โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่มในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามหลักอปริหานิยธรรม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษParticipatory Tourism Management of Thai Lom Community in Lom Sak municipality, Lom Sak District, Phetchabun Province based on Aprihniyādramma
  • ผู้วิจัยนางสาวพัชรมณฑ์ พร้อมเพียรพันธ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อัครเดช พรหมกัลป์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุกัญญาณัฐ อบสิน
  • วันสำเร็จการศึกษา15/10/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47042
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 18

บทคัดย่อภาษาไทย

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่มกับการจัดการการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีโดยการแจกแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น 0.05 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 387 คน จากประชากรจำนวนทั้งสิ้น 11,817 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และ การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ได้จากการ เลือกแบบ เฉพาะเจาะจง จำนวน  17 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่มกับการจัดการการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการการจัดการการท่องเที่ยวโดยมี 1) สิ่งดึงดูดใจ ทำให้เกิดความสนใจ  ทั้งสถานที่ทางวัฒนธรรม และสังคม การแต่งกายแบบดั้งเดิม  ที่ชวนท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มนุษย์สร้างขึ้น เช่นการมีถนนคนเดิน ในทุกวันเสาร์ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ของชุมชน 2) การเข้าถึง  รวดเร็วในการเดินทาง 3) สิ่งอำนวยความสะดวก  ระบบสาธารณูปโภค ซึ่งมีอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ให้มีจำนวนเพียงพอ  เช่นที่พักแรม ร้านอาหาร ระบบไฟฟ้า ประปา การสื่อสาร ป้อมตำรวจ ดูแลความปลอดภัย 4) ที่พัก ด้านที่พักแรม ให้มีจำนวนเพียงพอ การบริการมีความเหมาะสมต่อสถานที่  ที่พักไม่อยู่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยว  เดินทางมาได้ง่ายและมีความปลอดภัย เช่น โรงแรม รีสอร์ท  5) กิจกรรม จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ มีการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดความทรงจำของนักท่องเที่ยว ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ของชุมชน

 ผลวิจัยพบว่า

1. การจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่ม ในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามหลักอปริหานิยธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.45, S.D. = 0.32) ด้านการจัดการท่องเที่ยวตามหลัก 5A’s โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.30, S.D. = 0.30) 

2. ความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่มตามหลักอปริหานิยธรรมกับการจัดการการท่องเที่ยวตามหลัก 5A’s ในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมมีค่าความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับต่ำ จึงปฏิเสธสมมติฐาน

3. แนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชนไทหล่มในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามหลักธรรมอปริหานิยธรรม พบว่า การจัดการการท่องเที่ยวโดยมีการประชุมบ่อย ๆ เพื่อร่วมกันจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทั้งในการจัดทำแผนที่ การตั้งกฎระเบียบ ข้อบังคับ และประชาสัมพันธ์ และร่วมกันเสนอแนะในการให้ข้อมูล และประชาสัมพันธ์แก่ผู้ที่เข้ามาเที่ยวชม มีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรในด้านที่พักให้คงความเป็นธรรมชาติ ไม่สร้างมลพิษ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมคิด วางแผนจัดกิจกรรมของชุมชน มีดำเนินการและร่วมกันประเมินผล   

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This research aimed to present the participation guidelines of the Thai Lom community in tourism management of Lom Sak Municipality, Lom Sak District, Phetchabun Province. This study was a mixed methods research by distributing questionnaires with confidence 0.05. A sample of 387 people was obtained by stratified random sampling out of a total population of 11,817 people. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean. standard deviation, Pearson's correlation coefficient and in-depth interview  with 17 key informants selected through the purposive sampling method. Descriptive content analysis techniques were used. The studies showed that the participation of the Thai Lom community in tourism management of Lom Sak Municipality, Lom Sak District, Phetchabun Province, was tourism management with: 1) attraction causing interest in both cultural and social places and traditional dress that invited tourists to see natural attractions created by man such as having a walking street every Saturday to increase the income of the community; 2) quick access to travel; 3) there should be sufficient number of facilities and utilities in tourist attractions such as hotels, restaurants, electrical systems, water supply, communications, police boxes, security guards; 4) on the side of accommodation, there should be enough accommodation; the service was appropriate for the location; the accommodation was not far from tourist attractions; it was easy to travel and safe such as hotels and resorts; and 5) there should be recreational activities that was an important element. There should be cultural activities that caused the memories of tourists which generated income for the community.

The results revealed that

1. Participatory tourism management of the Thai Lom community in the Lom Sak municipality, Lom Sak District, Phetchabun Province according to Aparihaniyadhamma, overall, was at a high level ( x̅=3.45, S.D. = 0.32), in terms of tourism management according to 5A's principle, overall was at a high level ( x̅ =3.30, S.D. = 0.30).

2. The relationship of participation of the Thai Lom community according to Aparihaniyadhamma and tourism management based on the 5A's principle in Lom Sak Municipality, Lom Sak District, Phetchabun Province, overall, was a positive correlation  at a low level, therefore rejecting the hypothesis

3. Guidelines for participatory tourism management of the Thai Lom community in Lom Sak Municipality, Lom Sak District, Phetchabun Province based on Aparihaniyadhamma found that tourism management with frequent meetings to jointly manage tourist attractions by participating in decision-making both in mapping, setting up rules, regulations and public relations and jointly making suggestions for providing information and public relations to those who came to visit and participating in the allocation of resources in the area of ​​accommodation to maintain nature, no pollution, environmental  protection and  participating in thinking, planning community activities. Joint actions and evaluations were carried out.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ