โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสำนักงาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษApplication of Buddha Dhamma for Increasing the efficiency Management of Office of insurance commission
  • ผู้วิจัยนางสาวพัชราภรณ์ สันติเสวี
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา31/08/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4645
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 67
  • จำนวนผู้เข้าชม 115

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 264 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.905 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

               ผลการวิจัยพบว่า

              1. ประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยภาพรวม เฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x bar= 4.01, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านคุณภาพของงาน บุคลากรมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน สำนักงานฯ มีศักยภาพในการกำกับธุรกิจประกันภัยให้มีความมั่นคง ด้านปริมาณงาน มีตัวแทนและนายหน้าประกันภัยที่มีคุณภาพ ประชาชนให้ความไว้วางใจและตัดสินใจซื้อประกันภัยเพิ่มมากขึ้น ด้านเวลา สามารถดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายในระยะเวลาที่กำหนด ใช้เวลาในการดำเนินงานแต่ละกระบวนการสั้นลง และด้านค่าใช้จ่าย มีการใช้งบประมาณในการดำเนินงานอย่างคุ้มค่า และมีการบริหารจัดการการใช้จ่ายงบประมาณที่ดีทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง

              2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหาร ได้แก่ สภาพทั่วไปของการบริหารส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหาร สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย  ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 สามารถร่วมกันทำนายความผันแปรได้ร้อยละ 66.2 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 ปัจจัยการบริหารตามหลัก POCCC ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 สามารถร่วมกันทำนายความผันแปรได้ร้อยละ 80.5 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2 ปัจจัยการบริหารตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันทำงานความผันแปรได้ร้อยละ 89.4 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 3

              3.รูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยองค์รวมของหลักสัปปุริสธรรม 7 สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้ในทุกด้าน และใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) คุณภาพของงาน (Quality) ประกอบด้วย งานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น มีมาตรฐานเดียวกัน ผลงานเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ทุกฝ่ายพึงพอใจในคุณภาพของงาน งานเสร็จทันตามกรอบเวลา บุคลากรมีประสิทธิภาพในการทำงาน สำนักงาน คปภ. มีศักยภาพในการกำกับธุรกิจภายใต้ระเบียบและนโยบาย สามารถตอบสนองภาคธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว 2) ปริมาณงาน (Quantity) ประกอบด้วย ปริมาณของงานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีผลประกอบการเพิ่มมากขึ้น การให้บริการมีความรวดเร็วฉับไว ประชาชนสนใจทำประกันภัยมากขึ้น ปัญหาข้อร้องเรียนต่างๆ มีจำนวนลดลง มีการพัฒนาคน พัฒนาการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ มีผลงานที่เพิ่มมากขึ้น ประชาชนให้ความไว้วางใจเพิ่มมากขึ้น 3) เวลา (Time) ประกอบด้วย บุคลากรสามารถจัดการงานได้ทันเวลา สามารถลดกระบวนการของงานให้สั้นลงได้ ประชาชนได้รับบริการรวดเร็วขึ้น มีกรอบระยะเวลาของงานที่ชัดเจน  สามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติเกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย 4) ค่าใช้จ่าย (Costs) มีการใช้จ่ายที่คุ้มค่าเป็นประโยชน์ ใช้ทรัพยากรในองค์กรลดลง มีการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้นทุนในการประกอบการลดลง และมีการใช้งบประมาณอย่างโปรงใส  ตรวจสอบได้ มีการบริหารจัดการให้องค์กรสามารถอยู่ได้ในภาวะวิกฤต

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study general context of management efficiency of the office of insurance commission, 2. To study factors affecting the management efficiency of the office of insurance commission and 3. To propose the model for applying Buddhist principles for increasing the management efficiency of the office of insurance commission. Methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected from 264 samples by Stratified random sampling from personnel of the office of insurance commission in Bangkok by 5 rating scale questionnaires that had the reliability value at 0.905. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regressions. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and 9 participants in focus group discussion and analyzed by content descriptive interpretation.

               Findings were as follows:

               1. The management efficiency of the office of Insurance Commission in overall, was at high level (x bar= 4.01, S.D. = 0.55). Each aspect was found that it was at a high level. The quality of work aspect, personnel had the potential to work and the office had the power to supervise the insurance business to be stable. The quantity aspect, there are quality insurance agents and brokers, the people trust and decide to buy more insurance, The timing aspect, the office can achieve the goals in a specified period of time and It takes less time to complete each process. The cost aspect, office used the budget to operate efficiently and has good budget management to reduce expenses.

               2. The factors of general context of administration affected the management efficiency of the office of insurance commission at the level of 0.01 and could together explain the variations up to 66.2%, accepted the 1st hypothesis. Management factors according to POCCC affected the management efficiency of the Office of Insurance Commission in all aspects at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 80.5%, accepted the 2nd hypothesis. Management factors according to Sappurisdhamma 7 affected the management efficiency of the Office of Insurance Commission in all aspects at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 89.4%, accepted the 3rd hypothesis.

3. Model of application of Buddhist principles for increasing the management efficiency of office of insurance commission in general, Sappurisdhamma 7 can be applied to increase efficiency in all aspects and can be used in every era. The details are as follows: 1) Quality aspect consisted of better-quality work with the same standard for the highest benefits for people, all sectors were satisfied with the quality of work that was completed in time, personnel were efficient in their work and the office of insurance commission had potentials to direct the business under the regulations and policies. 2) Quantity aspect consisted of the amount of work increased with more profits and the fast service, the people were more interested in insurance with decreased complaints, personnel were developed as well, there was developing of technology using to alleviate the burden of work, making more output and people's trust had increased. 3) Time aspect consisted of the personnel managed proper work in timely manner, people received faster service, there was a clear time frame for work to achieve goals in the shorter time which that was mutually beneficial to all sectors. 4) Costs aspect consisted of cost-effective spending with reduced resources using in the organization by applying the sufficiency economy philosophy with lower costs, the budget was used transparently and verifiable with lease operating costs and there was managing the organization to be able to survive in crisis.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104216 6301104216 4.39 MiB 67 16 ก.ย. 2565 เวลา 05:46 น. ดาวน์โหลด