โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Elderly’s Quality of Life Development of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูปลัดสิทธิชัย วิสุทฺโธ (หว่านผล)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมาน งามสนิท
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา11/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46464
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 137

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 2. เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.952 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 390 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  x bar = 3.74, S.D. = 0.614) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยผู้สูงอายุ ด้านส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ ด้านการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ด้านการบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุและด้านการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมร้อยละ 11 2) สวัสดิการผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านการจัดการสวัสดิการที่ทันสมัย ด้านผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากองค์กร ด้านผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ ด้านสถานที่รองรับผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมร้อยละ 83 และ 3) หลักไตรสิกขา 3 ประกอบด้วย สีลสิกขา (พฤติกรรม) จิตตสิกขา (จิตใจ) ปัญญาสิกขา (ปัญญา) ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมร้อยละ 40

           3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยผู้สูงอายุ 2)ด้านส่งเสริมการพัฒนาผู้สูงอายุ 3) ด้านการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ 4) ด้านการบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ 5) ด้านการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ มีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ การพัฒนา และสวัสดิการของผู้สูงอายุ นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักพุทธธรรมคือหลักไตรสิกขา 3 เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ถูกต้องตามหลักการและหลักธรรม ดังนี้ 1) สีลสิกขา ประกอบด้วย จัดกิจกรรมด้านศาสนา โดยนิมนต์พระมาสอนธรรมะและสนทนาธรรมจากนักบวช จัดปฏิบัติธรรมรักษาศีลที่วัด ทุกวันพระ สวดมนต์ ทำบุญตักบาตรและการปฏิบัติธรรมร่วมกัน ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ร่วมกัน 2) จิตตสิกขา ประกอบด้วย มีการมีการเปิดห้องสวดมนต์หรือห้องทำสมาธิระหว่างรอแพทย์ตรวจ ส่งเสริมฝึกการเย็บปักถักร้อย การทำขนมไทยและมีโครงการฝึกปฏิบัติธรรมให้แก่ผู้สูงอายุทุกวันพระ 3) ปัญญาสิกขา ประกอบด้วย มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกาย จิตใจ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยากรมาจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพกายและจิตใจและมีการฝึกอบรมพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study elderly’s quality of life development of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province 2. To study the causal relationship of elderly’s quality of life development of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province and 3. To propose the Buddhist integration for elderly’s quality of life development of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province.

Methodology was the mixed methods: The quantitative method, data were collected from 390 samples who were elderly persons living at the sub-district municipality, sub-district local administrative organizations where the elderly schools were located with questionnaires that had reliability value at 0.952. Data were analyzed by frequencies, percentages, means, standard deviation, SD. And Structured Equation Model (SEM) and Confirmatory Factor Analysis (CFA). The qualitative research, data were collected from 17 key informants with structured in-depth-interview script by face to face in-depth-interviewing and from 9 participants in focus group discussion. Data from both steps were analyzed by content descriptive interpretation to confirm the model after data analysis.

Findings of this research were as follows:

1. The elderly’s quality of life development of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province, by overall, was at high level, (  x bar = 3.374, S.D. = 0.614), considering each aspect of the research, it consisted of readiness preparation of elderly, elderly development, social protection for elders. management for elderly development, development and dissemination of knowledge to elderly persons were found at high level in every aspect

2. Causal relationship of elderly’s quality of life development of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province were found that 1) The elderly’s quality of life development consisted of physical, mental social and environmental development affected the elderly’s quality of life development at 11 percent. 2) Welfares for the elderly consisted of modern welfares management, elderly care from organizations, elderly’s satisfaction and accommodation for elderly affected the elderly’s quality of life development at 83 percent, 3) Tisikkha 3 principle consisted of Silasikkha, behavioral training, Samadhisikkha, mental training, Pannasikkha, wisdom training affected the elderly’ quality of life development, by overall, at 40 percent

         3. Buddhist integration model for the elderly’s quality of life development of Local Administrative Organizations in Chanthaburi Province was found consisted of 5 dimensions that were 1) citizen preparation for being old age persons, 2) older persons development promotion, 3) social protection for older persons, 4) management for elderly’s welfares development, 5) development and dissemination of knowledge to elderly with 2 factors, development and welfares for the elderly. Also, there was integration of Buddhist principles that was Tisikkha to develop the elderly’s quality of life in line with principles and Dhamma principle that were Silasikkha by organizing Buddhist activities by inviting monks to give sermons and Dhamma discourse with ordained persons, Dhamma practice, precept observing at monasteries every Buddhist Sabbath day and chanting, alms offering and Dhamma practice in the group. On special occasions. 2) Cittasikkha, opening rooms for chanting and meditating while waiting for doctors to perform physical check-up, promoting arts of sewing and needle work, Thai cake preparation and Dhamma practice for elderly person every Buddhist Sabbath day, 3) Pannasikkha, organizing activities to promote physical and mental health for physical and mental changes with local wisdom. Local wise persons and resource persons were invited to share knowledge and experiences about self-care

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ