-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ 4: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Peoplejs Opinions towards Local Administrative Organizationjs Services in accordance with Sangahavatthu IV : A Case Study of Tambon Administrative Organizations in Umphang District, Tak Province.
- ผู้วิจัยพระปลัดปิยศักดิ์ ปิยธมฺโม ( พีรมณีวงศ์)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร. สุรพล สุยะพรหม
- ที่ปรึกษา 2พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญฺ
- ที่ปรึกษา 3ดร. ยุทธนา ปราณีต
- วันสำเร็จการศึกษา17/01/2010
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47011
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 447
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ 4 (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาแนวการพัฒนาและข้อเสนอแนะการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ตามหลักสังคหวัตถุ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มาใช้บริการในองค์การบริหารส่วนตำบล 3 ตำบลคือ 1. ตำบลแม่กลอง 2. ตำบลโมโกร และ 3. ตำบลแม่ละมุ้ง จำนวน 386 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบ สอบถามการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ตอน คือตอนที่ 1 เป็นข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการให้การบริการประชาชน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 : กรณีศึกษาการบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยความสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีอาชีพเกษตร กรรม มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001-20,000 บาท และจำนวนครั้งของประชาชนที่มาใช้บริการมากที่สุดจำนวน 1-2 ครั้ง
ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ 4 คือ ด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และสมานัตตตา พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้
จากผลการวิจัยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะซึ่งเป็นแนวทางในการยกระดับความคิดเห็นในการให้บริการประชาชน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ดังนี้
1. ในการให้ความคิดเห็นของประชาชนควรมีการพัฒนาด้านการบริการอย่างไม่หยุดยั้งและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น
2. เจ้าหน้าที่มีการแสดงออกที่เป็นมิตรและจริงใจ มีความยืดหยุ่นในการให้บริการ
3. ในการให้ความคิดเห็นของประชาชนควรมีการเน้นการบริการที่สามารถนำมาซึ่งความพึงพอใจแก่ผู้รับและส่งผลย้อนกลับไปยังผู้ให้บริการ โดยทำให้รู้สึกว่าการได้ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
4. ในการให้ความคิดเห็นของประชาชนควรมีการยึดหลักสังคหวัตถุ 4 ในด้านทาน โดยการเสียสละประโยชน์สุขของตนเองและยึดประโยชน์สุขของประชาชนที่มาใช้บริการเป็นกิจหลัก
5. ในการให้ความคิดเห็นของประชาชนควรมีการสนทนาและให้คำชี้แนะแก่ผู้ที่มาใช้บริการด้วยปิยวาจา
6. ในการให้บริการประชาชนควรมีการสงเคราะห์และอนุเคราะห์ในสิ่งที่ก่อประโยชน์ ให้แก่ประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน อันเป็นการยึดตามหลักอัตถจริยา
7. ในการให้บริการประชาชนควรมีความสม่ำเสมอในการปฏิบัติหน้าที่ หรือมีการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้านการให้บริการอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ถือเป็นการยึดตามหลักสมานัตตตา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งเป็นการสร้างความนิยมและไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The main objectives of this research are : i) to study the peoplejs opinions towards Local Administrative Organizationjs services in accordance with Sangahavatthu IV; ii) to compare the peoplejs opinions towards services in accordance with Sangahavatthu IV of Tambon Administrative Organizations in Umphang District, Tak Province, classified by personal characteristics; and iii) to study the guidelines and suggestions for development and improvement of services in accordance with Sangahavatthu IV carried out by Tambon Administrative Organizations in Umphang District, Tak Province. The samples in the research are -UV people who came to take services rendered by three Tambon Administrative Organizations namely, Tambon Maeklong, Tambon Mokro, and Tambon Lamung, being drawn by simple random sampling technique. The tool employed for collecting data is the questionnaire which divided into four parts. Program for social science research was employed for data analysis by using statistical techniques such as frequencies, percentage, average, standard deviation(S.D) for describing data from variables or personal characteristics. The analysis was also done through t-test for analysis the hypotheses in order to test the average difference between the two groups and f-test by one-way analysis of variance (One-way ANOVA) for testing the difference between the averages from three or more groups.
The findings of this study are concluded as follows :
Majority of respondents are male, and aged between -N-Ad years old. For social-economic status of respondents, it was found that majority of them had completed Bachelor degree, worked in agricultural careers with monthly income between Nd,ddN O +d,ddd baht. Most of respondents ever came to get District services twice.
Overall peoplejs opinions towards Local Administrative Organizationjs services in accordance with Sangahavatthu IV are rated at moderate level, when being considered in each aspect of Sangahavatthu, it was also found at moderate level in all aspects.
With regard to comparison of the peoplejs opinions towards services in accordance with Sangahavatthu IV of Tambon Administrative Organizations in Umphang District, Tak Province, classified by personal factors, it was noticed that sex, age, level of education, occupation, monthly income, and number of times getting services found significant differences at .d, level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|