โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร 4 : ศึกษากรณีข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษIdeal Leadership in Accordance with the Four Brahmavihara : A Case Study of Military Officers Attached to National Defence Studies Institute
  • ผู้วิจัยสิบตำรวจโทหญิง ธมลณัฏฐ์ พายจะโป๊ะ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาอำนวย อํสุการี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  • ที่ปรึกษา 3ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  • วันสำเร็จการศึกษา30/01/2012
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46700
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 474

บทคัดย่อภาษาไทย

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลัก พรหมวิหาร 4 ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ซึ่งกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการทหารสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศจำนวน 226 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

                  ผลการวิจัยพบว่า 

              จากการวิจัย พบว่า ระดับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน  เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านจะพบว่า ข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ            มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักอุเบกขามากที่สุด รองลงมาคือหลักเมตตา      หลักมุทิตาและหลักกรุณา ตามลำดับ

    การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของข้าราชการทหาร สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการทหารที่มีเพศ อายุ สถานภาพ รายได้ ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นว่า ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร 4 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนข้าราชการทหารที่มีประเภทนายทหาร การศึกษา ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นว่า ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ตามหลักพรหมวิหาร 4 โดยภาพรวมแตกต่างกัน

              ผลการวิเคราะห์การสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การใช้หลักพรหมวิหาร 4 สามารถประยุกต์ใช้กับผู้นำขององค์กร ซึ่งผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติในส่วนบุคคลและในการบริหารจัดการ โดยให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านการศึกษา ด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเป็นผู้นำองค์กรในยุคปัจจุบัน ที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา โดยเน้นที่อุเบกขาให้มาก สามารถนำมาปรับใช้ในองค์กรในเรื่องของการสร้างขวัญ กำลังใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา การพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา การพิจารณาความดีความชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และการเป็นแบบอย่างที่ดีในการชี้แนะ สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในการทำงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเน้นให้ทุกคนมีจิตวิญญาณของการสำนึกในหน้าที่ ร่วมกันกำหนดทิศทางขององค์กร และมีส่วนร่วมในการทำงาน เพื่อส่งผลให้องค์กรมีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              The main objectives of this research were: i) to study the level of ideal leadership in accordance with the four Brahmavihara (four principles virtuous existence) of military officers attached to National Defence Studies Institute, ii) to compare the ideal leadership in accordance with the four Brahmavihara of military officers attached to National Defence Studies Institute, classified by personal factors, and ii) to study ideal leadership development method in accordance with the four Brahmavihara of military officers attached to National Defence Studies Institute. The sample used in this research were 226 military officers attached to National Defence Studies Institute. The tools used for data collection were questionnaires and in-depth interviews. The statistics employed for data analysis were frequency, percentage, the average and standard deviation (S.D.) and statistical hypothesis testing was done by t-test and then the data collected from the interview was conducted by using content analysis technique.

              The findings of this study were concluded as follows:-

              The overall level of ideal leadership accordance with the four Brahmavihara of military officers attached to National Defence Studies Institute was ranked at the high level in all four aspects. When considering in each  aspect, it is found that the military officers attached to National Defence Studies Institute having opinion about the ideal leadership in accordance with  the equanimity most, followed by loving-kindness, sympathetic joy, and compassion, respectively.

               The comparison of the opinion on ideal leadership accordance with the four Brahmavihara of military officers attached to National Defence Studies Institute classified by personal factors, it is found that the military officers, who had different statuses such as gender, age, and income, thought that the ideal leadership compliance with the four Brahmavihara had no significant difference. While the commissioned officers who had different educational level, thought that ideal leadership compliance with the four Brahmavihara had significant difference.

                The result of the in-depth interview, it is found that the advantage of the four Brahmavihara could be applied to leadership of organizations in which the leaders must have personal characteristics and management qualification to cover all aspect such as administrative command, educational and operational aspects which are necessary for the leaders in today's corporate who need to focus on loving-kindness, compassion, sympathetic joy and equanimity by specially emphasizing on equanimity. This could be deployed in the organization in a matter of building morale to encourage the subordinators, developing knowledge and ability of the subordinators, considering the merit of the subordinators and being a good role model in guiding, teaching, and transferring knowledge and working experiences to the subordinators. Emphasizing that everyone having the spirit of sense of duty, jointly determining the direction of the organization and participating in the work, leading the organization to be effectiveness.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ