โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาสมรรถนะเชิงพุทธเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ของบุคลากรศาลปกครอง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Competency Development for Digital Technology Learning of Administrative Court Staff
  • ผู้วิจัยนายปิยะ ปะตังทา
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. สุรพล สุยะพรหม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร. เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา25/07/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4644
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 52
  • จำนวนผู้เข้าชม 176

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครอง  2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครอง  3. ศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะเชิงพุทธเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณโดยแจกแบบสอบถามกับบุคลากรศาลปกครองซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน สุ่มตัวอย่างแบบ   ชั้นภูมิจากประชากรจำนวน 2,140 คน ซึ่งเป็นบุคลากรส่วนกลางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.966 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x bar= 3.79, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านประกอบด้วย 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) มโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง 4) คุณสมบัติส่วนตัว 5) แรงจูงใจ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน


2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรพบว่า    1) องค์ประกอบสมรรถนะที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครอง มี 3 ด้าน ด้านมโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง ด้านคุณสมบัติส่วนตัว และด้านแรงจูงใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่าองค์ประกอบสมรรถนะสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครองได้ร้อยละ 32.8 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณสมบัติส่วนตัว สามารถทำนายได้ร้อยละ 43.3 รองลงมาคือ แรงจูงใจ สามารถทำนายได้ร้อยละ 14.4 และมโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง สามารถทำนายได้ร้อยละ 5.5 ตามลำดับ 2) หลักปัญญา 3 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครอง มี 3 ด้าน ด้านสุตมยปัญญา (การเรียนรู้) ด้านจินตามยปัญญา (การทบทวน) และด้านภาวนามยปัญญา (การปฏิบัติ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่าหลักปัญญา 3 สามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครองได้ร้อยละ 51.1  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ภาวนามยปัญญา (การปฏิบัติ) สามารถทำนายได้ร้อยละ 62.2 รองลงมาคือ สุตมยปัญญา (การเรียนรู้) สามารถทำนายได้ร้อยละ 6.6 และจินตามยปัญญา (การทบทวน) สามารถทำนายได้ร้อยละ 6.2 ตามลำดับ

     3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะเชิงพุทธเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครอง พบว่า มีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ องค์ประกอบสมรรถนะ ประกอบด้วย 1) ความรู้  2) ทักษะ 3) มโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง 4) คุณสมบัติส่วนตัว 5) แรงจูงใจ โดยบูรณาการหลักพุทธธรรม คือ หลักปัญญา 3 ได้แก่ 1) สุตมยปัญญา (การเรียนรู้) 2) จินตามยปัญญา (การทบทวน) 3) ภาวนามยปัญญา (การปฏิบัติ) นำสู่การพัฒนาสมรรถนะเชิงพุทธเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากรศาลปกครอง เพื่อนำองค์กรไปสู่เป้าหมายเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่ศาลปกครองมีความประสงค์ ได้แก่ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรศาลปกครอง เพื่อให้งานได้ผลคนเป็นสุข  

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objective of this dissertation were: 1. To study the general condition relations competency development for digital technology comprehension of the Administrative Court Personnel, 2. To study factors affecting competency development for digital technology comprehension of the Administrative Court Personnel, and 3. To propose a model of Buddhist competency development for digital technology comprehension of the Administrative Court Personnel.

Methodology was mixed methods. The quantitative method, data were collected from 338 samples, by stratified sampling, from 2,140 people who were the Administrative Court Personnel at central region in Bangkok Metropolis with 5 rating scale questionnaire that had reliability value at 0.966. Statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, SD., and stepwise multiple regression. The qualitative method, data were collected from 18 key informants by in-depth-interviewing and from 10 participants in focus group discussion and analyzed by content descriptive interpretation.


Findings were as follows:

1. The general condition relations competency development for digital technology comprehension of the Administrative Court Personnel, by overall, were at high level (x bar= 3.79, S.D.=0.62). Each aspect consisting of 1) knowledge, 2) skill, 3) self-conception, 4) personal qualification, 5) motif. All were found at high levels.

2. Factors affecting the competency for digital technology comprehension of the Administrative Court personnel was found that 1) component of competency for digital technology comprehension of the Administrative Court personnel consisted of 3 aspects: self-conception, personal qualification and motif were at statistically significant level at 0.01 indicating that components of competency together could predict the competency development for digital technology comprehension of the Administrative Court personnel at 32.8 percent. Each aspect was also found that personal qualification could predict the competency development at 43.3 percent, followed by motif could predict at 14.4 percent, self-conception could predict at 5.5 percent respectively. 2) threefold wisdom that affected the digital technology comprehension of the Administrative Court personnel consisted of 3 dimensions: Sutamayapanna (learning),Jintamayapanna (review) and Bhavanamayapanna (practice) were statistically significant level at 0.01 indicating that threefold wisdom together could predict the competency development for digital technology comprehension of the Administrative Court

3. A model of Buddhist competency development for digital technology comprehension of the Administrative Court personnel was found that there were two basic factors: Competency component consisted of 1) knowledge, 2) skills, 3) self-conception, 4) personal qualification, 5) motif, integrated with Bhuddha-dhamma, threefold Bhavana: 1) Sutamayapanna (learning), 2) Jintamayapanna, (review),3) Bhavanamayapanna(practice) induced Buddhist competency development for digital technology comprehension of the Administrative Court personnel to lead the organization to the ultimatum goal that the Administrative Court aimed for that were job performance competency of the Administrative Court personnel for the work effectiveness, personnel happiness consisted of goal achievement.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104213 6301104213 15.4 MiB 52 10 ก.ย. 2565 เวลา 18:02 น. ดาวน์โหลด