โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel of underground water banking Management for Sustainable Solutions of Drought and Flood in Ubonratchathani Province
  • ผู้วิจัยพลเอก ปกิตน์ สันตินิยม
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46400
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 112

บทคัดย่อภาษาไทย

       ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์การบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานีกับข้อมูลเชิงประจักษ์  2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพคู่ขนานและเท่าเทียมกัน ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 430 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และกลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประเด็นในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติแบบบรรยายและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

                  ผลการวิจัยพบว่า

          1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าไค-สแควร์  = 88.60; df = 80; p =.239; RMSEA =.016; GFI =.980; AGFI =.950 และทุกตัวแปรในโมเดลร่วมกันอธิบายตัวแปรผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินได้ร้อยละ 100

             2) ปัจจัยการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ (2) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล  และ (3) ปัจจัยด้านอิทธิบาท 4

            3) รูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานีที่นำเสนอปรากฏว่าหลักอิทธิบาท 4 เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยด้านภาวะผู้นำกับผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research article were 1) to study the consistent of groundwater bank management model for sustainable solutions of drought and flood in Ubonratchathani Province with empirical data; 2) to analyze factors affecting groundwater bank management model, and 3) to propose a model of groundwater bank management. Mixed methods research was designed by using parallel and equal quantitative and qualitative methods. Data were collected from 430 samples, 19 key informants, and 10 expert of target groups. The research instruments were questionnaires, interview forms and group discussion questions. Quantitative data were analyzed by using descriptive statistics and structural equation model analysis whereas qualitative data was analyzed by analytic induction.

            Results showed as follow:

            1) Model of groundwater bank management Model for sustainable solutions of drought and flood in Ubonratchathani Province fit with the empirical data which showed chi-squared = 88.60; df = 80; p =.239; RMSEA = .016; GFI =.980; AGFI =.950, all variables within the model can explain the achievement of groundwater bank management at 100 percent.  

            2) There were 3 factors affecting model of groundwater bank management which were (1) Leadership Factors, (2) Factors management according to the principles of good governance, and (3) the principle of Iddhipada IV.

      3) Model of groundwater bank management was proposed, and it found that Iddhipada IV was a mediator between both management factors in accordance with good governance and leadership factors with the achievement of groundwater bank management

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ