โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCausal Relationship Model of Buddhist Integration for HumanResource Development of Chonburi Provincial Police
  • ผู้วิจัยนางสาวบุญชิรา ภู่ชนะจิต
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. สุรินทร์ นิยมางกูร
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46432
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 147

บทคัดย่อภาษาไทย

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี 2. ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี 3. วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี และ 4. เพื่อนำเสนอโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.857 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 390 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล        

             ผลการวิจัยพบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 71 2)ด้านอายุ พบว่าอายุต่ำกว่า 30 ปี ร้อยละ 42.1 3) ด้านการศึกษา พบว่าจบการศึกษาระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 71 4) ด้านหลักสูตร พบว่า ผ่านการอบรมในหลักสูตรฝ่ายอำนวยการ ร้อยละ 59.2 5)ด้านหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่าอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรในโมเดลพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ขนาดความสัมพันธ์ (เมทริกซ์สหสัมพันธ์) เท่ากับ 0.99 แยกเป็นอิทธิพลทางตรง 1.09 และอิทธิพลทางอ้อม -0.28 เป็นอิทธิพลรวม 0.82 โดยตัวแปรทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ด้านวิธีการฝึก ด้านการนำไปปฏิบัติ และด้านการประเมินผล ส่งผลทางตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 6) ด้านวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรในโมเดลพบว่า วิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ขนาดความสัมพันธ์ (เมทริกซ์สหสัมพันธ์) เท่ากับ 0.78 แยกเป็นอิทธิพลทางตรง 0.60 และอิทธิพลทางอ้อม -0.30 เป็นอิทธิพลรวม 0.30 โดยโดยตัวแปรทั้ง 3 ด้านประกอบด้วย ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งผลทางตรงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  7) หลักฆราวาสธรรม 4  พบว่า อิทธิพลทางตรงของหลักฆราวาสธรรม 4 กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี  ขนาดความสัมพันธ์ (เมทริกซ์สหสัมพันธ์) เท่ากับ 0.55 มีขนาดอิทธิพลทางตรงส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีเท่ากับ 0.64 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หมายความว่า การปฏิบัติตามหลักหลักฆราวาสธรรม 4 ซึ่งประกอบด้วย ด้านสัจจะ ด้านทมะ ด้านขันติ และด้านจาคะ ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีได้ถึงร้อยละ 64

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        Objectives of this research were: 1. To study the human resource development of the Chonburi Provincial Police; 2. To study the factors related to the principles of human resource development of the Chonburi Provincial Police, 3. To analyze the causal relationship model of the human resource development of the Chonburi Provincial Police; and 4. To propose a causal relationship model of the integration of Buddhist principles for human resource development of the Chonburi Provincial Police. 

            Methodology was the mixed methods:  The quantity research, data were collected with questionnaires with the reliability value of 0.857, from 390 samples who were police officers under the Chonburi Provincial Police Headquarters and had been trained in various courses of National Police Office.  The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Structural Equation Model (SEM) analysis by using Confirmatory Factor Analysis (CFA).  The qualitative research, data were collected from 18 key informants by In-depth interviewing and analyzed by content  descriptive interpretation and data were also collected from 9 participants in focus  group discussion to confirm the model after data synthesis.

            Findings were as follows:

            1. The sample group was male, 71 percent. 2) Age was found that under 30 years old, 42.1 percent. 3) Education, 71 percent graduated with a bachelor's degree or equivalent. 4) Curriculum was found that 59.2 percent of the samples passed training in the administration course, 5) principles of human resource development was found that the direct and indirect influences between the variables in the model were found that  the relationship between principles of human resource development  and the development of human resources of the Chonburi Provincial Police with  relationship size of the correlation matrix was 0.99, separated into direct influence at 1.09 and indirect influence at -0.28, total influence was 0.82. The variables of 4 aspects consisted of objectives of development, method of training,  implementation  and the evaluation aspect directly affected the human resource development of the Chonburi Provincial Police with statistically significant level at 0.01 6) In terms of human resource development methods, it was found that the direct and indirect influences between the variables in the model was found that  human resource development method and the development of human resources of the Chonburi Provincial Police had relationship size (correlation matrix) equal to 0.78, divided into direct influence at 0.60 and indirect influence at -0.30, total influence was equal to 0.30. The variables of 3 aspects consisted of training, education, and human resource development directly affected the human resource development of the Chonburi Provincial Police with statistically significant value at 0.01. Gharavasa-dharma 4 had direct influence on human resource development of the Chonburi Provincial Police with relationship size (Correlation Matrix) at 0.55. The size of the direct influence affecting the human resource development of the Chonburi Provincial Police was at  0.64 with a statistically significant  level at .01, meaning that the practice of Gharavasa-dharma 4 consisted of Sacca, truth, Dama, training oneself, khandi, patience and Caga, generosity conducive to the development of human resources of the Chonburi Provincial Police up to 64 percent.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ