-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ : กรณีศึกษา บ้านกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Strong Community for Upgrading to the 5 Precepts Village : A Case Study of Ban Kamphaeng Din Sam Ngam District Phichit Province
- ผู้วิจัยนางฉันทณา แสงสุวรรณถาวร
- ที่ปรึกษา 1พระครูนิวิฐศีลขันธ์, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุกัญญาณัฐ อบสิณ
- วันสำเร็จการศึกษา05/12/2021
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47045
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 20
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ กรณีศึกษา บ้านกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 บ้านกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนากับการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ กรณีศึกษา บ้านกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ บ้านกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากร (Population) คือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร จำนวน 343 รูป/คน และการสัมภาษณ์ ที่ได้มาจากการแทนค่าในสูตรของ Taro Yamane วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 1๘ รูป/คน และใช้เทคนิคการสรุปเนื้อหานำเสนอแนวทาง ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 บ้านกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตรตามหลักภาวนา 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅ =3.6๘, S.D. =0.449) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และสภาพการพัฒนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 บ้านกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ตามหลักกิจกรรมของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅ =3.65, S.D. =0.433) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ความสัมพันธ์ของหลักภาวนากับการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเพื่อยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ กรณีศึกษาบ้านกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 0.7๘๘) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. แนวทางในการยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ สรุปได้ 3 แนวทาง คือ 1) การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิงอำนาจหน้าที่ 2) การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิงประเด็น 3) การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านรักษาศีล 5 เชิงพื้นที่ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้หมู่บ้านมีความเข้มแข็งและสามารถยกระดับเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to study the development condition of the 5 Precepts Village at Ban Kamphaeng Din, Sam Ngam District, Phichit Province; 2) to analyze the relationship between the principle of Bhavana 4 (spiritual cultivation) and the development of strong communities to upgrade to a model 5 Precepts Village, a case study of Ban Kamphaeng Din, Sam Ngam District, Phichit province; and 3) to present guidelines for upgrading to a model 5 Precepts Village at Ban Kamphaeng Din, Sam Ngam District, Phichit Province.
This was a mixed methods research consisting of the qualitative and quantitative research. For qualitative research, the sample used in this research was 343 persons using the substitution method in Taro Yamane's formula. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's Correlation Coefficient Test. Qualitative research was done by in-depth interview with 18 key informants and using the Inductive Analysis Technique in context to summarize and present guidelines
The results showed that :
1. The development of the 5 Precepts villages at Ban Kamphaeng Din, Sam Ngam District, Phichit Province according to the principle of Bhavana 4, overall was at a high level ( x̅ = 3.68, S.D. = 0.449). When classified by aspect, it was found that all items were at a high level. The development according to the activities of the 5 Precepts Village Project as a whole was at a high level ( x̅ = 3.65, S.D. = 0.433) and a high level in all aspects classified by aspect.
2. The analysis results of the relationship between the principle of Bhavana 4 and activities of a model 5 Precepts Village Project, a case study of Ban Kamphaeng Din, Sam Ngam District, Phichit Province found that there was a high level of positive correlation coefficient (r = 0.788). It was statistically significant at 0.01 level, thus accepting the hypothesis.
3. Guidelines for upgrading to a model 5 precepts village can be summarized into 3 approaches: 1) building a network of the 5 precepts village in terms of authority; 2) building a network of the 5 Precepts village on issues; 3) building a network of the 5 Precepts village in the area to promote and support the village to be strong and be able to upgrade to a model 5 Precepts a village.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|