-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์จังหวัดอ่างทอง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTraining Management for Shot-Term Ordained Monks of Sangha in Ang Thong Province
- ผู้วิจัยพระอธิการรัตน รตโน (บัวทอง)
- ที่ปรึกษา 1ดร.ประเสริฐ ธิลาว
- ที่ปรึกษา 2พระสุธีวีรบัณฑิต, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา07/03/2562
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/467
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 216
- จำนวนผู้เข้าชม 352
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์ จังหวัดอ่างทอง 2. เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์ จังหวัดอ่างทอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์ จังหวัดอ่างทอง
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณกำหนดกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสังฆาธิการในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ในระดับตำแหน่ง พระสังฆาธิการ จำนวน 141 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.777 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) F-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) 9 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง จากผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง(structured in-depth interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ (descriptive interpretation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. พระสังฆาธิการในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง มีความคิดเห็นต่อระดับการบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์ จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.27 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว พบว่า 1. ด้านนโยบาย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.34 2. ด้านรูปแบบ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.30 3. ด้านปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.26 และ 4. ด้านประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.16
2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์ จังหวัดอ่างทอง จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า พระสังฆาธิการที่มีอายุ, อายุพรรษา, ตำแหน่งทางคณะสงฆ์, วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม แผนกนักธรรม, วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม แผนกบาลี, วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม แผนกสามัญ, ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์ จังหวัดอ่างทอง ของพระสังฆาธิการ ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธข้อสมมติฐานการวิจัยที่ได้ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรค คือ 1) ด้านนโยบาย การบวชในปัจจุบันบางพื้นที่ไม่มีพระอุปัชฌาย์ จำเป็นต้องบวชที่อื่น ๆ ทำให้ยากต่อการดูแล 2) ด้านรูปแบบ การอบรมสั่งสอนไม่มีรูปแบบที่แน่ชัดจากผู้เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่สามารถดำเนินการได้ 3) ด้านการปฏิบัติงาน บางวัดไม่มีพระที่มีความรู้สามารถให้การอบรมผู้บวชระยะสั้นได้ 4) ด้านประเมินผลการปฏิบัติงาน การติดตามประเมินผลทำได้ยาก การประเมินผลจึงไม่เห็นผลเท่าที่ควร ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์ จังหวัดอ่างทอง ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย ได้แก่ มีนโยบายในการพัฒนาบริหารจัดการการอบรมผู้บวชระยะสั้นแก่คณะสงฆ์ที่ชัดเจนและมีหลักการในการอบรมผู้บวชระยะสั้นโดยไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย2) ด้านรูปแบบ มีการอบรมผู้บวชระยะสั้นเป็นไปตามแบบอย่างในการอบรมของคณะสงฆ์และมีรูปแบบการออกกฎระเบียบในการอยู่ร่วมกันของผู้บวชระยะสั้น 3) ด้านการปฏิบัติงาน มีการดูแลผู้บวชระยะสั้นภายในวัดอย่างทั่วถึง เท่าเทียมกันและเป็นธรรม ให้พระภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้อบรมแก่ผู้บวชระยะสั้นตามแต่โอกาส 4) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีการประเมินผลการบริหารการอบรมผู้บวชระยะสั้นของคณะสงฆ์และเปิดโอกาสให้องค์กรภายนอกเข้ามาตรวจสอบงานการอบรม จัดเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานประจำปีภายในการอบรมผู้บวชระยะสั้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of the research were: 1. to study the management of the Buddhist monk's short-term training in Angthong Province 2. to compare the administration of the Buddhist monk's short-term training, Ang Thong Province classified by personal factors and 3. to study problems, obstacles and suggestions for the administration of short-term ordained monks' training, Ang Thong Province
Methodology was the mixed methods: The quantitative research collected data from 141 samples who were Buddhist monks and abbots in Ang Thong province by questionnaires with a confidence value of 0.777. Statistics used in data analysis were frequency values, percentage values, mean values, standard deviations. And one-way analysis of variance, ANOVA. The qualitative research collected data from 9 experts, purposefully selected with structured in-depth-interview by face-to-face-interviewing. Data were analyzed by descriptive interpretation.
Findings were as follows:
1. Buddhist monks in Ang Thong province had opinions about the level of management of the Buddhist monks' short term training by overall at high level at an average value of 4.27. Each aspect was also at high level; 1) policy was at high level at an average value of 4.34, 2) organization was high level at an average value of 4.30, 3) work performance was at high level at an average mean value of 4.26, and 4) evaluation was at high level with an average value of 4.16
2. The results of the comparison of opinions on the administration of the Buddhist monk's short-term training,Ang Thong Province classified by personal status, it found that the Sangha Administrators with different age, ordained age, Buddhist monk positions, educational qualification, Pali educational level, formal educational level, did not have different opinions towards the administration of short-term priests' training, Ang Thong Province,
3. Problems and obstacles were: 1) the current ordination policy, some areas do not have preceptors. Laity has to be ordained at other places, making it difficult to care for. 2) training organization, there was not set format of training causing the practitioner to be unable to practice according to rules and regulations effectively, 3) work performance, some monasteries do not have knowledgeable monks who are able to provide training for short-term ordination, 4) evaluation, monitoring and follow-up are difficult to carry out causing the evaluation did not meet the expected results. Suggestions for the administration of the Buddhist monk's short-term training Ang Thong Province; namely policy, there should be clear and applicable policy of short-term ordination training that abide by the rules and regulations. Organization of training method, there should training method for short-term ordained monks according to rules and regulations. Work performance, short-term ordained monks should be treated and cared of and trained evenly and fairly. Knowledgeable monks should be assigned to be trainers of short-term-ordained monks. Evaluation, there should be evaluation of short-term-ordained monks, opening opportunity for outsiders to perform the training and data of the short-term ordained monks should be recorded and kept for annually report of the activities
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7 MiB | 216 | 3 มิ.ย. 2564 เวลา 05:15 น. | ดาวน์โหลด |