-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการให้บริการของสานักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตามทัศนะ ของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe services of the Social Security Offices in accordance with the Four SANGAHAVATTHUS towards the insured person’s attitude in Bangkok Metropolitan
- ผู้วิจัยนางสาวชญานิศฐ์ รักแจ้ง
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญฺ
- วันสำเร็จการศึกษา20/03/2012
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/46942
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 432
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ(1)เพื่อศึกษาการให้บริการของสำนังงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ 4ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร(2)เพื่อเปรียบเทียบการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ 4ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ(3)เพื่อกำหนดแนวทางการนำหลักสังคหวัตถุ 4มาประยุกต์ใช้และพัฒนาการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมกับระบบงานประกันสังคมและประชาชน ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ.(Survey research).กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ผู้ประกันตนที่มาใช้บริการ ณ หน่วยงานสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที 5และสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 10 จำนวน 400คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามการนำหลักสังคหวัตถุ 4ไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคหวัตถุ 4 การทดสอบค่าที(t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ(F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)
ผลการวิจัย พบว่า
1)การให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ 4ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.21)เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตา พบว่า ผู้ประกันตนมีทัศนะอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
2) เปรียบเทียบการให้บริการของสำนักงานปะกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ๔เขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาและจำนวนครั้งที่ใช้บริการ พบว่าผู้ประกันตนที่มีอาชีพต่างกันมีทัศนะต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ 4 เขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ส่วนผู้ประกันตนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งที่ใช้บริการ ต่างกัน มีทัศนะต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ4เขตกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน
3) ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะพร้อมกำหนดแนวทางการนำหลักสังคหวัตถุ 4มาประยุกต์ใช้กับงานบริการของสำนักงานประกันสังคมดังนี้
(1) ปัญหาและอุปสรรค งานการบริการของสำนักงานประกันสังคม คือ เจ้าหน้าที่ขาดความเต็มใจในการให้บริการ ทำตามหน้าที่ มากกว่าทำด้วยใจ ความช่วยเหลือแนะนำให้ความรู้ไม่ชัดเจน ไม่กระจ่าง ทำให้ผู้ประกันตนขาดความรู้ ความเข้าใจในงานบริการประกันสังคมและมีเจ้าหน้าที่ในงานการให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขาดความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ถึงแม้จะมีจุดประชาสัมพันธ์ การไปติดต่อกับประกันสังคมตามเขตพื้นที่ ก็ขาดการประสานงานกัน ต้องใช้เวลาไปติดต่อมาก
(2) ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่งานด้านงานบริการอยู่เสมอ ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถ ในงานบริการของสำนักงานประกันสังคมเป็นอย่างดี ควรรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดขั้นตอนการให้บริการรวมถึงเอกสารต่าง ๆ ให้สะดวกมากขึ้นและควรสร้างจิตสำนึกในด้านการบริการให้อยู่เสมอ
(3) แนวทางการนำหลักสังคหวัตถุ 4มาประยุกต์ใช้กับงานบริการของสำนักงานประกันสังคม คือ ทาน การให้บริการด้วยความเสียสละ ให้ความรู้ความเข้าใจและขั้นตอนรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนหรือผู้ประกันตนที่มาใช้บริการที่สำนักงานประกันสังคม ปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ น่าฟัง มีอัศธยาศัยดี มีมิตรไมตรีต่อผู้ประกันตน เจ้าหน้าที่ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาต้องสุภาพ อัตถจริยา การทำตนให้เป็นประโยชน์ โดยปรับมุมมองของเจ้าหน้าที่ว่าผู้ประกันตนเปรียบเสมือนญาติของตน สมานัตตา การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย การให้บริการด้วยความเสมอภาคและยุติธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are: I) to study the services of the SocialSecurity Offices in accordance with Four Sangahavatthus towards the insured person’s attitude in Bangkok Metropolitan, II) to compare the services of the Social Security Offices in accordance with Four Sangahavatthus towards the insured person’s attitude in Bangkok Metropolitan, classified by personal factors, and III) to determine methods of Four Sangahavatthus, apply and develop services of Social Security Office, particularly in system and public services.A survey research has been used for this study. Samples of this research consisted of 400 insured persons using services from the Social Security Offices in Bangkok Metropolitan area 5 and area 10. Data was collected by questionnaire to see what extent the Four Sangahavatthus was applied in term of services by the Social Security Offices. The collected data was analyzed by using basic statistics such as frequencies, percentage, mean and standard deviation. The analysis was also done through t-test for analyzing the hypotheses in order to test the average difference between the two groups and f-test by one-way analysis of variance (One-way ANOVA) for testing the difference between the averages from three or more groups and to test the difference of the average LSD (Least Significant Difference).
The findings of this study are as follows:
1. The services of the Social Security Offices in accordance with Four Sangahavatthus towards the insured person’s attitude in Bangkok Metropolitan were at a moderate level in all aspects(mean = 3.21). And when considered on each aspect as Dana: generosity, Piyavaca: kindly speech, Atthacariya: useful conduct, Samanattata: even equal treatment, founded that the insured person’s attitude were satisfied towards services in accordance with Four Sangahavatthus at moderate level in all aspects.
2. The comparison of the services of the Social Security Offices in accordance with Four Sangahavatthus towards the insured person’s attitude in Bangkok Metropolitan, classified by personal factors, the research revealed that, in case of the samples were classified by sex, age, education, careers and number of services, different occupations of the insured persons affect attitude toward services in accordance with Four Sangahavatthus and result in statistically significant differences at .05 level. While the insured persons with sex, age, education and different numbers of services were found no significant differences.
3. Problems, obstacles and recommendations with solving guidelines in order to apply Four Sangahavatthus in term of services of Social Security Offices are as follows:
1) The main problems and obstacles of services provided by Social Security Office are officers who are not willing to serve by hearts, but by duties. Lacking of efficient officers to provide services with required knowledge and problem solving skills, the insured persons would be lack of good understanding in services of Social Security Office. Furthermore, although there are many information centers when the insured persons contact to the office, there are no prompt coordination and time spending is too long.
2) Recommendations: continuous training for officers is required since they should have moderate knowledge and capabilities in term of services by Social Security Offices. They should be able to listen and solve problems in no time in order to reduce unnecessary processes and to documents for better standard of service and to recreate service mind eventually.
3) Applying instructions of Four Sangahavatthus in services of Social Security Office are as follows: Dana is to give services by heart, to provide knowledge and to facilitate the insured persons; Piyavaca is to use words of manner and goodwill to the insured persons; Atthacariya is to be helpful to the insured persons by perceiving they are relatives; Samanattata is to be persistent a
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|