-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธาน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPublic Participation In Buddhism-Based Tourism Management Mueang Uthai Thani District, Uthai Thani Province
- ผู้วิจัยพระมหายอดนภา วิสิฏฺฐชโย (บัตรวิเศษ)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุกัญญาณัฐ อบสิน
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อัครเดช พรหมกัลป
- วันสำเร็จการศึกษา11/09/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4658
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 17
- จำนวนผู้เข้าชม 24
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธตามหลักอปริหานิยธรรมของวัด 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธตามหลักอปริหานิยธรรมของวัดกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี และ 4) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจที่มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุทัยธานี ตำบลน้ำซึม และตำบลสะแกกรัง รวมจำนวนทั้งหมด 11,219 คน โดยผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณโดยใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcei & Morgan ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 372 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson ’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธตามหลักอปริหานิยธรรมของวัดในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (x̅= 3.35, S.D. = 0.50) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านเคารพและปกป้องรักษาปูชนียสถานที่สำคัญของชุมชน (x̅= 3.50, S.D. = 1.61) ด้านเคารพต่อสิทธิสตรี (x̅= 3.46, S.D. = 0.57) ด้านปกป้อง คุ้มครอง บำรุง บรรพชิต ผู้ทรงศีล ผู้อยู่อาศัยและแขกที่เข้ามาในท้องถิ่น (x̅= 3.42, S.D. = 0.60) ด้านมีความเคารพนับถือต่อผู้นำและเคารพนับถือผู้อาวุโสและปราชญ์ท้องถิ่น (x̅= 3.36, S.D. = 0.57) ด้านการไม่บัญญัติ หรือไม่ล้มเลิกระเบียบกฎเกณฑ์ตามอำเภอใจ (x̅= 3.34, S.D. = 0.54) ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม (x̅= 3.22, S.D. = 0.49) และด้านหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ (x̅= 3.22, S.D. = 0.51) ตามลำดับ
2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย (x̅= 2.34, S.D. = 1.11) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (x̅ = 2.60, S.D. = 1.11) รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (x̅ = 2.35, S.D. = 1.13) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (x̅ = 2.20, S.D. = 1.31) และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (x̅ = 2.10, S.D. = 1.23) ตามลำดับ
3. การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธตามหลักอปริหานิยธรรมของวัดกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (r = 0.907) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี พบว่า บุคลากรที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่อง เที่ยวเชิงพุทธพระสงฆ์ผู้เป็นผู้นำ ผู้นำชุมชน กลุ่มคนทุกช่วงวัยในชุมชน และเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ซึ่งแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ 1) สร้างทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนด้วย การอนุเคราะห์ต่อชุมชน (มวลชนสัมพันธ์) สร้างความเข้าใจกับชุมชนเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธทุกด้าน และพระต้องเป็นผู้นำการพัฒนาและทำให้วัดเป็นศูนย์รวมใจของชุมชน 2) สร้างสรรค์กิจกรรม โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงพุทธอย่างต่อเนื่อง จริงจัง เป็นรูปธรรม จนกลายเป็นวัฒนธรรมชุมชน เป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่น และสร้างกิจกรรมเพื่อดึงคนทุกช่วงวัยได้เข้ามีส่วนร่วม 3) สร้างทีมและการมีส่วนร่วม โดยประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ชุมชนได้เข้ามีส่วนร่วมจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของบ้านเป็นเจ้าของวัด โดยให้คนทุกกลุ่มในชุมชนทั้ง ผู้นำ ผู้สูงวัย เยาวชน ผู้ปกครองเด็กๆ ฯลฯ ได้มีส่วนช่วยเหลือวัดในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับตามศักยภาพของแต่ละกลุ่มแต่ละคน และที่สำคัญคือ สร้างทีมปฏิบัติงานที่เข้มแข็ง 4) ผลประโยชน์ ต้องมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม 5) บริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธด้วยหลักอปริหานิยธรรม 6) ประเมินผลสม่ำเสมอ โดยจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการ อีกทั้งจัดให้มีการประเมินโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชน และนักท่องเที่ยว และนำเสนอรายงานการประเมินต่อที่ประชุมและสาธารณะสม่ำเสมอ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to study the level of Buddhist tourism management according to Aparihaniyadhamma; 2) to study the level of public participation on Buddhist tourism management; 3) to find the relationship between Buddhist tourism management according to Aparihaniyadhamma of temples and public participation on Buddhist tourism management in Mueang Uthai Thani district, Uthai Thani; and 4) to find ways to promote people's participation on Buddhist tourism management in Mueang Uthai Thani District, Uthai Thani Province. This was a mixed methods research consisting of quantitative research by using a survey research with questionnaires as a tool to collect data from people living in Nam Sum Subdistrict and Sakae Krang Subdistrict, Mueang Uthai Thani District, totaling 11,219 people. The sample size was calculated using Krejcei & Morgan's table, a total sample size of 372 people. The data were analyzed by using statistical package for social science research. The descriptive statistics were percentage, mean, standard deviation and inferential statistics was Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. For a quality research, in-depth interviews with 15 key informants were conducted by using a structured interview form and using descriptive content analysis techniques.
The results showed that
1. Buddhist tourism Management according to Aparihaniyadhamma of temples in Mueang Uthai Thani District, Uthai Thani Province, overall, was at a moderate level ( x̅= 3.35, S.D. = 0.50). The averages were sorted from highest to lowest as follows: in the aspect of respecting and protecting important sacred places of the community (x̅ = 3.50, S.D. = 1.61); in terms of respecting to the rights of women (x̅= 3.46, S.D. = 0.57); in the aspect of protecting and maintaining the monks, a holy man, residents and visitors to the locality (x̅= 3.42, S.D. = 0.60); respecting the leaders and elders and local scholars (x̅= 3.36, S.D. = 0.57); introducing no revolutionary ordinance, or break up no established ordinance (x̅= 3.34, S.D. = 0.54); meeting together in harmony (x̅= 3.22, S.D. = 0.49); and holding regular and frequent meetings (x̅= 3.22, S.D. = 0.51), respectively.
2. Public participation on Buddhist tourism management in Mueang Uthai Thani District, Uthai Thani Province, overall, was at a low level (= 2.34, S.D. = 1.11). The average was sorted from highest to lowest as follows: in terms of participation in benefits (
= 2.60, S.D. = 1.11), followed by participation in action (
= 2.35, S.D. = 1.13); participation in decision-making (
= 2.20, S.D. = 1.31); and participation in assessment (
= 2.10, S.D. = 1.23), respectively.
3. Buddhist tourism management according to Aparihaniyadhamma of temples and public participation on Buddhist tourism management in Mueang Uthai Thani District, Uthai Thani Province, had a very high positive correlation (r = 0.907) that was statistically significant at the 0.01 level.
4. The guidelines for promoting public participation on Buddhist tourism management in Mueang Uthai Thani District, Uthai Thani Province found that the personnel who should be involved in the management of Buddhist tourism consisting of monk leaders, community leaders, groups of people of all ages in the community and public and private networks. The guidelines for promoting public participation were as follows: (1) to create a positive attitude towards participation among people by assisting the community (public relations) to create understanding with the community about all aspects of Buddhist tourism management. And the monks must be the leaders in development and make the temple the center of the community; (2) to create activities by organizing Buddhist tourism activities continuously, seriously, and concretely until it has become a community culture. It was a legacy from generation to generation and to create activities to attract people of all ages to participate; (3) team building and engagement by publicizing and inviting the community to participate in organizing Buddhist tourism causing the feeling of being a homeowner, a temple owner by allowing all groups of people in the community including leaders, the elderly, youth, parents, etc., to contribute to the temple in various ways that were appropriate based on the potential of each group, individual and the important thing was to build a strong operational team; (4) benefits must be integrated among all stakeholder groups; (5) to manage Buddhist tourism based on Aparihaniyadhamma; and (6) to evaluate regularly by conducting public hearings to improve management development. It also provided an assessment by experts, stakeholders, people and tourists as well as regularly presented the assessment report to the meeting and the public.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6115204019 | 6115204019 | 6.23 MiB | 17 | 17 ก.ย. 2565 เวลา 22:57 น. | ดาวน์โหลด |