โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษIntegrated Buddhist Enhancement Wellness Tourism Policy for Sustainable Development in Khoayai National Park Nakhonratchasima Province
  • ผู้วิจัยนางศศิพัชร์ วัฒนรวีวงศ์
  • ที่ปรึกษา 1ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46401
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 242

บทคัดย่อภาษาไทย

         ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา 3. เพื่อนำเสนอโมเดลการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างความยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้ดำเนินตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.978 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง นักท่องเที่ยว และผู้สนใจด้านการรักษาสุขภาพที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 550 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติพรรณาที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 รูปหรือคน โดยแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 เพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นตัวแบบจำลองและประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฎิบัติ และการใช้ประโยชน์ โดยการสนทนากลุ่มเฉพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย ด้านนโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ, ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ด้านสุขภาวะองค์, ด้านไตรสิกขา และด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืน ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน( x bar= 3.75, S.D. = 0.86 )

              2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา ทุกตัวแปรมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาได้จากค่าสถิติ ไค-สแควร์ เท่ากับ 4.49,  DF เท่ากับ 2, P เท่ากับ .10612, GFI เท่ากับ .999, AGFI เท่ากับ .918, RMR เท่ากับ .00613, RMSEA เท่ากับ .048 ค่าตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมาได้ร้อยละ 98

              3. โมเดลการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างความยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ไตรสิกขา ประกอบด้วย 1) “ศีล” หลักฝึกอบรมความประพฤติทางกายและวาจา: พูดถูกต้อง ทำถูกต้อง ปฏิบัติศีล 5 ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่โกหก, ไม่ประพฤติผิดในกาม, ไม่ดื่มของมึนเมา 2) “สมาธิ” ฝึกอบรมจิตให้เกิดคุณธรรม  มีสติ, จิตเป็นหนึ่ง, พัฒนาอารมณ์, จิตใจผ่องใส มีสมาธิ 3) “ปัญญา” ฝึกอบรมปัญญาให้มีสติรู้เท่าทัน ให้เข้าใจ และรู้ตามความจริง ช่วยส่งเสริม 1) การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 2) ความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) ตระหนักรู้ในสิ่งแวดล้อม หลักไตรสิกขา ซึ่งเป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา จะทำให้เกิดความสมดุลของชีวิต เป็นมนุษย์สุขสมบูรณ์ นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยืน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study factors affecting wellness tourism for sustainable development in Khaoyai National Park, Nakhonratchasima Province. 2. To study the causal relationship model that affected sustainable wellness tourism in Khaoyai National Park, Nakhonratchasima Province. 3. To propose a model of sustainable wellness tourism policy enhancement in Khaoyai National Park Nakhonratchasima Province. Methodology was the mixed methods: The quantitative research, data were collected with questionnaires that had validity value equal to 0.978 from 550 samples who were tourists who came touring in Khaoyai National Park and analyzed with social research program. The descriptive statistics used were frequency, percentage, mean and standard deviation and hypothesis test with structural model analysis (SEM) and confirmatory factor analysis, (CFA). The qualitative research, data were collected from 19 key informants with structured in-depth-interview. Data were analyzed by descriptive interpretation. Data were also collected from 9 participants.

Findings were as follows:

1. Factors affecting sustainable wellness tourism in Khaoyai National Park Nakhonratchasima Province consisted of: state tourism policy, factors of wellness tourism, holistic well-being, Threefold training and sustainable wellness tourism development. Each of these aspects, by overall, were at high level. (  x bar = 3.75 S.D. = 0.86).

2. Causal relationship  model that affected the  sustainable wellness tourism  in Khaoyai National Park Nakhonratchasima Province was that all variables were consistent with empirical data from Qui-square value equal to 4.49, DF value equal to 2, P value equal to 0.10612, GFI equal  to 0.999 AGFI equal to 0.918, RMR equal to 0.00613 and RMSEA equal to 0.048. The values of all variables in the model can explain the deviation of factors that affected the sustainable wellness tourism in Khaoyai National Park, Nakhonratchasima Province by 98 percent.

3. A model for sustainable wellness tourism policy enhancement in Khaoyai National Park Nakhonratchasima Province was found that the Threefold training consisted of: 1) “Sila”; the principle for training body and speech behavioral quotient; right speech, right action, right livelihood and five precepts observation by no killing, no stealing, no lying, no sexual misconduct, no intoxicants. 2) “Samadhi”; mind training for virtual morality, mindfulness, mind concentration, emotional quotient development, pure mind and spirit and concentration. 3) “Panna”; wisdom develops to have mindful awareness understanding, knowing the truth that promotes: (1) happiness and well-being, sustainable (2) sustainable development and (3) environment awareness. Threefold training, the heart of Buddhism induces the life balance, perfect human beings the lead to the target of sustainable wellness tourism.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ