนต์พระอาจารย์จากสถานที่อื่นมาช่วยในการสอนกรรมฐาน ขอความร่วมมือทั้งจากทางคณะสงฆ์ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม และหน่วยงานราชการในการช่วยกันสนับสนุนสำนักปฏิบัติธรรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 3) ด้านการบริหารจัดการ แต่ละสำนักควรที่จะมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่จะมาประยุกต์สู่การปฏิบัติและมีการอบรมแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อพัฒนาศักยภาพอยู่เสมอ ควรนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โปรเจ็คเตอร์ มาใช้ประกอบในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อให้ทันกับยุคสมัยและสถานการณ์ปัจจุบันรวมถึงต้องมีการวางแผนเพื่อพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวมีการวางกฎระเบียบและข้อบังคับที่เหมาะสมเพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม มีการประชาสัมพันธ์และติดต่อประสานงานกับชุมชนในการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมอย่างใกล้ชิด
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study were 1. to study promotion of monasteries as the meditation centers in Suphanburi Province 2. to compare the promotion process of monasteries as the meditation centers in Suphanburi Province and 3. to propose the Problems solving process in promotion of monasteries as meditation centers in Suphanburi ProvinceMethodology was the mixed methods: The quantitative research applying survey method collected data from 232 samples who were Buddhist monks at meditation centers using questionnaires with the confidence value at 0.896. The data were analyzed by descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation, F-test, one-way analysis of variance, ANOVA. The qualitative research collected data from 8 key informants with in-depth-interviewing and analyzed data by descriptive interpretation
Findings of the research were as follows:
1. Monks at meditation centers by overall, had opinions on the promotion of monasteries as meditation centers in Saraburi Province at high level with the mean value at 4.25. Each aspects were also at high levels, from high to low as; the places at high level with the mean value at 4.33, management was at high level with the mean value at 4.26 and resource persons at high level with the mean value at 4.15 accordingly
2. The comparison of the opinions of the monks on the promotion of monasteries as meditation centers in Saraburi Province , classified by personal data were that monks with different status, age, educational level, Pali educational level did not have different opinions on the promotion of monasteries as meditation centers in Saraburi Province, rejecting the set hypothesis. Monks with ordained age, levels of education, Dharma and Pali education, formal educational levels and had different opinions on the promotion of monasteries as meditation centers in Saraburi Province at statistical significant level of 0.05, accepting set hypothesis
3. Problems 1) The location of the Dharma practice office is not enough for the number of participants to practice meditation. There is not enough accommodation for the number of participants to practice dharma. And there is not enough place to walk to pay respect to the number of participants 2) In the field of lecturers, there is insufficient Vipassana Lack of the Master, the leader, examining the mood changes Some Dharma practitioners do not care as much as they should. And lack of support from both the clergy and government agencies 3) Management: Some religious offices do not comply with the rules announced and cannot be imposed. Some lacking modern teaching materials And easy to understand No coordination with the community.
Recommendations for the promotion of monasteries as meditation centers in Saraburi Province Suphanburi Province were that 1) Places; more places with appropriate facilities such as Jongklom walking paths, should promoted as Dhamma Practicing centers. Monasteries with appropriate facilities should be selected for accommodating more Buddhists who come to practice Dhamma, 2) Resource persons; More meditation instructors should be recruited and be well trained. Meditation instructors from other monasteries should be invited to help teaching. Masters, abbots and government agencies should support the centers for more efficiency, 3) Management; each Dhamma Practicing centers should have capable personnel to carry out the operstion. They also should be continuously trained for more competency. New technology should be applied to meet the change at present time. Development plans, short, medium and long plans should be implemented. Rules and regulations should be enforced strictly for more efficiency. Close public relations with communities and related agencies should be managed for the effective promotion of monasteries as the Dhamma Practicing centers.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 6.41 MiB | 212 | 3 มิ.ย. 2564 เวลา 04:07 น. | ดาวน์โหลด |