โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Communication Innovation for Proactive Public Relations of the Royal Thai Police
  • ผู้วิจัยนางปนัดดา รักษาแก้ว
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา06/09/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46549
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 628

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ     2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ   3. เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 231 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 คน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล    

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x bar =3.53, S.D.=0.672) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้แก่ มีฐานข้อมูลเทคโนโลยีที่ทันสมัยภายใต้จริยธรรม ( x bar =3.58, S.D.=0.722) รองลงมาคือ การตลาดสมัยใหม่ที่สะท้อนความเป็นจริง ( x bar =3.53, S.D.=0.712) ยึดหลักสากลและสร้างความแตกต่าง ( x bar =3.53, S.D.=0.691) และการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสังคม ( x bar =3.49, S.D.=0.709) ตามลำดับ

             2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบผลการศึกษาดังนี้ (1) พุทธนวัตกรรมการสื่อสารส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 3 ด้านได้แก่ การรับรู้ เข้าใจและเห็นคุณประโยชน์เกี่ยวกับการสื่อสาร (สัมปหังสนา) ความแกล้วกล้า กำลังใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (สมุตเตชนา) และการบริหารจัดการข้อมูลอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง (สันทัสสนา) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 65.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) การบริหารงานประชาสัมพันธ์ส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 5 ด้านได้แก่ ระบบการประชาสัมพันธ์ ค่านิยมร่วม โครงสร้างองค์กร ทักษะ และเจ้าหน้าที่ โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 82.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

             3. รูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติคือ มี “การบริหารงานประชาสัมพันธ์” ทำหน้าที่เป็นฐานโดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ระบบการประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ ภาวะผู้นำ ทักษะ และค่านิยมร่วม ซึ่งต้องอาศัย “พุทธนวัตกรรมการสื่อสาร” โดยมีองค์ประกอบคือ สันทัสสนา สมาทปนา สมุตเตชนา และสัมปหังสนา ซึ่งถือเป็นศิลปะของการสื่อสารที่จะเกื้อหนุนให้ “การประชาสัมพันธ์เชิงรุก” ทั้ง 4 ด้านคือ ด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสังคม ด้านการตลาดสมัยใหม่ที่สะท้อนความเป็นจริง ด้านยึดหลักสากลและสร้างความแตกต่าง ด้านมีฐานข้อมูลเทคโนโลยีที่ทันสมัยภายใต้จริยธรรม เกิดประสิทธิภาพซึ่งถือเป็นส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริหารงานประชาสัมพันธ์และพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร อันถือเป็นเป้าหมายที่จะทำให้องค์กรทำงานด้านการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ทันกับยุคสมัยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. to study the general condition of the Royal Thai Police's proactive public relations; 2. to study the factors affecting communication for the Royal Thai Police's proactive public relations; 3. to present the Buddhist innovation model. Proactive Public Relations Communications of the Royal Thai Police The research methodology was an integrated research method. The operation was divided into 2 Step. Step 1 was a quantitative research by collecting data from a sample of 231 people using descriptive data analysis. Using frequency, percentage, mean, standard deviation correlation analysis and multiple regression analysis by statistical package program. Step 2 was a qualitative research which was a field study by in-depth interview method. From 17 key informants and focus group discussions of 9 people to confirm the pattern after data synthesis.    

             Findings were as follow:   

             1. The overall proactive public relations communication was at a high level    (x bar =3.53, S.D.=0.672). When considering each aspect, it was found that it was at a high level in all aspects. Sorted by mean are: There was a modern technology database under ethics (x bar = 3.58, S.D.=0.722), followed by modern marketing that reflects reality (x bar = 3.53, S.D.=0.712), adheres to international principles and makes a difference (x bar = 3.53, S.D.=0.691), and the use of Creativity for society (x bar = 3.49, S.D.=0.709) respectively

             2. Factors Affecting Communications for Proactive Public Relations of the Royal Thai Police The results of the study were as follows: (1) Buddhist communication innovations affected the proactive public relations of the Royal Thai Police in 3 areas: perception, understanding and appreciation of benefits related to communication (sampahangsana), courage, The morale in building a cooperation network (Samut Techana) and managing information clearly and clearly (Santassana) by prediction the percentage 65.8, were statistically significant at the 0.01 level. Proactive public relations of the Royal Thai Police in 5 areas: public relations system, shared values, organizational structure, skills, and officers by prediction the percentage 82.1 with statistical significance at 0.01 level.   

             3. The Buddhist model of communication innovation for proactive public relations of the Royal Thai Police was that there was a “Public Relations Management” acting as a base with important elements: organizational structure public relations strategy Public relations system, staff, leadership, skills and shared values. dependent "Buddhist Communication Innovation" Its composition was Santhassana, Samatpana, Samuttechana and Sampahangsana. Which was considered the art of communication to support "Proactive public relations" in all 4 areas, namely the use of creativity for society. Modern marketing that reflects reality to adhere to international principles and make a difference the side had a modern technology database under ethics. efficiency, which was part of the results of public relations management and Buddhist communication innovations This was the goal to make the organization work in proactive public relations to keep up with the times and reach the target audience effectively.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ