-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of State Procurement and Materials Management Personnel at Departments under the Ministry of Finance with Buddha dhamma Application
- ผู้วิจัยนางสาวณัฐกานต์ บุญแนบ
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สมาน งามสนิท
- วันสำเร็จการศึกษา13/09/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46523
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 117
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงการคลัง 3. เพื่อนำเสนอการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ดำเนินการระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร 180 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป หรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 คน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีการจัดอบรมให้ความรู้ในการบันทึกข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอราคา ส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การซื้อพัสดุด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ในการที่จะซื้อวัสดุที่มีคุณภาพ และราคาที่เหมาะสม ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน และการวางแผนวิธีการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้า และนำไปสู่ความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานได้สำเร็จ
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง พบการศึกษาดังนี้ 1) ด้านหลักอิทธิบาท 4 (คุณธรรมแห่งความสำเร็จ) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านวิริยะ (เพียรพยายาม) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 รองลงมา ด้านฉันทะ (พอใจ เต็มใจ) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ถัดมา ด้านจิตตะ (เอาใจใส่) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 และด้านวิมังสา (ละเอียดรอบคอบ) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ตามลำดับ 2) ด้านสมรรถนะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ระดับมากที่สุด ได้แก่ การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 รองลงมา การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ถัดมา การบริการที่ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 ตามลำดับ 3) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ระดับมาก ได้แก่ การอบรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.16 และการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13 ตามลำดับ
3. การใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง คือ ผู้บริหาร และบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ต้องได้รับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในด้านการอบรม การศึกษา และการพัฒนาในด้านหลักอิทธิบาท 4 (คุณธรรมแห่งความสำเร็จ) ด้านฉันทะ (เต็มใจทำ) วิริยะ (เพียรพยายาม) จิตตะ (เอาใจใส่) และวิมังสา (ละเอียดรอบคอบ) และนำมาปรับใช้กับหลักสมรรถนะ ประกอบด้วย การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรม และจริยธรรม และการทำงานเป็นทีม ในการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ก็จะประสบความสำเร็จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study development condition of state procurement and materials management personnel at the departments under the Ministry of Finance, 2. To study the factors affecting the development of state procurement and materials management personnel at the departments under the Ministry of Finance and 3. To propose a model of applying Fourfold Itthipada to develop the state procurement and materials management personnel at the departments under the Ministry of Finance.
Methodology was the mixed methods: The quantitative method, data were collected with questionnaires from the populations of 180 people Data were analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation. S.D. Correlation Coefficient and Multiple Regression. The qualitative research, data were collected from 18 key informants and 9 participants in focus group discussion to confirm the model after data analysis.
Findings were as follows:
1. Development condition of state procurement and materials management personnel at the departments under the Ministry of Finance consisted of training in electronic data recording, annual procurement plan, bidders qualification scrutiny, promotion of private sector participation in procurement process, purchasing materials by electronic method, purchasing quality materials with appropriate prices matching the needs of organizations, planning the procurement procedure in advance to create the confidence in procurement process of all parties concerned successfully
2. Factors affecting the development of state procurement and materials management personnel at the departments under the Ministry of Finance were found that 1) Itthipada, 4 elements of accomplishment, by overall was at high level with the mean value at 4.32. Each aspect was found at high level in all aspects. They were Viriya, effort, had the mean value at 4.34, secondly, Chanta, aspiration, with the mean value at 4.32, Citta, attention had the mean value at 4.31 and Vimamsa, through rough examination, had the mean value at 4.29. 2) competency aspect, by overall, was at high level with the mean value at 4.37. Each aspect was also at high level. The aspect that had highest mean value was professional expertise accumulation had mean value at 4.93. Secondly, adhering to the righteousness, just and ethics had mean value at 4.45. Next, good administration had the mean value at 4.22. The aspect that had the highest mean value was teamwork that had the mean value at 4.14 and aiming for achievement had mean value at 4.13, accordingly. 3) human resource development aspect, by overall, was at middle level with the mean value at 3.26. Each aspect was at high level as: training was at 3.50, development was at middle level at 3.16 and education had the mean value equal to 3.13 accordingly.
3. Buddha dhamma application to develop the state procurement and materials management personnel at the departments under the Ministry of Finance was found that: 1) the state procurement and materials management administrators and personnel must receive the human resource development by training, education and development of Itthipada, 4 principles of achievement consisting of Chanda, will, aspiration, Viriya, effort, Citta, attention and Vimamsa, thorough examination to be integrated with competency principle consisting of achievement oriented, good service, professional expertise accumulation, adhering to righteousness, just, ethics and teamwork. By this Buddha dhamma integration, the state procurement would be successful.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|