โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐสร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDriving the Wat (Temple), Pracha (People), Rat (State) for Happiness Creation Project of the Sangha in Nakhon Sawan Province
  • ผู้วิจัยนายพีรพงษ์ ตลับทอง
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมคิด พุ่มทุเรียน
  • วันสำเร็จการศึกษา04/11/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47044
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 17

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอิทธิบาท 4 กับกระบวนการการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์ จังหวัดนครสวรรค์

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)ประชากร(Population) คือ วัด ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนชาวบ้าน จำนวน 377 รูปหรือคน ที่เข้าร่วมโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ

ผลการวิจัยพบว่า

1) กระบวนการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า การขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาทธรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.66, S.D.=0.455) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน  และการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักการบริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.65, S.D.=0.435) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

2) ความสัมพันธ์ของอิทธิบาท 4 กับกระบวนการการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.755) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของหลักอิทธิบาท 4 (X1 - X4) กับการบริหารการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ รายด้านทุกด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยมีค่าความสัมพันธ์ (r) ระหว่าง 0.838 – 0.056 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ ระดับ 0.05

3) แนวทางการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า แนวทางการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์ จังหวัดนครสวรรค์ ควรมีการสร้างสัปปายะสู่วัดด้วยวิถี 5ส 7 ประการ คือ 1) ประกาศนโยบาย 2) กำหนดคณะกรรมการ 3) อบรมให้ความรู้ 4) สำรวจพื้นที่ จัดทำแผนผังวัด และวิเคราะห์พื้นที่เพื่อการพัฒนา 5) จัดทำแผนปรับปรุง 6) ลงมือปฏิบัติ และ 7) สรุปผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of the research were as follows: 1) to study the process of driving the Wat (temple), Pracha (people), Rat (State) for Happiness Creation Project of the Sangha in Nakhon Sawan Province; 2) to study the relationship of Iddhipada 4 and the process of driving the project; and 3) To propose development guidelines for driving the project.

This study was a mixed methods research consisting of the qualitative and quantitative research. For qualitative research, population was temples, representatives of the local government organization, and representative villagers of 377 people who participated in the Wat (temple), Pracha (people), Rat (State) for Happiness Creation Project of the Sangha in Nakhon Sawan Province. Statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation. and Pearson's correlation coefficient. Qualitative research was done by in-depth interview with key informants by using  descriptive content analysis technique and interpretation.

The results showed that:

1) On the aspect of the process of driving the Wat (temple), Pracha (people), Rat (State) for Happiness Creation Project of the Sangha in Nakhon Sawan Province, it was found that the driving process of the project according to Iddhipada was overall at a high level (= 3.66, SD = 0.455). and a high level in all aspects classified by aspect, on the side of driving,  the project according to the principles of administration, overall, it was at a high level (=3.65, S.D. =0.435) and a high level in all aspects classified by aspect.

2) The relationship of Iddhipada 4 and the process of driving the Wat (temple), Pracha (people), Rat (State) for Happiness Creation Project of the Sangha in Nakhon Sawan Province found that there was a high level of positive correlation. The correlation coefficient (r = 0.755) was statistically significant at the 0.01 level, so the hypothesis was accepted. When considering the correlation coefficient of Iddhipada 4 (X1 – X4) and the driving administration of the project in all aspects, it was found that there was a positive correlation. The relationship (r) between 0.838 – 0.056 was statistically significant at the 0.01 and 0.05 level.

3) Development guidelines to drive the Wat (temple), Pracha (people), Rat (State) for Happiness Creation Project of the Sangha in Nakhon Sawan Province found that the development guidelines to drive the project should have 7 sappaya (Suitable Monastic Areas) for the temples in conjunction with 5S. 7 sappaya consisted of 1) policy announcement 2) committee designation 3) training 4) surveying the area, making temple plans and analyzing the area for development; 5) prepare an improvement plan; 6) take action; and 7) summarize the operating results.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ