-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการบริโภคอาหารเจเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพุทธบูรณาการ
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model on Vegetarian Food Consumption to Promote the Well-being of the Elderly in accordance with the Integrated Buddhist Principle
- ผู้วิจัยพระศราวุธ เพื๊อกเตื๊อง (จันทนะ)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง), ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
- ที่ปรึกษา 3ดร.กรรณิการ์ ขาวเงิน
- วันสำเร็จการศึกษา31/05/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/470
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 128
- จำนวนผู้เข้าชม 362
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของการบริโภคอาหารเจเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ 2) เพื่อวิเคราะห์การบริโภคอาหารเจตามแนวพุทธที่เสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริโภคอาหารเจเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพุทธบูรณาการ โดยวิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี คือ ระยะที่หนึ่ง การเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารเจเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี จำนวน 120 รูป/คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์หาค่า นำเสนอข้อมูลในแบบตารางควบคู่กับการบรรยายและสรุปผล และระยะที่สอง วิเคราะห์แนวทางการบริโภคอาหารเจเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการรับประทานอาหารเจ ด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และด้านหลักโภชนาการ จำนวน 5 รูป/คน และผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารเจและมีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย และใจ จำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ความสำคัญของการบริโภคอาหารเจเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ พบว่า ผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารเจมีสุขภาวะทางกายที่ดี แม้จะมีโรคภัยมาก่อนรับประทานอาหารเจก็สามารถหายจากอาการป่วยนั้น ๆ หรือช่วยให้ทุเลาลงได้ พร้อมทั้งผู้สูงอายุยังมีสุขภาวะทางจิตที่ดีอีกด้วย โดยผู้สูงอายุต่างมีจิตใจที่เย็น แจ่มใส ไม่มีความทุกข์ใจใด ๆ
วิเคราะห์การบริโภคอาหารเจตามแนวพุทธที่เสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร มีวิธีการรับประทานอาหารเจที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการอาหารหลัก 5 หมู่ แนวคิดการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือหลักยัญญสูตร โพชฌังคสูตร และโดยเฉพาะหลักปุญญกิริยาวัตถุสูตร ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะจิตที่ดี แจ่มใส ซึ่งส่งผลให้สุขภาวะทางกายนั้นดีไปด้วย และสิ่งสำคัญคือ ครอบครัว และคนรอบข้าง ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักสุขภาวะของผู้สูงอายุ จึงทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่สมบูรณ์แขงแรงทั้งทางกาย และจิต
รูปแบบการบริโภคอาหารเจเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพุทธบูรณาการ พบว่า การรับประทานอาหารเจที่ดีของผู้สูงอายุที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุให้ดีได้ ต้องพึ่งพาทั้งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งหลักแนวคิดสมัยใหม่ มาบูรณาการกับความรู้และความเข้าใจในการรับประทานอาหารเจที่ถูกต้องอย่างสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดรูปแบบการบริโภคอาหารเจเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพุทธบูรณาการ ที่เรียกว่า MANNA Model
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis entitled ‘A Model on Vegetarian Food Consumption to Promote the Well-being of the Elderly in accordance with the Integrated Buddhist Principle’ has three objectives: 1) to study the significance of the consumption of vegetarian food to promote the well-being, 2) to analyze the consumption of vegetarian food in accordance with Buddhism to promote well-being of the elderly in Bangkokian area, and 3) to propose the Model on Vegetarian Food Consumption to Promote the Well-being of the Elderly in accordance with the Integrated Buddhist Principle. This is a mixed methodological research; in the first phrase the data of the one hundred and twenty elderly who have eaten vegetarian food for at least three years were collected through questionnaires and then the collected data were analyzed by statistical program to analyze and to provide the values where the table data and description of them were explained and thereby concluded, in the second phrase the guideline of the consumption of vegetarian food to promote well-being of the elderly was analyzed and the in-depth interview of five expertises on the consumption of vegetarian food in accordance with the Buddhist principles and nutrition principles. The eleven elderly who get the physical and mental healthiness after eating vegetarian food were interviewed and then analyzed by means of the contextualization techniques and then the synthesis of the data was made in accordance with the given research objectives.
In the research, it was found that:
The significance of the consumption on vegetarian food to promote the healthiness clearly showed that the elderly who regularly eat vegetarian food possess the physical healthiness despite of having some illness before eating; their illness is got rid of or slowly gets recovered. Moreover, their mental healthiness is improving where they become calm, clear and happy.
In the analysis of the consumption on vegetarian food to promote well-being of the elderly in Bangkokian area, it was obviously found that those elderly in Bangkokian area have their own ways to eat vegetarian food which are in accordance with the principles of five groups of nutrition; the ideas for being prepared before getting old age and the Buddhist teachings are of Yaññasutta, Bojjhaṅgasutta and especially Puññakiriyävatthusutta, of them the elderly’s mental healthiness could become calm and clear whereby it gives rise to the physical healthiness as well. More importantly, their family and surrounding people whose understanding of the principle of well-being is present can contribute the strong well-being to both body and mind of the elderly.
When it comes to the formation of the Model on Vegetarian Food Consumption to Promote the Well-being of the Elderly in accordance with the Integrated Buddhist Principle, it shows that the elderly’s good consumption of vegetarian food to enhance their well-being needs hinging on Buddhist virtues and modern ideas where both are mutually integrated. Consequently the proper understanding of vegetarian food would be perfected and thereby enhancing the well-being to the elderly according to such integrated Buddhist principles; it is named MANNA Model.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
6201205004 | 6201205004 | 8.09 MiB | 128 | 11 มิ.ย. 2564 เวลา 12:44 น. | ดาวน์โหลด |