-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Human Resources Management for Enhancement Organization Commitment of Securities Business
- ผู้วิจัยนายวีรภัทร สภากาญจน์
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา11/08/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4677
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 134
- จำนวนผู้เข้าชม 210
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ โดยการประยุกต์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 399 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสําคัญจํานวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจํานวน 10 คน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ โดยภาพรวม เฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.86, S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยที่ด้านการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.92, S.D. = 0.75) รองลงมา ด้านการจัดการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.89, S.D. = 0.66 และ 0.64) และด้านการรักษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.77, S.D. = 0.76)
2. ปัจจัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทุกด้าน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันทำนายสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ได้ร้อยละ 67.7 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทุกด้าน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ได้ร้อยละ 69.8 ปัจจัยการสร้างความผูกพันต่อองค์กรตามหลักสังคหวัตถุ 4 ทุกด้าน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันทำนายสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ได้ร้อยละ 73.7
3. รูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของธุรกิจหลักทรัพย์ โดยการประยุกต์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 คือ ผู้บริหารควรจะใช้หลักของทาน การให้ ปิยวาจา เจรจาไพเพราะ อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ สมานัตตตา วางตนเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดความผูกพัน 3 ด้านหลักคือ 1) ความผูกพันด้านจิตใจ บุคลากรรักและหวงแหนองค์กร มีความผูกพันต่อองค์กร บุคลากรยินดีที่ได้เป็นสมาชิกขององค์กร มีความรักและความเคารพผู้บริหารองค์กร และรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์กร 2) ความผูกพันด้านการคงอยู่ การคงอยู่ของบุคลากรคงที่ บุคลากรไม่คิดลาออกจากงาน บุคลากรยินดีที่จะอยู่เพื่อทำประโยชน์ต่อองค์กร มีความผูกพันอยู่กันอย่างกัลยาณมิตร และองค์กรมีบุคลากรที่มีคุณภาพ 3) ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน บุคลากรรักในเกียรติและศักดิ์ศรีของตนและองค์กร ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมองค์กรอย่างเคร่งครัด ร่วมกันรักษาภาพพจน์ที่ดีขององค์กร อุทิศตนเพื่อองค์กร และองค์กรมีความเป็นเอกภาพ กล่าวโดยสรุป รูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ผู้บริหารต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคลากรในองค์กร พูดจาหรือสื่อสารด้วยคำสุภาพเรียบร้อย ให้การสงเคราะห์พนักงานหรือบุคลากรอย่างเหมาะสม และวางตนให้เหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย ควรแก่การเคารพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study the general condition of Buddhist human resources management for enhancement organization commitment of Securities Business, 2. To study factors affecting the Buddhist human resources management for enhancement organization commitment of Securities Business, and 3. To propose a model of Buddhist human resources management for enhancement organization commitment of Securities Business by applying Sangahavatthu 4 principles, conducted by the mixed methods, divided into 2 steps. Step 1, it was conducted by the quantitative research, collected data from 399 samples and analyzed by descriptive statistics; frequency, percentage, mean and standard deviation and multiple regression by the ready-made social study statistical package. Step 2, it was conducted by the qualitative research with field study by in-depth-interviewing 18 key informants and data were also collected from 10 participants in focus group discussion to confirm the model after data synthetization.
Findings were as follows:
1. General conditions of Buddhist human resources management for enhancement organization commitment of the Securities Business, by overall average, were at high level (X-bar= 3.86, S.D. = 0.65). Each aspect was also at high level. The development aspect was at the higest level with the average at X-bar= 3.92, S.D. = 0.75. Secondly, the management had the average mean at the high level (X-bar= 3.89, S.D. = 0.66 and 0.64). The maintainaint aspect was at the lowest level with the high average mean at X-bar= 3.77, S.D. = 0.76.
2. Factors of general conditions of the human resource management in all aspects affeted the organizational committment of the Securities Business at the statistically significant level of 0.01 and together could predict the organizational committment enhancement of the Securities Business at 69.8 percent. Factors of the organizational committment enhancement acccording to Sangahavattu 4 in all aspects affected the organizational committment enhancement of the Securities Business at statistically significant level of 0.01 and together could predict the organizational committment enhancement of the Securities Businesss at 73.7 percent.
3. Model of Buddhist human resources management for the organizational committment enhancement of the Securities Business by applying the Sangahavatthu 4 principles for practice, the executives need to use the Dāna: giving, Piyavācā: kindly speech, Atthacariyā: useful conduct and Samānattatā: even and equal treatment would enhance organization commitment in 3 main perspectives are 1) mental committment; personnel love and treasure the organizations with organizational obligation. Personnel were satisfied with being members of the oganizations, loved and respected the administrators with pride of being valuable to the organizations. 2) exixstence committment; personnel existence was stable. Personnel did not think of leaving the organization. Personnel were satisfied to be with and do benefits for the organizations with obligation and good friendship. The organizations had qualified personnel, 3) standardized committment; personnel loved their honors and dignities and those of the organizations, strickly adhering to the organizational ethics and culture, together up-keeped and dedicated to the good image of the organizations in order to the organizations would have unity. In conclusion, it means that the executives need to use generosity towards personnel in the organization, polite speaking or communicating, provide appropriate assistance to employees or personnel and positioned self to be consistent worthy of respect.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6301104227 | 6301104227 | 6.53 MiB | 134 | 11 ก.ย. 2565 เวลา 04:26 น. | ดาวน์โหลด |