โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Human Resource Development in accordance with the Threefold Training (Tisikkha) in Naval Military Police Regimen
  • ผู้วิจัยพระมหาปัญจะ กิตฺติเมโธ (ดีพิจารย์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • ที่ปรึกษา 2อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์กิตฺติปญฺโญ
  • วันสำเร็จการศึกษา19/03/2012
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46856
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 355

บทคัดย่อภาษาไทย

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะและการประยุกต์ใช้ในการนำหลักไตรสิกขามาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรมสารวัตรทหารเรือที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรของกรมสารวัตรทหารเรือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 269 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ มีความเชื่อมั่น 0.925 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ วิเคราะห์โดย การทดสอบค่าที (t - test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่มและการทดสอบค่าเอฟ (F - test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และในกรณีที่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ ๓ กลุ่ม ขึ้นไป ด้วยวิธีผลต่างอย่างมีนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)           

ผลการวิจัย พบว่า 

             1. ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.23) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.41) ในด้านศีล (การฝึก

อบรมพัฒนาด้านพฤติกรรม) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 4.04)  ด้านปัญญาตามลำดับ

             2.. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ที่จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ และตำแหน่ง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลทำให้บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ บุคลากรมีระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

             3. ปัญหาและอุปสรรค ที่เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือ ได้แก่ 1) ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจและไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไรเมื่อเจอสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการรักษาศีล 2) มีความรู้สึกตึงเครียด เมื่อเจอปัญหาอุปสรรคหรือความเร่งรีบ ความคาดหวังต่อความสำเร็จของงาน 3) การฝึกอบรมพัฒนาที่ต้องรับมือกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถที่สูงขึ้นเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ

             ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือควรเพิ่มรูปแบบการพัฒนาเพื่อให้มีลำดับขั้นตอนการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบตามหลักการพัฒนายุคใหม่และเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ตามหลักของศีล สมาธิและปัญญา ซึ่งก็คือการพัฒนาในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และในด้านปัญญา ซึ่งประยุกต์ใช้กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของกรมสารวัตรทหารเรือให้ดียิ่งขึ้น

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                The main objectives of this research are:- (1) to study the human resource development in accordance with Tisikkha of Naval Military Police Regiment, (2) to compare the human resource development in accordance with Tisikkha of Naval Military Police Regiment, and (3) to study problems, barriers, advices and guideline for the development of human resource according Tisikkha of Naval Military Police Regiment. The sample of this study consisted of 269 officers of Naval Military Police Regiment drawn from 899 population by Cluster sampling technique. Tool used for collecting the data was questionnaire about officers’ opinions to develop human resource according to Tisikkha in Naval Military Police Regiment and having the reliability value equal to 0.925. The data analysis was employed by using ready-made for social science research. Statistics used to analyze data were the frequency, percentage, average and standard deviation. To compare the opinions of the population towards the human resource development according Tisikkha in Naval Military Police Regiment, the employed statistics were t-test in the case of the two groups variables, F-test with the analysis of variance (One way analysis of variance) and Least Significant Difference: LSD.

               The Finding of the research were concluded as follows:

                             1. The overall opinions of personnel toward the human resource development according to Tisikkha in Naval Military Police Regiment were found at high level ( = 4.23) . When considering from each aspect, it was noticed that morality (training, development and behavior) was found at highest mean ( = 4.41) while wisdom (intelligence development) was found at lowest mean ( = 4.04), respectively.

                             2. The results of comparison of Naval personnel to develop human resource in Tisikkha by sex, age, education, working age and class showed that personal factors have resulted in personnels have opinions on development of human resource by Tisikkha had statistical significant defference at 0.01 level. And sexual personal factor was noticed that having statistical significant difference at 0.05 level, so accepting the set hypothesis.

                           3. Problems and obstacles of the human resource development according to Tisikkha in Naval Military Police Regiment was noticed that; (1) Most of officers have little understanding and don’t know how to practice when seeing situation which is obstacle to have the precept, (2) a sense of tension when encounter problems or urgency in expectation for the success of the work, and(3) training and development to cope with advances in technology have changed dramatically and need to develop ability to rise in working. Suggestions and guidelines for human resource development according to Tisikkha need to add the development to a process of complete development. According to the development of a new generation to meet objectives and goals set by the principles of morality, concentration and wisdom, i.e. to develop the body, the mind and the wisdom that can be applied to the development of human resources as the main Tisikkha in Naval Military Police Regiment.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ