-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษHuman Resource Management according to Buddha Dhamma of Ang Thong Provincial Administrative Organization
- ผู้วิจัยนายดาวเหนือ ทองน้อย
- ที่ปรึกษา 1ศ. ดร. บุญทัน ดอกไธสง
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
- วันสำเร็จการศึกษา31/08/2022
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4695
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 122
- จำนวนผู้เข้าชม 380
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง 3. เพื่อนำเสนอการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 125 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง พบว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar=3.95, S.D.=0.544) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ ประยุกต์หลักสากลอย่างเหมาะสม (X-bar=4.04) รองลงมาคือ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (X-bar=3.95) การเรียนรู้และพัฒนาตน (X-bar=3.92) และมุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม (X-bar=3.90) ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง พบว่า 1) กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย การพัฒนา การธำรงรักษา ส่งผลต่อทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ได้ร้อยละ 53.9 (Adjust R2=0.539) 2) หลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล (การฝึกฝนพัฒนาด้านพฤติกรรม) ปัญญา (การฝึกฝนพัฒนาด้านปัญญา) ส่งผลต่อทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ได้ร้อยละ 52.8 (Adjust R2=0.528)
3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง 4 ด้านคือ การเรียนรู้และพัฒนาตน มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม ประยุกต์หลักสากลอย่างเหมาะสม และ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 4 ด้านจะมีประสิทธิผลก็ด้วยอาศัยหลักของศีล การรักษาพฤติกรรม โดยการอบรมปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักศีล 5 ประพฤติตนเป็นข้าราชการที่ดีมีคุณธรรม มีวินัยตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ การเคารพสิทธิของผู้อื่น ดำรงตนตั้งมั่นในทางสุจริต หลักของสมาธิ การพัฒนาด้านจิตใจ โดยมีสติในการทำงาน มีความอดทน อดกลั้น พัฒนาจิตใจให้สงบมั่นคงเป็นคนมีน้ำใจ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำนุบำรุงศาสนา ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนา ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะและสังคมส่วนรวม และหลักของปัญญา การฝึกฝนพัฒนาปัญญา โดยการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ฝึกอบรมพัฒนาปัญญาทั้งจากการฟัง การอ่าน การปฏิบัติให้เห็นจริง รวมทั้งการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบขับเคลื่อนโดยใช้ฐานของข้อมูลความรู้ที่ได้ เพื่อเป็นทรัพยากรมีคุณค่าและพึงประสงค์ขององค์กร นอกจากนั้นต้องอาศัยการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการวางแผน เช่น ปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากรทุกๆ ปี มีแผนพัฒนาที่โปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้และเน้นการมีส่วนร่วม เป็นต้น 2) ด้านการสรรหาบุคลากร เช่น สรรหาบุคคลที่เป็นคนดี มีความรู้ และทักษะที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ดำเนินการสรรหาโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างความยุติธรรม เป็นต้น 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น คำนึงถึงความต้องการพัฒนาของบุคลากร พัฒนาตรงตามวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายขององค์กร เป็นต้น 4) ด้านการธำรงรักษาบุคลากร เช่น การทำให้บุคลากรพึงพอใจและมีความสุขในการทำงาน สร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรที่ ส่งเสริมให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this dissertation were: 1. To study the condition of human resource management of the Ang Thong Provincial Administrative Organization; 2. To study the factors affecting the human resource management of the Ang Thong Provincial Administrative Organization, and 3. To propose the human resource management according to Buddha-dhamma of Ang Thong Provincial Administrative Organization, conducted by the mixed research methods. The quantitative research, data were collected 125 samples and analyzed by descriptive statistics, using frequency, percentage, mean, standard deviation, Correlation analysis and Multiple Linear Regression by statistical program package. The qualitative research, field data were collected by in-depth-interviewing 20 key informants and 9 participants in focus group discussion to confirm the model after the data synthesis.
Findings were as follow:
1. The condition of human resource management of the Ang Thong Provincial Administrative Organization was found that the human resource management of the Ang Thong Provincial Administrative Organization, by overall, at high level(X-bar= 3.95, S.D.= 0.544) Each aspect was also at the high level sorted by means as follows: Appropriately applying international principles (X-bar= 4.04), followed by driven digital technology (X-bar=3.95) learning and self-development (X-bar=3.92) and focusing on common interests (X-bar=3.90), respectively.
2. The factors affecting the human resource management of the Ang Thong Provincial Administrative Organization were found that: 1) The human resource management process consisted of development, maintenance, affecting the human resources of the Ang Thong Provincial Administrative Organization with statistical significance at the 0.01 level, which could together predict the human resources of the Ang Thong Provincial Administrative Organization by 53.9 percent (Adjust R2=0.539). 2) TiSikkha consisted of Sila, Intellectual training, behavior development, Pannă, wisdom training, affected the human resources of the Ang Thong Provincial Administrative Organization. with statistical significance at the 0.01 level. That together could predict the human resources of the Ang Thong Provincial Administrative Organization by 52.8 percent (Adjust R2=0.528).
3. Human resource management according to Buddhist principles of Ang Thong Provincial Administrative Organization, this time consisted of 1) the desirable human resources of the Ang Thong Provincial Administrative Organization in 4 areas, namely learning and personal development, emphasizing public interest, appropriately international principal application and driven digital technology. All 4 areas will be effective only by applying the principles of precepts, training to behave properly according to the 5 precepts and behaving as a good civil servant by applying discipline, punctuality, responsibility, respect the rights of others, maintaining honesty, meditation, mental development with mindfulness at work, having patience, forbearance, developing a calm mind to be a person of kindness, sacrifice and generosity. Upholding the religion, behaving according to the teachings of religion, working for the public and society interest and the principle of wisdom. Developing wisdom by listening, reading and real practice. including systematic research to use the gained knowledge to drive for being valuable and desirable resource of the organization. In addition, it requires human resource management in 4 aspects as follows: 1) planning, such as improving the human resource development plan every year, having a development plan that is transparent, fair, verifiable, and emphasizing participation, etc.; who is a good person with knowledge and skills suitable for the position Conduct recruitment in accordance with the criteria and conditions like fairness, etc. 3) Personnel development, for example, taking into account the development needs of personnel. Develop according to the vision, strategy and goals of the organization, etc. 4) Personnel maintenance, such as making personnel satisfied and happy at work. Build morale and morale for employees who Encourage personnel to progress in their careers and have a good quality of life.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6301104237 | 6301104237 | 3.04 MiB | 122 | 16 ก.ย. 2565 เวลา 06:33 น. | ดาวน์โหลด |