โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของ คณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement Development of the Tambon Training Units of Wangnoi District, Phra Nakhon Sri Ayutthaya Province
  • ผู้วิจัยพระครูสังฆรักษ์สมบัติ ธมฺมทินฺโน (สมดี)
  • ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ดร.ประเสริฐ ธิลาว
  • วันสำเร็จการศึกษา07/03/2562
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/465
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 202
  • จำนวนผู้เข้าชม 617

บทคัดย่อภาษาไทย


            การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

            ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ในพื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรจำนวน 195 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.970 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ 
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าเอฟและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด การวิจัยเชิงคุณภาพกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก  10 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง เครื่องมือเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ
             ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้ง ๘ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3.96 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 มากที่สุด รองลงมาด้านส่งเสริมอาชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 รองลงมาด้านสันติสุข มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 รองลงมาด้านวัฒนธรรมศีลธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 รองลงมาด้านสาธารณสงเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 รองลงมาด้านศึกษาสงเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 รองลงมาด้านความสามัคคี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ    3.91 และน้อยที่สุดด้านสุขภาพอนามัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกสถานภาพส่วนบุคคล คือ อายุ, อายุพรรษา, วุฒิการศึกษานักธรรม, วุฒิการศึกษาบาลี, และวุฒิการศึกษาสามัญ พบว่า ไม่แตกต่างกันทุกตัวแปร ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรค ต่อการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ของคณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านความสามัคคี ในการจัดกิจกรรมในชุมชนขาดความร่วมมือกันเท่าที่ควร ด้านสุขภาพอนามัย ไม่มีหน่วยบริการของ รพ.สต.ออกให้บริการตามบ้าน ด้านวัฒนธรรมศีลธรรม ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านศีลธรรม ด้านการส่งเสริมอาชีพ ไม่มีการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างจริงจัง ด้านสันติสุข ยังมีการทะเลาะกันภายในชุมชนเอาความคิดตนเองเป็นใหญ่ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ เด็กและเยาวชนบางส่วนขาดทุนทรัพย์ในการเล่าเรียน ด้านสาธารณสงเคราะห์ ขาดการการสนับสนุนช่วยเหลือกันเท่าที่ควร ด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรม ขาดการเคารพจากลูกหลาน พ่อแม่ไม่มีเวลาให้การอบรมสั่งสอน ดังนั้นข้อเสนอแนะควรมีการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด การบริการสาธารณะให้กับประชาชนโดยทั่วไป และต้องเป็นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้กับประชาชนโดยทั่วไปถึงความรุนแรงว่ามันไม่ดีอย่างไรและผลกระทบข้างเคียงจะเป็นเช่นไร ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิดและประเพณีต่าง ๆ ให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมประชาชน เยาวชน ได้เข้าวัดและเห็นเรียบร้อย ความสะอาด เป็นที่น่าประทับใจ ในการเข้าวัดฟังเทศน์ ฟังธรรมโดยอาจจะจัดอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้รับรู้หลักธรรมคำสอน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


Objectives of this research were to: 1. study the development  management of Tambon the public training units of Sangha Order of Wang Noi Subdistrict, Phra Nakhon Si Ayutthaya, 2. compare towards development   administration pf Tambon  training units of the district Sangha Order, Wang Noi District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province classified by population data and 3. study problems, obstacles and suggestions Regarding the development management of the public training units of the district Sangha Order of Wang Noi District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. 

Methodology was the mixed methods: The quantitative research collected data from 195 samples who were monks at Wang Noi District. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, number 195 by using questionnaires with a confidence value equal to 0.970. Data analysis with frequency, percentage, mean, standard deviation One-way analysis of variance, ANOVA and test the difference of average values ​​by pairs by means of the least significant difference, LSD. The qualitative research collected data from 10 informants, purposefully selected from experts and related persons with structured in-depth interview script by face- to- face in-depth-interviewing.  Data were analyzed using descriptive interpretation method


Findings were as follows:

1. Development management of the sub-district public training units of the Sangha Order at  Wang Noi District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, in all 8 aspects, by overall was at a high level with the mean value at  3.96.Each of 8  aspects of development was also at high level as; Gratitude and gratefulness were at hihest level with an average of 4.01,followed by career promotion with an average of 4.00, followed by peace with an average of 3.99, followed by moral culture with an average of 3.98, followed by public welfare with an average of 3.96, followed by welfare education with an average of 3.92, followed by harmony with an average of 3.91 and the lowest in health and well-being  with an average of 3.91, respectively
2. The results of the comparison of monks’ opinions towards the development management of the public training units of the monks of Wang Noi District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province classified by personal status such as age, ordained age,Dharma education, Pali education, and general education. It was  found that monks with these different statuses did not have different opinions therefore rejecting the set research hypothesis.
3. 3. Problems and obstacles of the development management of public training units of the monks at Wang Noi District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province were that unity in organizing activities in the community, lack of cooperation as it should be. Health and well-being, There is no service unit of hospital to provides home services. Moral culture, people still lack knowledge and understanding the morality. Career promotion, There is no serious promotion from the government and related agencies. Peace, there is still  dispute and conflicts  within the community. Educational welfares,  Some children and young people do not have money for  tuition. Public welfares, lack of sufficient support as much as they should. Gratitude and gratefulness,  lack of respect from children because  parents do not  have time to teach tjeir children. 
Recommendations are that people should live together in peace and harmony, accepting various differences in ideas,  public service to the general public must be continued, Public should be educated to comprehend that violence  bears bad effects. People should accept individual differences in opinions, culture, initiate monasteries as public centers for learning and common activities. Monasteries must be made into the pleasant, peaceful places to that young children and people will see the good examples. Dhamma teaching and learning should conducted regularly at lease once a week so that children and people will have opportunity to be near and absorb the Buddha’s teaching.  

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.21 MiB 202 3 มิ.ย. 2564 เวลา 04:50 น. ดาวน์โหลด