โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของ กระทรวงอุตสาหกรรม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddha Dhamma Integration for Management According to the Ministry of Industry's Mission
  • ผู้วิจัยนายสมชัย นันทาภิรัตน์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. สุรพล สุยะพรหม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร. เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา06/09/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4697
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 134
  • จำนวนผู้เข้าชม 165

บทคัดย่อภาษาไทย

     ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 353 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล     

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า ข้าราชการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar=3.50, S.D.=0.866) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ (X-bar=3.54) รองลงมาคือ บูรณาการดำเนินงานหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวง (X-bar=3.51) ส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (X-bar=3.50) และขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม (Ecosystem) (X-bar=3.46) ตามลำดับ

              2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า 1) ปัจจัยภายในองค์กรสามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร้อยละ 50.0 (Adjust R2=0.500) เรียงตามลำดับได้แก่ ทักษะ ระบบ โครงสร้างองค์กร และการจัดการบุคคลเข้าทำงาน ตามลำดับ 2) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร้อยละ 50.2 (Adjust R2=0.502) เรียงตามลำดับได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบบริหารงานทั่วไป และระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม ตามลำดับ 3) หลักอิทธิบาท 4 สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร้อยละ 69.0 (Adjust R2=0.690) เรียงตามลำดับได้แก่ วิมังสา: ทำงานด้วยปัญญา วิริยะ: สู้งาน และจิตตะ: ใส่ใจงาน ตามลำดับ            

              3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย การบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2565) 4 ด้านคือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก 2) ขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม (Ecosystem) เพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 3) การส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4) บูรณาการดำเนินงานหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย โดยมีการบูรณาการหลักพุทธธรรมอิทธิบาท 4 เพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้สำเร็จลุล่วง ได้แก่ 1) ฉันทะ: รักงาน 2) วิริยะ: สู้งาน 3) จิตตะ: ใส่ใจงาน 4) วิมังสา: ทำงานด้วยปัญญา และยังมีปัจจัยอีก 2 ปัจจัยที่ส่งให้การบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรมสำเร็จลุล่วงได้ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร 4 ด้านประกอบด้วย ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบบริหารทางไกล ระบบบริหารงานทั่วไป ระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม (2) ปัจจัยภายในองค์กร 7 ด้าน ประกอบด้วย โครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ การจัดบุคคลเข้าทำงาน รูปแบบ ระบบ ค่านิยมร่วม และทักษะ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this research were: 1. To study the general conditions of the mission management of the Ministry of Industry; 2. To study the factors affecting the mission management of the Ministry of Industry; 3. To propose a model of Buddha-dhamma integration for Managed according to the mission of Ministry of Industry, conducted by the mixed methods. The quantitative research, data were collected from 353 samples and analyzed with the frequency, percentage, mean (X-bar), standard deviation (S.D.), correlation  and multiple linear regression analysis, using statistical program package. The qualitative research which was the field study by in-depth interviewing 18 key informants and 9 participants in focus group discussion to confirm the model after the data synthesis.   

              Findings were as follows:   

              1. The general conditions of the mission management of the Ministry of Industry were found that hat the officials had opinions on the mission management of the Ministry of Industry, by overall at high level (X-bar= 3.50, S.D. = 0.866). When considering each aspect in order of average, it was found that it was at the high level in all aspects, namely; entrepreneurs’ potentials promotion and development were at X-bar=3.54, followed by integration of internal and external mission management of the Ministry were at X-bar=3.51, promoting industrial business operations to be friendly to the environment was at X-bar=3.50 and driving and developing the industrial ecosystem were at X-bar=3.46 respectively.

              2. Factors affecting the mission management of the Ministry of Industry were found that: 1) internal factors could together predict the mission management of the Ministry of Industry' by 50.0 percent (Adjust R2=0.500), namely, skills, systems, organizational structure and personnel management, respectively. 2) Information technology for management could together predict the management according to the mission of the Ministry of Industry by 50.2 percent (Adjust R2=0.502), namely decision support system, general management system and industrial network systems respectively. 3) The 4 principles of Itthipăda could together predict the management according to the mission of the Ministry of Industry by 69.0 percent (Adjust R2=0.960), namely: Vimamsă; working with wisdom, Viriya: exertion for work and Chitta; paying attention to work respectively.   

              3. The model of Buddha-dhamma integration for the management according to the missions of the Ministry of Industry consisted of the management according to the mission of the  Ministry of Industry B.E. 2565 in 4 aspects, namely; 1) entrepreneurs’ potentials promotion and development towards capability and ability to compete in the world market; 2) driving and developing the industrial ecosystem to move forward to Thailand industry to 4.0; 3) promoting the industrial operations to be friendly to the environment, 4) Integrating internal and external operations of departments within the Ministry in order to achieve the goals by integrating the 4 principles of Itthipăda for management according to the mission of the  Ministry of Industry, namely; 1) Chanda, will to work, 2) Viriya, exertion to work 3) Citta, focus on work 4) Vimamsă, work with wisdom. There were also two other factors that contributed to the successful management according to the mission of the Ministry of Industry, namely; (1) the factor of information technology for management in four aspects, decision support system, remote management system, general management system, and industrial network system, (2) 7 internal factors of the organization, namely, organizational structure, strategy, staffing, methods, systems, shared values, and skills.

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104234 6301104234 4.34 MiB 134 16 ก.ย. 2565 เวลา 07:28 น. ดาวน์โหลด