โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทย สภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThai Laborer’s Life Quality Promotion According to Buddhadhamma Governance of the Employer’s Confederation for SME of Thailand
  • ผู้วิจัยนางรัตนา ตฤษณารังสี
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. สุรพล สุยะพรหม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร. เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา25/07/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4646
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 41
  • จำนวนผู้เข้าชม 215

บทคัดย่อภาษาไทย

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย 3. เพื่อนำเสนอการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากแรงงาน SME ไทย ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.953  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานไทย สภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x bar= 4.09, S.D. = 0.59) การบริหารจัดการตามกระบวนการ PDCA โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x bar= 4.05, S.D. = 0.65) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานตามหลักภาวนา 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x bar= 4.07, S.D. = 0.63)

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย ได้แก่ การบริหารจัดการตามกระบวนการ PDCA ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบและการปรับปรุงแก้ไข ส่งผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และร่วมกันอธิบายความแปรผันได้ร้อยละ 75.5 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 1 การส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา ส่งผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และร่วมกันอธิบายความแปรผันได้ร้อยละ 83.3 จึงยอมรับสมมติฐานที่ 2

3. การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย ได้แก่ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงานตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย 3.1) การส่งเสริมด้านกาย ส่งเสริมสุขภาพกายตามหลักสุขอนามัย ส่งเสริมให้ออกกำลังกายมีวินัยในตนเอง ฝึกให้ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมตั้งใจทำงาน จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ ดูแลควบคุมอาหารให้ถูกสุขอนามัย 3.2) การส่งเสริมด้านศีล ปลูกฝังแรงงานให้รักษาระเบียบวินัยวัฒนธรรมองค์กร ส่งเสริมให้แรงงานรักษาศีลมีความรับผิดชอบ ปลูกฝังแรงงานให้มีความรับผิดชอบซื่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมจริยธรรม ส่งเสริมแรงงานให้มีความรับผิดชอบในการทำงาน 3.3) การส่งเสริมด้านจิต ฝึกอบรมจิตใจให้มีความมั่นคงเข้มแข็งอดทน จัดให้มีการฝึกอบรมสมาธิเอาใจใส่การทำงาน ปรับสภาพจิตใจแรงงานให้มีอัธยาศัยร่าเริงยิ้มแย้มแจ่มใส ฝึกอบรมให้แรงงานยึดมั่นในคุณงามความดี ส่งเสริมให้แรงงานได้ฝึกสติและสมาธิในการทำงาน 3.4) การส่งเสริมด้านปัญญา ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์พัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถแรงงานอยู่เสมอ ส่งเสริมแรงงานให้ได้เรียนรู้วิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งเสริมให้แรงงานใช้หลักของเหตุผลในการทำงาน ส่งเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the general context of Thai laborer’s life quality promotion of governance of The Employer’s Confederation for SME of Thailand, 2. To study factors affecting the Thai laborer’s life quality promotion of governance of The Employer’s Confederation for SME of Thailand and 3. To propose the Thai laborer’s life quality promotion according to Buddhadhamma governance of The Employer’s Confederation for SME of Thailand. Methodology was the mixed methods. The quantitative research, data were collected from 400 samples by Stratified random sampling from SME Thai laborers in Bangkok by 5 rating scale questionnaires with the reliability value at 0.953, analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, SD. and multiple regression. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and 9 participants in focus group discussion and analyzed by content descriptive interpretation.

 

               Findings were as follows:

               1. The general context of Thai laborer’s life quality promotion according to Buddhadhamma governance of the Employer’s Confederation for SME of Thailand, by overall, was at high level (x bar= 4.09, S.D. = 0.59. The management according to PDCA by overall was at high level (x bar= 4.05, S.D. = 0.65) and the life quality promotion according to Bhāvanā 4 by overall was at high level (x bar= 4.07, S.D. = 0.63)

 

               2. The factors affecting the Thai laborer’s life quality promotion of The Employer’s Confederation for SME of Thailand were the management according to PDCA : Planning, Doing, Checking and Acting that affected the Thai laborer’s life quality promotion in all aspects at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 75.5%, accepted the first hypothesis. The life quality promotion according to Bhāvanā 4 consisting of Kāya-bhāvanā, Sīla- bhāvanā, Citta- bhāvanā and Paññā- bhāvanā affected the Thai laborer’s life quality promotion at the statistically significant level of 0.01 and could together explain the variations up to 83.3%, accepted the second hypothesis.

3. The Thai laborer’s life quality promotion according to Buddhadhamma governance of The Employer’s Confederation for SME of Thailand was the life quality promotion according to Bhāvanā 4 consisting of 3.1) Kāya-bhāvanā was the physical health promotion according to sanitation principles, the exercise and self-discipline encouragement, training to behave in morality and to work intentionally, organizing training to educate about health care and hygienic food control,  3.2)  Sīla-bhāvanā was to motivate the workers to act in accordance with discipline, organizational culture, precepts, responsibility, honesty, moral and ethical principles and responsibility for their work, 3.3)  Citta-bhāvanā was training the mind to be stable, strong, and patient, concentrative  and at tentative  to work, adjusting the workers’ mental condition to be cheerful and smiling, adhering to good principle by practicing mindfulness and concentration for work and 3.4) Paññā bhāvanā was to promote analytical thinking and problem solving skills with knowledge and abilities to learn new academics, technologies and the knowledge of correct health care.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104221 6301104221 10.52 MiB 41 10 ก.ย. 2565 เวลา 18:55 น. ดาวน์โหลด