โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPublic Participation in Water Management of Nong Pho Sub-district Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province
  • ผู้วิจัยนายรัชภูมิ ศรีเพ็ง
  • ที่ปรึกษา 1พระครูนิวิฐศีลขันธ์, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา05/12/2021
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/47047
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 17

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ คือ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งเป็นการวิจัยเชิง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 9,137 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากการแทนค่าในสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 383 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และใช้เทคนิคการสรุปเนื้อหานำเสนอแนวทาง ผลการวิจัยพบว่า

1) การบริหารจัดการน้ำตามหลักสาราณียธรรมในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.67, S.D. =0.475) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67, S.D. = 0.490) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.708) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

3) แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ควรดำเนินการตามแนวทาง 2 แนวทางคือ 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนและระหว่างชุมชนเป็นการสร้างความตระหนักให้กับชุมชน จัดทำแผนบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำการจัดตั้งกลไกคณะทำงานร่วมระหว่างกลุ่ม การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน และการเยี่ยมเยือนเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันละกัน 2) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระหว่างองค์กรชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน ต้องกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และการจัดทำแผนบูรณาการการทำงานร่วมกัน สร้างความชัดเจน การเข้ามามีส่วนร่วมโดยการจัดเวทีพูดคุยเสวนา การจัดระบบติดตามเยี่ยมพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่ร่วมกัน การจัดระบบประเมินผลการจัดการโครงการ รวมทั้งมีกลไกการจัดการด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการที่มาจากทุกภาคส่วน บนเป้าหมายการทำงานร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้ง ความซ้ำซ้อน การสนับสนุนและเสริมงานซึ่งกันละกันในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were 1) to study public participation in water management of Nong Pho Sub-district Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province; 2) to study the relationship between Saraniyadhamma and public participation in water management of Nong Pho Sub-district Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province; and 3) to study the guidelines for promoting public participation in water management of Nong Pho Sub-district Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province.

This was a mixed methods research consisting of the qualitative and quantitative research. For qualitative research, the sample used in the research was 383 people aged 18 years and over in Nong Pho Sub-district Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province by using  the substitution method ​​in Taro Yamane's formula. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's Correlation Coefficient Test. Qualitative research was done by in-depth interview with key informants and using the Inductive Analysis Technique in context to summarize and present guidelines

The results showed that:

1. Water management according to Saraniyadhamma in the area of ​​Nong Pho Sub-district Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province, overall, was at a high level ( = 3.67, S.D. = 0.475). When classified by aspect, it was found that it was at a high level in all aspects. Public participation in water management in the area of ​​Nong Pho Subdistrict Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province as a whole was at a high level ( = 3.67, S.D. = 0.490) and a high level in all aspects classified by aspect.

2. The relationship between Saraniyadhamma and public participation in water management of Nong Pho Subdistrict Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province found that there was a statistically significant correlation coefficient (r = 0.708) at the 0.01 level. So the hypothesis was accepted.

3. Guidelines for promoting public participation in water management of Nong Pho Sub-district Administrative Organization, Takhli District, Nakhon Sawan Province found that it should be implemented in two approaches: 1) raising awareness between people and communities in using the available water resources for sufficiency; 2) participation in  preparing water resource management plans among community organizations, the public sectors and the private sectors with goals and directions through the community forum to reduce conflicts and reduce redundancy.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ