-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดนนทบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddha-dhamma Integration for Inmates Quality of Life Development of Prison in Nonthaburi Province
- ผู้วิจัยนางสาววราพร องคะลอย
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2ศ. ดร. บุญทัน ดอกไธสง
- วันสำเร็จการศึกษา31/08/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4670
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 248
- จำนวนผู้เข้าชม 386
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 11 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x bar=3.71, S.D.=0.856) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย (x bar=3.21) รองลงมาคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา (x bar=3.16) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ (x bar=3.15) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม (x bar=3.15) ตามลำดับ
2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ผลการตรวจสอบสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านเกณฑ์ (p-value = 0.7365, = 75.43, df. = 84,
/df = 0.897, GFI = 0.97, AGFI = 096, CFI = 1.00, SRMR = 0.031, RMSEA = 0.000) และผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพแวดล้อมในเรือนจำ ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ 0.70 แยกเป็นอิทธิพลทางตรง 0.06 เป็นอิทธิพลทางอ้อม 0.11 และเป็นอิทธิพลรวม 0.17 โดยไม่ได้ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ 2) กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ 0.83 แยกเป็นอิทธิพลทางตรง -0.05 เป็นอิทธิพลทางอ้อม 0.75 และเป็นอิทธิพลรวม 0.70 โดยที่อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) หลักไตรสิกขา ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ 0.93 แยกเป็นอิทธิพลทางตรง 0.93 และเป็นอิทธิพลรวม 0.93 โดยที่อิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขัง ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำดังกล่าวนำมาบูรณาการกับ “หลักไตรสิกขา” 3 ด้านคือ 1) ศีล (ด้านพฤติกรรม) โดยการเห็นอกเห็นใจและให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้ต้องขังคนอื่น ใช้ชีวิตที่ปลอดภัยไม่ไปเบียดเบียนผู้ต้องขังคนอื่นๆ เก็บกวาดหรือทำความสะอาดพื้นที่พักของตนเองอยู่เป็นประจำ ปฏิบัติตนอยู่ภายใต้กฎระเบียบของเรือนจำ ปฏิบัติตามหลักศาสนา 2) สมาธิ (ด้านจิตใจ) ฝึกฝนให้มองโลกในแง่บวก สร้างความร่าเริงเบิกบานใจให้กับตนเองและผู้อื่น ฝึกฝนตนเองให้มีความเข้มแข็ง เพียรพยายาม อดทน เพื่อให้ได้รับการลดโทษ ฝึกฝน นั่งสมาธิเพื่ออบรมจิตใจให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ อบรมพัฒนาจิตใจผู้ต้องขังโดยใช้หลักศาสนา การเรียนสมาธิตามหลักสูตรต่างๆ ฟังธรรม ไหว้พระ สวดมนต์ 3) ปัญญา (ด้านองค์ความรู้) ให้อภัยกับตนเองซึ่งเป็นผู้ที่ทำผิดพลาด และยกย่องสรรเสริญผู้ที่ทำความดี ควบคุมสติเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นและแก้ไขโดยใช้หลักเหตุผล แสวงหาความรู้อยู่ประจำ แสวงหาโอกาสทางการศึกษาทั้งสายสามัญและวิชาชีพ บำบัดฟื้นฟู พัฒนาพฤตินิสัยด้วยใช้โปรแกรมหลักสูตรเฉพาะทาง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study the condition of the inmates’ quality of life development in the prisons in Nonthaburi Province; 2. To study the causal relationship model for the inmates’ quality of life development in the prisons in Nonthaburi Prisons; and 3. To propose to Buddha-dhamma integration for the inmates’ quality of life development in the prisons in Nonthaburi Province, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected from370 samples and analyzed by descriptive statistics; frequency, percentage, mean, standard deviation and Exploratory Factor Analysis (EFA) and Structural Equation Modeling (SEM) using statistical program package. The qualitative research, field data were collected from 18 key informants and from 9 participants in focus group discussion to confirm the model after data synthesis.
Findings were as follows:
1. The condition of the inmates’ quality of life development in the prisons in Nonthaburi Province was found that the inmates’ quality of life development in the prisons in Nonthaburi Province at a moderate level (x bar=3.71, S.D.=0.856). Each. All aspects were also at moderate levels in the following orders: Physical aspect of quality of life development (x bar=3.21), followed by intellectual aspect of quality of life development (x bar=3.16), emotional aspect of quality of life development (x bar=3.15), social aspect of quality of life development. (x bar=3.15) respectively
2. A causal relationship model for the inmates’ quality of life development in the prisons in Nonthaburi Province The audit results were consistent with the empirical data (p-value = 0.7365, = 75.43, df. = 84, /df = 0.897, GFI = 0.97, AGFI = 096, CFI = 1.00, SRMR = 0.031, RMSEA = 0.000.) and the results showed that 1) the prison environment, the relationship size was 0.70, separated into direct influences, 0.06 and indirect influences, 0.11 and total influences were 0.17 without affecting the inmates’ quality of life development in the prisons in Nonthaburi Province, 2) Activities of the inmates’ quality of life development had he relationship size at 0.83, separating into direct influence at 0.05, and indirect influence at 0.75, and total influences were at 0.70. and indirect and total influences affected the inmates’ quality of life development in the prisons at statistically significant level 0.01, 3) Tisikkha had the correlation size at 0.93, separating the direct influence at 0.93 and the total influence at 0.93. Direct influence and total influences affected the inmates’ quality of life development in the prisons at statistically significant level at 0.01
3. Buddha-dhamma integration for the quality of life development consisted of 4 aspects: physical aspect of quality of life development; emotional aspect of quality of life development, social aspect of quality of life development and intellectual aspect of the quality of life development. The such inmates’ quality of life development integrated with Tisijkkha in 3 aspects: 1) Silla; by being compassionate and providing assistance to other inmates Live a safe life without harassing other inmates. Regularly sweep or clean your resting area. behave in accordance with the rules of the prison Practice religious principles, 2) Samădhi; practice to see the world in a positive way. Create cheerfulness for yourself and others. Cultivate yourself to be strong, persevere, be patient so that punishment can be reduced. Training for mental development of inmates using religious principles Studying meditation according to various courses, listening to the Dharma, worshiping the Buddha, praying, 3) Pannă; Forgive yourself, who make mistakes. and glorify those who do good. Stay conscious when problems arise and solve them rationally. constantly seeking knowledge Seek opportunities for both general and vocational education, rehabilitation therapy, and behavior development through specialized curricula programs.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6301104223 | 6301104223 | 3.38 MiB | 248 | 16 ก.ย. 2565 เวลา 05:55 น. | ดาวน์โหลด |