โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Enhancing Effectiveness of Waste Management of Lampang Municipality
  • ผู้วิจัยนางเกศี จันทราประภาวัฒน์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. สุรพล สุยะพรหม
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร. เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา06/09/2022
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/4699
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 135
  • จำนวนผู้เข้าชม 417

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับประสิทธิผลในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะของเทศบาลนครลำปางและ 3. นำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.937 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครลำปาง จำนวน 54,265 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X-bar= 3.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบผลการศึกษา คือ ด้านประสิทธิภาพ ด้านคุณภาพ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

 

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง พบว่า 1) หลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง มี 2 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า หลักอิทธิบาท 4 ร่วมกันทำนายประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง ได้ร้อยละ 42.5 สามารถทำนายได้ร้อยละ 31.6 ตามลำดับ 2) ปัจจัยด้านการจัดการองค์กรส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง มี 5 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า ปัจจัยด้านการจัดการองค์กรสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง ได้ร้อยละ 61.7 สามารถทำนายได้ร้อยละ 13.0 ตามลำดับ

       3. รูปแบบพุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง พบว่า ประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านคุณภาพ 2. ด้านประสิทธิภาพ 3. ด้านผลผลิต โดยในการบริหารจัดการมีปัจจัย 1 อย่าง คือ ปัจจัยด้านการจัดองค์กร นอกจากนั้นยังบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 มีลักษณะดังนี้ 1) ด้านฉันทะ ความพึงพอใจในงานได้แก่ เจ้าหน้าที่มีความพอใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ มีความกระตือรือร้นในการทำงานคือความสำเร็จอย่างมีประสิทธิผล มีใจรักในงาน พัฒนางานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง 2) ด้านวิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานอย่างสุดความสามารถ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ปฏิบัติงานเสร็จทันตามกำหนดการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิผล 3) ด้านจิตตะ ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน ได้แก่ วิเคราะห์โครงการอย่างรอบคอบ ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ คิดค้นหาวิธีการป้องกันปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในการจัดการขยะในอนาคต และ 4) ด้านวิมังสา ไตร่ตรองหาเหตุผล ได้แก่ มีการพิจารณาใคร่ครวญหาข้อดี-ข้อด้อยเพื่อเป็นแนวทางครั้งต่อไป และมีการวัดผล ประเมินผล การจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this thesis are: 1. to study general condition about on effectiveness in waste management in Lampang municipality; 2. to study the factors affecting the effectiveness of waste management in Lampang municipality; and 3. to present an integrated Buddhist model to promote the effectiveness of waste management in Lampang. Waste management of Lampang Municipality proceed according to the integrated research methodology. The quantitative research used a questionnaire with a confidence value of 0.937 in total. Data were collected from the sample group, i.e. 54 people who have the right to vote in the voters aged 18 years and over residing in the Lampang municipality. 265 people. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and analysis using stepwise regression analysis. The qualitative research used in-depth interviews with 18 key informants or face-to-face. Data were analyzed by descriptive content analysis and specific group discussions of 9 figures or people to confirm the model after data synthesis.

Findings were as follows:

1. General condition about on effectiveness of waste management in Lampang Municipality The overall picture was at a moderate level (X-bar= 3.36) at a high-level Quality and productivity in the middle level respectively.

 

2. Factors affecting the efficiency of waste management in Lampang municipality were found: 1) Principles of influence 4 affecting waste management effectiveness of Lampang Municipality in 2 aspects with statistical significance at the 0.01 level, indicating that the principles of influence Baht 4 jointly predicted the efficiency of waste management in Lampang Municipality by 42.5 percent, and it could be predicted by 31.6 percent, respectively. 2) Organizational management factors affecting the efficiency of waste management in Lampang Municipality, in 5 aspects, were statistically significant at the 0.01 level, indicating that organization management factors could jointly predict the waste management effectiveness of Lampang Municipality. was 61.7 percent, able to predict 13.0 percent, respectively.

3. The integrated Buddhist model promotes the effectiveness of waste management of Lampang Municipality. It was found that the waste management effectiveness of Lampang Municipality in 3 aspects consisted of 1. Quality, 2. Efficiency, 3. Productivity. In management, there is one factor which is organizational factor. In addition, it also integrates the 4 principles of influence, having the following characteristics: 1) Contribution Job Satisfaction i.e. the officers are satisfied with their work to achieve the goals. Enthusiasm in work is success with efficiency, passion for work, continuous improvement in work. 2) Persistence Diligenceis the staff to perform the work to the best of their ability. indomitable to obstacles work to achieve objectives Completing work on time with effective waste management schedule 3) Chitta aspect concentration in work is to analyze the project carefully. work with intention devise ways to prevent problems and obstacles that may arise in waste management in the future; and 4) Vimangsa aspect contemplation and reasoning is to consider and consider the advantages and disadvantages as a guideline for the next time. and have measurements, evaluations, and concrete waste management.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
6301104233 6301104233 18.68 MiB 135 11 ก.ย. 2565 เวลา 13:02 น. ดาวน์โหลด