โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กลยุทธ์ในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสาราณียธรรม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement strategies of Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho Parade Festival of Mueang Nakhon Sawan District, Nakhon Sawan Province according to Saraniyadhamma
  • ผู้วิจัยนายรัฐพล ต่วนชะเอม
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุกัญญาณัฏฐ อบสิณ
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อัครเดช พรหมกัลป์
  • วันสำเร็จการศึกษา04/11/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47043
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 14

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่อง "กลยุทธ์ในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์  จังหวัดนครสวรรค์  ตามหลักสาราณียธรรม” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ 2) เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ ตามหลักสาราณียธรรม 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ในการบริหารจัดการจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ ตามหลักสาราณียธรรม 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์ในเชิงเอกสาร (Documentary Research) และ ใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ที่ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 รูป/คน เพื่อให้ได้ข้อมูล ข้อเท็จจริงเชิงพื้นที่ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย จัดทำองค์ความรู้ และกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสาราณียธรรม

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่  ปากน้ำโพ  คือ คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ (เถ่านั้ง) อยู่ในวาระเพียง 1 ปี ทำให้การบริหารงานไม่ต่อเนื่อง และปัญหาในด้านกระบวนการในการบริหารจัดการ เช่นการจัดระเบียบการจราจรไม่ครอบคลุม สถานที่จอดรถไม่เพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ ไม่ครบทุกช่องทาง และงบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ให้โดดเด่นและยิ่งใหญ่ โดยใช้หลักในการบริหารมาแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ

2. วิเคราะห์การบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสาราณียธรรม พบว่า กระบวนการในการบริหารจัดการ   ของคณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ บริหารโดยการมีส่วนร่วมของคณะทำงานทุกฝ่ายซึ่งเกิดจากความสามัคคีในการทำงานร่วมกันแสดงแนวคิดและวิธีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดงาน มีการบูรณาการระหว่างภาคีเครือข่าย มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานฯ การประมูลสิ่งของเพื่อนำเงินเข้ามูลนิธิฯ ตลอดจนชาวไทยเชื้อสายจีนและประชาชนผู้ศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือศีล กินเจ ในช่วงการจัดงาน และ  การจัดงานประเพณีแห่เจ้า-พ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพ เป็นประเพณีที่จัดสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ยาวนานกว่า 100 ปี ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า หลักธรรมที่แฝงไว้ในกิจกรรมดังกล่าว เป็นหลักธรรมแห่งการอยู่ร่วมกันนั้นก็คือหลักสาราณียธรรม

3. กลยุทธ์ในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ตามหลักสาราณียธรรม ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลสำคัญโดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ คือ SWOT Analysis และ  TOWS Matrix ในการพัฒนาการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ให้สามารถส่งเสริมและ              ต่อยอดการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้มิติทางศาสนาและวัฒนธรรมมาเชื่อมโยงสู่ความเป็นเลิศ ได้ดังนี้

3.1 พัฒนามาตรฐานการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ โดยใช้อัตลักษณ์ คือ ความเชื่อ ความศรัทธาสู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

3.2 สร้างความเข้าใจให้กับคณะกรรมการจัดงานฯ ในด้านการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุนการจัดงานฯ โดยไม่มีผลกระทบต่ออัตลักษณ์ของชุมชน

3.3 ใช้อัตลักษณ์ของงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ เป็นจุดขาย  

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

"Strategies for the Management of the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho Parade Festival Mueang Nakhon Sawan District Nakhon Sawan Province" is the title of a research paper. The following were the goals of this study: 1) to investigate the current state of problems and roadblocks in the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho Parade Festival's management. 2) To examine how the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho Parade Tradition is managed in accordance with Saranee Dhamma teachings. 3) To propose conciliation-based techniques for administering the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho parade tradition; qualities for fraternal living.

This investigation is being conducted. Utilize data collection techniques to conduct qualitative research. An in-depth interview with 40 important informants was undertaken as part of the documentary study, and the tool was a specialized method of obtaining information. Create a body of knowledge and formulate methods for administering the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho parade tradition Mueang Nakhon Sawan District Nakhon Sawan Province according to states of conciliation; qualities for fraternal living.

The findings revealed that:

1. The state of challenges and impediments in the management of the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho Parade Festival, especially the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho Parade (Thao Nang), is in a one-year term, resulting in inconsistent administration. as well as issues with management processes, such as insufficient traffic arrangements There are insufficient parking places for tourists. Insufficient funding and lack of publicity channels in the management of the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho parade to be remarkable and grand utilizing management principles to tackle challenges and hurdles.

2. Examine the management of Mueang Nakhon Sawan District Nakhon Sawan Province's Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho parade heritage. According to Saranee Dharma, the organizing committee Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho Parade's management service procedure was discovered to be ineffective. It is handled by the participation of all working groups, which emerge from a shared desire to collaborate, express ideas, and publicize the event. The network partners are linked together. Mutual help exists. by contributing to the budget for the event sale of items to raise funds for the foundation, as well as Thai people of Chinese origin and individuals who believe in sacred things, During the festival, follow the precepts and eat vegetarian, as well as arranging the Chao-Por Chao Mae Pak Nam Pho march. It's a more than 100-year-old custom that has been passed down from generation to generation. The principle of cohabitation, that is, states of conciliation; virtues for fraternal living, is hidden in the foregoing actions.

3. Management strategies for the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho Parade Festival based on the saranee concept To construct the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho parade custom, the researcher used SWOT Analysis and TOWS Matrix to examine critical data. must be able to promote and expand tourism in order to achieve long-term development By connecting to greatness through religious and cultural dimensions, as follows:

3.1 Create guidelines for event planning. Using identity, i.e. beliefs, beliefs, to develop cultural capital for added value.

3.2 Assist the organizing committee in bringing fresh innovations to assist the event without compromising the community's character.

3.3 Use the identity of the Chao Pho-Chao Mae Pak Nam Pho parade It is a selling point to make the event stand out.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ